วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความเชื่อมั่นแบบทดสอบ






2


3
              ผลจากตารางวิเคราะห์คะแนนสามารถนำมาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ
ตามวิธีของ สเปียร์แมน บราวน์  โดยต้องหาค่าความสัมพนธ์แบบทดสอบครึ่งฉบับก่อนด้วยสูตร
หาค่าสหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน แล้วค่อยนำค่าที่ได้ไปคำนวนตามสูตรของ สเปียร์แมน  ดังนี้

4
              ตารางวิเคราะห์คะแนน ทดสอบนักเรียน 35 คน แบบทดสอบยาว 40 ข้อ ผล ดังนี้
5
              นำผลที่ได้จากตารางวิเคราะห์ มาคำนวณหาค่าควาเชื่อมั่นแบบทดสอบ ด้วยวิธีของ
คูเดอร์ ริชาร์ดสัน สูตร KR 20  



6  
           ตารางวิเคราห์คะแนนเพื่อหาค่าไปคำนวณด้วยสูตร KR 21 ดังนี้


                 นำผลที่ได้จากตาราง มาคำนวนโดยใช้สูตร KR 21 ปรากฏผล ดังนี้



                  ตารางวิเคราะห์คะแนนแบบทดสอบอัตนัย ความยาว 20 ข้อ นักเรียน 30 คน  เพื่อใช้
คำนวณหาสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ดังนี้




วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วิเคราะห์แบบทดสอบ

วิเคราะห์แบบทดสอบ
...........ลูกหลานเขาทำวิจัยในชั้นเรียน ส่งผลงานโดนตำหนิว่าเครื่องมือประเมินคือแบบทดสอบที่ใช้ คุณภาพไม่ดี พอส่งประกอบผลงานทางวิชาการ กลายเป็นจุดด้อยที่ต้องแก้ไข หลังจากร้องไห้ครบ 7 วัน ก็นึกถึงพระเจ้าตา จุดธูป เทียนบอกกล่าว่าช่วยหนูด้วยคุณตาขา อ้อนซะหวานแหววเลย จึงขอให้ส่งแบบทดสอบและคะแนนที่ได้มาดู โหนังหนู เอ้ย สงสารกรรมการเนาะ อ่านแบบทดสอบไปคงมึนหัวน่าดู มิน่าเขาขอให้แก้ทั้งฉบับ เพราะคำถามไม่รัดกุม ตัวเลือก ดิ้นได้ คำตอบถูกหลายตัวเลือกในคำถามข้อเดียว ไปปรับปรุงตามที่เขาแนะนำ แล้วเอาไปให้ผู้เชี่ยวชาญช่วย ดูก่อนเอาไปใช้ สิ่งที่หนูต้องหาค่าแบบทดสอบฉบับนี้ได้แก่
............1. ความเที่ยงตรงในการวัด
............2. ความยาก-ง่าย ของแบบทดสอบ
............3. อำนาจจำแนกแบบทดสอบ รายข้อ รายตัวเลือก
............4. ความเชื่อมั่นแบบทดสอบ
...........ถ้าหนูมีคำตอบให้ทั้ง 4 ข้อ ก็แสดงว่าหนูได้ประเมินคุณภาพของแบบทดสอบก่อนแล้ว นำไปใช้ในงานวิจัยในชั้นเรียน ผลที่ได้ก็น่าเชื่อถือและยอมรับได้ แต่ที่ทราบ หนู่ไม่มีคำตอบซักอย่างเลย เอามาใช้ดื้อ ๆ ส่งงานวิจัยชั้นเรียนไปถึงถูกตีกลับ ไงล่ะ เอาละเมื่อหนูได้ปรับปรุงแก้ไขคำถามตัวเลือกแบบทดสอบแล้ว ต่อไปวานผู้เชี่ยวชาญช่วยประเมินให้ คือหาคำตอบข้อ ที่ 1 ไง เขาเรียกการหาค่า I.O.C. (Index of Item – Objective Congruence) ดัชนีความเทียงตรงการวัดจุดประสงค์
             ให้หนูทำตารางจุดประสงค์การเรียนที่ออกข้อสอบวัด ว่าข้อนั้น ออกข้อสอบกี่ข้อ แล้วตีตารางให้คะแนนไว้ด้านขวามือ 5 ช่อง กรรมการ 5 คน ให้คะแนน +1 ถ้าเห็นว่าวัดตรงจุดประสงค์ ให้คะแนน 0 ถ้าไม่แน่ใจ ให้คะแนน - 1 ถ้าเห็นว่าวัดไม่ตรง จุดประสงค์ ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน คือ คนที่สอนวิชาเดียวกันดีที่สุด ได้คะแนนมาก็หาค่าเฉลี่ย รายข้อ รายตัวเลือก อาจต้องทำ หลายครั้งจนกว่าจะได้คำถามและตัวเลือกที่มีดัชนีความเที่ยงตรงถึงเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เลือกเอาซัก 0.5 ขึ้นไป
............ต่อไปหนูก็นำแบบทดสอบ ไปหาค่าความยากง่าย และหาค่าอำนาจจำแนก ตามข้อ 2 และ 3 โดยนำไปทดสอบกับ นักเรียนที่เรียนวิชานั้นมาแล้ว ซัก 3 ห้อง แล้วนำมาวิเคราะห์ ดู
............ความยากง่าย ของตัวเลือกที่ ถูก ดูที่เปอร์เซ็นต์คนตอบถูก คนตอบถูกมากเพราะง่าย ตอบถูกน้อยเพราะยาก อาจตั้งเกณฑ์พิจารณา ดังนี้ (ตั้งเกณฑ์อื่นก็ได้ ลองอ่านเอกสารตำราวัดผลประเมินผลดู)
            ร้อยละ 81-100 ง่ายเกินไป
            ร้อยละ 66-80 ค่อนข้างง่าย
            ร้อยละ 36-65 ปานกลาง
            ร้อยละ 20-35 ค่อนข้างยาก
            ร้อยละ 1-19 ยากเกินไป
.............ความยากง่ายของตัวลวง คำถามแต่ละข้อ มีตัวลวงหลายตัว เราสมมติในใจแล้วว่า น่าจะมีคนตอบผิดทั้งกลุ่ม ไม่เกิน ร้อยละ 19 ที่หลงมาเลือกตัวลวง ร้อยละ 80 เขาตอบถูก ถ้ากระนั้นจะกระจายดูว่า ลวงได้ 19 เปอร์เซ็นต์ แสดงวาลวงเก่งมาก มีคนตอบน้อยกว่านั้น ก็ลวงได้น้อย ตัวลวงที่ดีควรมีคนตอบประมาณร้อยละ 4-19  จัดเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
              ร้อยละ ระหว่าง 0.16-0.19 ลวงได้ดี
              ร้อยละ ระหว่าง 0.12-0.15 ค่อนข้างดี
              ร้อยละ ระหว่าง 0.08-0.11 ลวงได้ปานกลาง
              ร้อยละ ระหว่าง 0.04-0.07 ลวงได้น้อย ปรับปรุง
              ร้อยละระหว่าง 0.00-0.03 ลวงไม่ดี ปรับปรุง
.............วิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนก ต้องแบ่งนักเรียนเป็นสองกลุ่ม นำคะแนนมาจัดลำดับสูงสุดไปหาต่ำสุด แบ่งครึ่ง เป็นกลุ่มเก่ง กลุ่มไม่เก่ง แล้วนำผลการตอบไปกรอกลงในตารางวิเคราะห์ค่า p ค่า r นำผลที่ได้ไปคำนวณตามสูตรการหาค่า p ค่า r กรอกตัวเลขเป็นค่าของตัวเลือก ค่า p ที่ได้จากการคำนวณ ถ้าคูณด้วย 100 ก็คือค่าร้อยละ แปลผลตามเกณฑ์ข้างบน นั่นแหละ ส่วนค่า r ต้องหาเกณฑ์มาแปลผลใหม่ เพราะยังไม่ได้พูดถึง
…………...ค่า r คืออำนาจจำแนก จำแนกได้ว่านี่คือคนเก่ง นี่คือคนไม่เก่ง เรียกว่า อำนาจจำแนก ตัวเลือกที่ ถูก คนเก่งตอบ มาก คนไม่เก่ง ตอบน้อย ผลต่างระหว่างสัดส่วนกลุ่มเก่งกับกลุ่มไม่เก่ง มีค่าเป็น บวก ส่วนตัวลวง คนเก่งตอบน้อย คนไม่เก่ง ตอบมากกว่า ผลต่างสัดส่วนมีค่า ลบ  ตัวอย่าง นักเรียน เก่ง 50 คน ไม่เก่ง 50 คน ตอบข้อสอบข้อที่ 1 ดังนี้
                   กลุ่มเก่ง ตอบตัวเลือก         ก = 45 ข =    3  ค = 1     ง = 1
                   กลุ่มไม่เก่ง ตอบตัวเลือก     ก = 25 ข = 12   ค = 10   ง = 3
รวมจำนวนผู้ตอบทั้งหมดตอบตัวเลือก   ก = 70   ข = 15 ค =11    ง = 4
............ค่า p หาได้จากสัดส่วนผู้สอบทั้งหมด ตอบตัวเลือกนั้นกี่คน ดังนั้นจึงหาได้จาก จำนวนคนตอบทั้งเก่งไม่เก่ง ตอบตัวเลือก ก 70 คน ตัวเลือก ข 15 คน ตัวเลือก ค 11 คน ตัวเลือก ง 4 คน หารด้วยจำนวนผู้เข้าสอบ 100 คน ผลที่ได้ออกมาเป็นค่า สัดส่วนคือ ก = 0.70 ข. = 0.15 ค= 0.11 และ ง =0.04 สัดส่วนนี่ก็คือ ค่า p ของแต่ละตัวเลือก เอาไปเทียบตาราง แปลผลได้เลย   ถ้าจะเทียบร้อยละเอา 100 คูณสัดส่วน แล้วแปลผลตามตัวอย่างข้างบนก็ได้ 

.............ตัวอย่างการคำนวณค่า r ใช้ผลอันเดียวกับการหาค่า p แต่หาค่า r จะใช้สัดส่วนของกลุ่ม เก่ง เทียบสัดส่วนของกลุ่มไม่ เก่ง ดังนั้นจึงใช้จำนวนผู้ตอบ หารด้วยจำนวนคนในกลุ่มก่อน ค่อยนำมาเปรียบเทียบกัน เช่น
                                      เก่ง ตอบตัวเลือก   ก = 45 ข = 3 ค = 1 ง = 1
        คำนวณสัดส่วนหารด้วย 50 ได้ผลคือ   ก = 0.90 ข = 0.06 ค = .020 ง = 0.02
                                    ไม่เก่ง ตอบตัวเลือก ก = 25 ข = 12 ค = 10 ง = 3
        คำนวณสัดส่วนหารด้วย 50  ได้ผลคือ  ก = 0.50 ข = 0.24 ค = 0.20 ง =0.06
ผลต่างสัดส่วนผู้ตอบกลุ่มเก่งลบด้วยกลุ่มไม่เก่ง เท่ากับ 
                ก 0.90 - 0.50 = 0.40
                ข. 0.06 - 0.24 = -0.18 ค่าติดลบ
                ค. 0.02 - 0.20 = -0.18 ค่าติดลบ
                ง. 0.02 - 0.06 = -0.04 ค่าติดลบ
               ผลต่างที่ได้จากการเทียบสัดส่วนก็คือค่า r ของตัวเลือก 2 ชนิด ตัวเลือกที่ถูกคือ ก คำนวณได้ 0.40 ตัวเลือกที่เหลือ ค่าติดลบทุกตัวเลือก ถือเป็นค่าปกติ ไม่ต้องไปปรับแก้อะไร ถ้าไปเทียบเกณฑ์การแปลผล จะเป็นตัวลวงที่ใช้ได้ เพราะธรรมชาติ ตัวลวง จะลวงคนเก่งได้น้อย ลวงคนไม่เก่งได้มากกว่า เมื่อหาสัดส่วนออกมาผลจึงติดลบ ในตำราวัดผลประเมินผล เขาให้เกณฑ์การอ่านค่า r ดังนี้
                 ค่า r .40 ขึ้นไป หมายความว่า จำแนกได้ดีมาก
                 .30 - .39 หมายความว่า พอใช้ แต่ควรปรับปรุง
                 .20 - .29 หมายความว่าจำแนกน้อย ควรปรับปรุง
              ต่ำกว่า .19 หมายความว่าจำแนกกไม่ดี ไม่ควรใช้
             ค่าที่บอกเป็นค่าสำหรับแปลผลตัวเลือกที่ถูก อย่านำไปใช้แปลผลตัวลวง เราอาจตั้งเกณฑเอาเอง จากสมมติฐาน ที่ว่ากลุ่มนักเรียนปกติ จะมีคนที่อ่อนมากต่ำกว่าร้อยละ 20 นั่นคือร้อยละ 19 ลงมา แล้วเราก็นำจำนวนร้อยละ 19 นี้มากระจาย 5 กลุ่ม คือ จำแนกไม่ดี จำแนกน้อย จำแนกปานกลาง และจำแนกได้ดีเยี่ยม ก็จะได้สัดส่วนช่วง ละ 4 แต้มคือ
                ค่า r ระหว่าง 0.16-0.19 จำแนกได้ดีมาก
                ค่า r ระหว่าง 0.12-0.15 จำแนกได้ดี
                ค่า r ระหว่าง 0.08-0.11 จำแนกได้ปานกลาง
                ค่า r ระหว่าง 0.04-0.07 จำแนกได้น้อย
                ค่า r ระหว่าง 0.00-0.03 จำแนกไม่ดี
หมายเหตุ
.............1.  สถิติที่ใช้ในการคำนวณ ค่า IOC = คะแนนรวมผู้เชี่ยวชาญรายบุคคลทุกคน หารด้วยจำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
 ............2. สูตรหาค่า p = (จำนวนผู้ตอบกลุ่มเก่ง + จำนวนผู้ตอบกลุ่มไม่เก่ง)/หารด้วย จำนวนนักเรียนทั้งสองกลุ่ม 
..............3.สูตรหาค่า r = (สัดส่วนกลุ่มเก่ง) - (สัดส่วนกลุ่มไม่เก่ง)
               สัดส่วนกลุ่มเก่งคือ จำนวนผู้ตอบกลุ่มเก่ง หารด้วย จำนวนนักเรียนในกลุ่มทั้งหมด
               สัดส่วนกลุ่มไม่เก่ง คือ จำนวนผู้ตอบกลุ่มไม่เก่ง หารด้วย จำนวนนักเรียนกลุ่มไม่เก่งทั้งหมด
................เป็นไงอ่านไหวไหม นี่แค่หาค่าความเที่ยงตรง หาค่าความยากกง่าย และหาค่าอำนาจจำแนก เท่านั้นนะ ยังไม่ได้หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ เอาไว้ตอนต่อไปละกัน เพราะต้องใช้ค่าสถิติค่อนข้างเยอะ


       

ปล. ส่งทางอีเมลให้แล้วนะ ถ้ายังไม่พอให้เข้าไปดูเวบบลอคเพิ่มเติมได้
http://nrongnu59.blogspot.com/

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ข้อบกพร่องในการแต่งกลอน

ข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขในการแต่งกลอน

..........ผมชอบแต่งร้อยกรอง เพราะอยากรู้ว่าจะแต่งได้ไหม ตอนไปสอนวรรณคดีไทย บางครั้งต้องสอนฉันทลักษณ์ร้อยกรองด้วย ก็เลยตั้งใจว่าจะฝึกเขียนให้ได้ หยิบกาพยยานีมาฝึกก่อนเพราะใช้คำน้อยพยายามเขียนทุกโอกาสที่อยากเขียน ไปสังเกตการสอนครูที่เขาสอนภาษาไทยเก่ง ๆ ลองบันทึกและรายงานเป็นกาพย์ยานี เขียนบันทึกได้ทันใจดี ตอนไหนไม่ทันก็ข้าม มาแต่เสริมภายหลัง อ่านดูก็ขำ ๆนะวันหนึ่งก็หยิบนิทานเดอร์ตี้โจ้กของชาวบ้านมาเขียน เพื่อนมาอ่อานชอบใจมาขออ่านอยู่เรื่อยในที่สุดก็แต่งกาพย์ยานีแบบปากเปล่าได้ ส่วนแต่งกลอนมาเริ่มเขียนจริง ๆตอนเรียนวรรณกรรมนิราศ หลักสูตร 

กศ.บ. ปี 2519 ครูให้เขียนนิราศส่งเป็นภาคนิพนธ์คนละเรื่อง อย่างหน้อย 3 หน้ากระดาษ ไม่เกิน 5 หน้า 
พิมพ์หน้าละ 40 บรรทัด บรรทัดละ 2 วรรค รวมต้องพิมพ์ 120 บรรทัด ยาวมาก ๆ จนนอนไม่หลับกลัวจะ
ทำไม่ได้ ไปอ่านนิราศต่าง ๆที่ห้องสมุดจนหลับคาหนังสือ ในที่สุดก็ได้คิดว่า น่าจะลองเขียนดู
...........กางสมุดแผนผังกลอนไว้แล้วก็หลับตานึกถึงการเดินทางจากบ้านมาที่มหาวิทยาลัย นั่งรถ

จักรยายนนตร์ เมียมาส่งคิวรถ นั่งรถยนต์รวดเดียวไปยัง ขนส่งปลายทาง ต่อรถสามล้อเข้าหอพัก จบการ
เดินทาง จากนั้นก็นึกหัวข้อ จะเขียนอะไร จุดประสงค์จากบ้าน ลาบุตรภรรยา ขอคุณสิ่งศักดืสิทธิ์คุ้มครอง ภรรยาไปส่ง บขส. ขอบคุณเธอ ฝากดูแลบุตรธิดา ............เข้าหอพักที่มหาวิทยาลัย รวมแล้ว 70 หัวข้อ สบายมาก เขียนเล่าเป็นกลอนแปด ปรากฏว่ายาวถึงห้าหน้ากระดาษ ส่งครูผู้สอนไป วิชานี้ได้เกรด เอ บวก ไม่เลวนักหรอก
...........หลังจากนั้นแต่งกลอนบ่อยมาก เอาอย่างแต่งกาพย์ยานีที่เคยฝึกมาแล้ว บทอวยพรต่าง ๆ ใครอยากได้ วานให้เขียน ได้เลย มากมายนับได้เกินร้อยสำนวน ที่แต่งเป็นนิราศก็มี จนวันหนึ่งอยากรู้ผล

งานที่เคยเขียนมันมี ข้อบกพร่องอะไรบ้าง พบว่าบางบท บางเรื่อง หักคะแนนได้แทบไม่เหลือคะแนนที่ได้เลย วันนี้ก็เลยนึกอยากนำ ข้อบกพร่องที่เจอมาเขียนไว้ให้ลูกหลาน อ่าน ดู จะได้รู้ว่า เราคิดว่าตัวเองเก่งเหลือหลาย ว่ากลอนปากเปล่า ได้ไม่ติดขัด แต่กลอนก็มีข้อบกพร่อง ตั้งแต่บกพร่องเล็กน้อย ไปจนบกพร่องมาก ๆ ดังจะนำมาเล่าให้ฟัง ดังนี้



..............1. ใช้คำขาด ๆ เกิน ๆ กลอนแปด ใช้คำวรรคละแปดคำ อ่านตำราบอกว่า ใช้ได้วรรคละ 7-9 คำอ่านงานของกวีที่แต่งไว้ ก็มีจริง ๆ เวลาแต่งก็ตามสบาย ขาดบ้างเกินบ้าง พอมาอ่านทีหลัง มันติด ๆ ขัด ๆ ต้องดู ว่ากี่คำ 7 คำ อ่าน 2-2-3 ลงตัว อ้าววรรคนี้ไม่ได้ต้องอ่าน 2-3-2 ก็เลยรู้ว่า ทำไมไม่แต่งให้ลงตัวแปดคำ อ่าน 3-2-3 ลงตัวสบาย ๆ ก็ได้ข้อสรุปว่า กลอนแปด แต่งวรรคละแปดคำนั่นแหละ ดีแล้ว
..............2. คำครบ แต่คร่อมจังหวะ กลอนแต่งเพื่ออ่าน โดยเฉพาะอ่านทำนองเสนาะ มีจังหวะการอ่านแบบ 3-2-3 ทุกวรรค คำขาดคำเกิน ก็ต้องอ่าน 3 จังหวะ ทีนี้คำหลายพยางค์บางคำ คนแต่งไม่ระวัง ปล่อยให้คร่อมจังหวะ ในวรรค อ่านก็เลยสะดุด 8 คำ ไปโรงเรียนเขียนอ่านการศึกษา อ่าน ไปโรงเรียน/เขียนอ่าน/การศึกษา อ่านไม่ติดขัด แต่ง 9 คำ ลูกเข้าโรงเรียนเขียนอ่านการศึกษา อ่าน ลูกเข้าโรง/เรียนเขียนอ่าน/การศึกษา อ่านได้ แต่ติด ๆ ขัด ๆ
..............3. เสียงคำท้ายวรรค กลอนอ่านทำนองเสนาะ จะมีปัญหา ถ้าคำลงท้ายวรรค เสียงผิดไปจากที่นิยม กลอนไม่ได้ ผิดฉันทลักษณ์ แต่มันอ่านไม่รื่น คนสมัยก่อนท่านนิยมแต่งคำลงท้ายวรรคบทกลอนกันอย่างไร
            คำท้ายวรรคสดับ ใช้ได้ทุกเสียง แต่ไม่ค่อยนิยมใช้เสียงสามัญ
           คำท้ายวรรครับ ต้องใช้เสียงเอก โท หรือจัตวา นิยมใช้เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงสามัญและตรี
           คำท้ายวรรครอง ต้องใช้เสียงสามัญ หรือเสียงตรี นิยมมากคือเสียงสามัญ ไม่นิยม เอก โท และจัตวา
            คำท้ายวรรคส่ง ต้องใช้เสียงสามัญหรือตรี ที่นิยมมากที่สุดคือเสียงสามัญ ไม่นิยม เอก โท และจัตวา

ตัวอย่างกลอนสุนทรภู่


           พระฟังคำอ้ำอึ้งตะลึงคิด (เสียงตรี)

           จะเบือนบิดป้องปัดก็ขัดขวาง (เสียงจัตวา)

           สงสารลูกเจ้าลังกาจึงว่าพลาง (เสียงสามัญ)

            เราเหมือนช้างงางอกไม่หลอกลวง (เสียงสามัญ)

                                        บทอาขยาน จากเรื่องพระอภัยมณี

..................4..สัมผัสนอกคือสัมผัสบังคับ ทุกตำแหน่งมีได้คำเดียว ไม่ควรมีคำอื่นที่เสียงเดียวกับสัมผัสบังคับ กลอน แต่ละบทมีคำสัมผัสบังคับสองเสียง เสียงแรกคือคำท้ายวรรคสดับ เสียงที่สองคือคำท้ายวรรครับ
                    บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว       สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา

                 เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา                       ประคองพาขึ้นไปยังบรรพต 


          คำที่ส่งสัมผัส บังคับได้แก่ คำ แว่ว และคำ หา ส่งไปไหนบ้าง แว่ว ส่งไปวรรคที่ 2 มีคำ แล้ว รับสัมผัส จบแค่นี้ อย่าให้มีคำอื่นแถมมาอีก ถ้ามีจะกลายเป็นสัมผัสบกพร่อง เรียกสัมผัสเลือน สัมผัสเลื่อน
......คำที่ 2 คือคำ หา ส่งไปท้ายวรรคที่ 3 และเนื่องไปคำที่ 3 วรรคที่ 4 แต่ละแห่งใช้คำรับสัมผัสคำเดียว ห้ามมีคำอื่นมีรับสัมผัส จะกลายเป็นสัมผัสบกพร่องไป ถ้ามีในวรรคที่ 3 เรียกชิงสัมผัส หรือสัมผัสลัด ถ้ามีในวรรคที่ 4 เรียกสัมผัสเลื่อนหรือสัมผัสเลือน

                 แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์              มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด

             ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด              ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

             คำมนุษย์ สัมผัสนอก ส่งไปวรรคที่ 2 มีคำ สุด รับสัมผัสคำเดียว พอแล้ว อย่าให้มีมาอีก จะเป็นสัมผัส บกพร่อง เรียกสัมผัสเลื่อนหรือสัมผัสเลือน
            คำกำหนด เป็นสัมผัสนอกเสียงที่ 2 ในบทนี้ ส่งสัมผัสไปวรรคที่ 3 มีคำ ลด รับสัมผัส ห้ามมีคำอื่น ถ้ามี จะเรียกชิงสัมผัส หรือสัมผัสลัด และมีการส่งต่อไปวรรคที่ 4 มีคำ คด คำเดียวรับสัมผัส ห้ามมีคำ

อื่น ๆ อีก ถ้ามี ก็กลายเป็นสัมผัสเลื่อน สัมผัสเลือน
.........6. เห่อสัมผัสใน จนทำให้กลอนบกพร่อง พวกที่อ่านกลอนสุนทรภู่มาก ๆเหมือนกระผม ชอบมากเรื่องสัมผัสใน จำจนขึ้นใจว่า วรรคละแปดคำ จังหวะ 3-2-3 สัมผัสในวรรคละสองคู่คือ คำที่ 3 กับ คำที่ 4 คำที่ 5 กับคำที่ 7 เกณฑ์นี้ใช้ได้กับวรรค คี่ คือวรรคที่ 1 และ 3 ส่วนวรรคคู่ก็ใช้ได้แต่ระวังพลาด วรรคที่ 2 และวรรคที่ 4 ตำแหน่งคำ ที่ 3 ต้องใช้รับสัมผัสบังคับ ไม่ว่างที่จะใช้สัมผัสในกับคำที่ 4 ถ้าขืนใช้จะทำให้คำที่ 4 เป็นสัมผัสเลื่อน หักคะแนนได้ บางคนเอากลอนเก่า ๆ มาอ้าง ก็ช่างกลอนเก่า ๆ สิ เรารู้ว่ามันบกพร่องจะเอาอย่างทำไม



              แผนผังปกติของกลอนแปด ปุ่มสีแดงคือจุดสัมผัสนอกในแต่ละบท เวลาจะแต่งสัมผัสใน ก็อย่าให้กระทบ เสียงของคำสัมผัสนอก กระทบเมื่อไรกลอนมีตำหนิทันที ตรงที่ใช้จุดไข่ปลา คือตำแหน่งคำรับสัมผัสบังคับ อาจ เลื่อนไปใช้คำที่จุดไข่ปลาตก แทนได้
........7. ชอบเล่นสัมผัสใน เล่นให้ถูกจังหวะ อย่าให้กลายเป็นสัมผัสลัดหรือชิงสัมผัส หรืออย่าให้กลายเป็นสัมผัส เลื่อนหรือสัมผัสเลือน แผนผังกลอนแปด คำท้ายวรรคสดับ ส่งสัมผัสไปให้คำที่ 3 วรรครับ ถ้ามีคำอื่นอีกที่รับสัมผัสได้ เรียกว่า เกิดสัมผัสเลื่อน หรือสัมผัสเลือน

                 อันความรักมักเป็นเห็นแต่ตัว.............เพราะมืดมัวกลัวรักจักห่างหาย
         อ่านดูมันก็เพราะดี แต่สัมผัสบังคับใช้คำเดียวรับสัมผัสพอแล้ว ตัวอย่างมีทั้ง มัว และ กลัว
รับสัมผัสได้ ถือว่าแต่งผิดฉันทลักษณ์ 


              สมมติว่าแต่งต่อไปอีก
             เกิดเป็นชายหมายรักมิกลับกลาย.........จวบจนตายรักแต่เจ้าเยาวมาลย์ 


            วรรครับคำท้ายคือ หาย ส่งสัมผัสบังคับไปให้คำท้ายวรรคของวรรครอง ได้แก่คำ กลาย แต่มีคำอื่นดักแย่งชิงสัมผัส คือคำ ชาย และ หมาย เรียก สัมผัสลัด หรือชิงสัมผัส แต่งแบบนี้ถือว่าแต่งผิดฉันทลักษณ์เช่นกัน
.........8. สัมผัสซ้ำ ในเส้นสายสัมผัสบังคับ ห้ามใช้คำซ้ำ หรือต่างรูป แต่เสียงเดียวกัน มาใช้ส่งรับสัมผัสกัน เชน คำ สัน สรรพ์ สันต์ สันติ์ ถือเป็นคำที่มีเสียงเดียวกัน ไม่ให้ใช้ ขัน ขันธ์ ขรรค์ ไม่ควรใช้ เป็นต้น
.........9. คำเสียงสั้น กับคำเสียงยาว ไม่ให้ใช้สัมผัสบังคับ เสียง อะ -อา นะ....นา จั น....จาน มัน...มาน กรรม กำ กัม เสียงเดียวกัน ใน ไน นัย เสียงเดียวกัน ใน...นาย คนละเสียง นาม...น้ำ คนละเสียง เรา...เบา
เสียงเดียวกัน เงา....ขาว คนละเสียง คำที่ประสมสระลดรูป เปลี่ยนรูป สังเกตให้ดี
.........10. คำลงท้ายบท ไม่ควรใช้เสียงเดียวกันติด ๆสำหรับบทกลอนที่แต่งติดต่อกันหลายบท สมมติ5 บาท บทที่หนึ่ง จบบทด้วยคำ ใจ จบบทสองด้วยคำ ใน เสียงไอเหมือนกันกับบทแรก ควรเว้นซัก 2 บท ถึงใช้ซ้ำก็ไม่ น่าเกลียด
.........11. คำคู่ที่ถือเป็นคำมาตรฐานไปแล้ว ไม่ควรนำมาสลับตำแหน่งหน้าหลัง มีคำไหนบ้าง ต้องตรวจสอบกับ พจนานุกรมทันทีที่สงสัย คำที่ถือว่าเป็นคำมาตรฐานไปแล้วเช่น แน่นอน กอบกู้ จริงใจ เดียวดาย ปกป้อง บางคำสลับ ตำแหน่งความหมายก็เพี้ยนไปด้วย ทางที่ดีอย่างใช้สลับตำแหน่ง
.........12. ใช้คำสัมผัสเพี้ยน ๆ ดูรูปคำนึกว่าจะสมผัสกันได้ แต่ลองอ่านดูจะรู้ได้ว่าคนละเสียง เช่น เล็ก เผ็ด เลข เป็นคำประสมสระ เอ เหมือนกัน แต่ตัวสะกดต่างกัน เลยออกเสียงต่างกัน
..........13. สัมผัสเผลอ เกิดจากการใช้คำบางคำที่รูปร่างคำคล้ายกัน หรือ ออกเสียคล้ายกัน เช่นคำว่า น้ำออกเสียงเหมือนคำ ย่าม ตาม ลาม ลองแยกคำดู น+สระอำ+ไม้โท เป็น น้ำ ย+สระอา+ม+ไม้เอก คำ ไป ขัย ใน นัย เสียงเดียวกัน แต่ต่างจากเสียง ชาย วาย งาย คำทำนองนี้ถ้าสงสัยให้วิเคราะห์คำดู ว่าประสมเสียง สระอะไร ถ้าเสียงสระเดียวกัน สะกดมาตราเดียวกันไหม ถ้าต่างมาตราสะกด ถืดว่าคนละเสียง
..........14. แต่งไม่ระวังกายเป้นกลอนที่มีละลอกทับละลอกฉลอง ระลอกทับ หมายถึงการมีเสียงวรรณยุกต์เอกหรือโท ในคำสุดท้ายของวรรครับและวรรครอง ระลอกฉลอง หมายถึงเสียงวรรณยุกต์เอกหรือโทในคำสุดท้ายของวรรคส่ง

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อาหารบ้าน ๆ 1 (ป่น หลาม ลาบ หมก)


ลาบปลาตอง
...............ปลาตอง ปลากราย ได้มาเยอะ ๆ กินไม่ทัน นิยมเอามาย่างให้สุก แห้งกรอบ เก็บไว้ได้เป็นเดือน บางคนเอา มาแกงใส่ฟัก แกงใส่ผัก แล้วแต่จะชอบ สำหรับผมชอบเอามาทำป่นปลาตองย่าง โดยเอามาแช่น้ำ แล้ว แกะเอาเนื้อมาสับให้แหลก ได้เนื้อสักถ้วยตวงก็พอทำป่นได้ ต้มน้ำปลาร้าไว้คนป่น ค่อยไปดูเครื่องปรุง
...........หอมหัวแดง 2 หัว กระเทียม 1 หัว ข่า 3 ฝาน ย่างไปให้สุกดีแล้วใส่ครกโขลกละเอียด ค่อยใส่เนื้อปลา ตำให้แหลก มะเขือเปราะสามลูกเผาให้สุกลอกเปลือกทิ้งเอาแต่เนื้อ ใส่ครกลงไป โขลกให้เข้ากัน คนด้วย น้ำปลาร้าพอขลุกขลิก แล้วเติมผักแต่กลิ่น หอมสด ชีหอม สองอย่างพอ ชิมและปรุงรสด้วยนำปลา ชูรส ทานกับข้าวเหนียวร้อน ๆ ระวังเบรคแตกหยุดไม่ได้ มันอร่อยมาก ๆ ถ้าได้ผักกับป่นดี ๆละก็
เอาสเต๊กมา แลกก็ไม่ยอมทีเดียวแหละ
............การทำป่นเป็นสูตรมาตรฐานของชาวบ้าน รสเผ็ดมี 3 แบบใช้พริกแห้ง พริกดิบ และพริกอ่อน อร่อย คนละแบบ ข่าปกติไม่ใช้กัน แต่ผมต้องใช้ดับกลิ่นคาวพวกเนื้อปลา หรือเนื้ออื่น ๆที่นำมาทำป่น
3 ฝาน ย่างไฟหน่อย หอมแดง กระเทียม ที่ต้องย่างไฟเช่นกัน 3 รายการนี่ใช้ทุกเมนู น้ำปลาร้าต้ม ปกติใช้ตัวปลาร้า ไปต้ม เพราะให้รสเค็มอร่อยกว่าใช้น้ำ ทีนี้ก็มาถึง เนื้อที่นำมาทำ ป่นใช้อะไรได้บ้าง กบ เขียด อึ่งอ่าง เคย ทำป่นกินกัน อร่อยทุกอย่าง ปลาทุกชนิด ขนาดปลาย่างก็เอามาทำได้
............ปูนาครับ ทำป่นกันบ่อยมาก ไปทำนาไม่มีเวลาไปหากบเขียด ก็มาลงที่ปูนาขาเกที่แหละ หาง่ายดี ต้มเต็มหม้อ เลือกเอาตัวเมียมาแกะเอาอ้งมันซักถ้วยตวง ไปทำป่นปู เครื่องปรุงสูตรมาตรฐานนั่นแหละครับ อร่อยมาก ผักแว่น ผักแพงพวย ผักหนอกบัวบก หมดเป็นกะละมัง ยังมีพิสดารกว่านี้อีกที่ผมทำป่นกินเอง นะ แต่คนอื่นขอชิมด้วยเพราะหอมกลิ่นป่น เช่นจิ้งหรีด จั๊กจั่น กุ้ง
............ป่นไก่ครับ ฟังชื่อแล้วชวนอ้วก วิธีทำมันชวนกินครับ ผมแอบทำป่นไก่จากเศษไก่ย่างที่เขากินไม่หมด เอามาเล็มเนื้อติดกระดูก แฮ่ ๆ บางทีก็หยิบเอาเนื้อสะโพกติดมือมาด้วย ได้มาก็สับ ๆๆๆๆละเอียดดีใส่ลงครก ทำป่น เครื่องปรุงแบบเดิมนั่นแหละ ได้ป่นไก่ชนิดที่ลาบไก่ต้องหลบเลยแหละ
............ป่นหมู ไม่ต้องแอบยาก หมูบดในตู้เย็นเยอะ เอามาสัก 2 ช้อน คั่วให้สุกก่อนนำมาใส่ครกทำป่น นี่ก็ ยอดเยี่ยมกว่าลาบหมูละกัน ป่นเนื้อก็ทำแบบเดียวกับป่นหมู เนื้อบดหายากคงต้องสับเองก่อนนำไปคั่วให้สุก ค่อยเอามาทำป่น
............พวกปลาทะเลเคยใช้ปลาทูครับ ให้เขาทอดสุกดีแล้วแกะเอาแต่เนื้อใส่ครกทำป่นได้เลย ผลที่ได้สูสี กับป่นปลาตอง แม่บ้านนิยมซื้อปลาทูมาให้บอกอยากกินป่นปลาทู ประจำเลยแหละ
...........ยังมีอีกครับ ที่แซบมาก ๆคือพวก ป่นเห็ด ที่ผมชอบทำมี 2 เห็ดคือ เห็ดตะไค กับเห็ดดิน อย่างอื่นลอง แล้วไม่ชอบ สองเห็ดนี่ล้างสะอาดดีแล้วนำไปปิ้งให้สุก ต้องเอาเยอะ ๆ เพราะปิ้งไปจะหายไปเกือบครึ่ง มันหอมมาก ๆอดชิมไม่ได้ เสร็จก็ลงครกทำป่นได้เลย ป่นเห็ดไม่ต้องน้ำมาก น้ำปลาร้าพอขลุกขลิกใช้ได้ อร่อยเหนือคำบรรยายครับ
............เล่าเรื่องป่นซะยืดยาว ไม่อยากแยกเขียนจะหลายเรื่องเกินไป ใครได้อ่านอาจขำ ๆว่า กินเข้าไปได้ อย่างไร แสดงว่ายังไม่เคย ถ้าได้ลองเชื่อเหอะ เปลี่ยนมาเข้าพวกชอบป่นเหมือนผมแน่นอน ท้าเลยเอ้า..... 


หลามปลาไหล

...............ตอนเด็ก ๆ วันหยุดพ่อมักจะชวนผมไปหาปลา ตามห้วยหนองคลองบึงประจำ ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องชวนเรา พี่สาวขอไปด้วยไม่ให้ไป เพิ่งมาเข้าใจตอนโตแล้วว่า ทำมาหากินแบบลงน้ำเข้าป่านี่เขาสอนลูกผู้ชาย ไปด้วย เพื่อสอนด้วยการปฏิบัติให้ดูนั่นเอง หนองน้ำที่ไปมีหล้ายหนองครับ หนองเบ็น ฝายงิ้ว หนองบัวพอง หรือไม่ก็ลงลำน้ำพองไปเลย แล้วแต่จะไปทำอะไร วันหนึ่งพอพาไปวางเบ็ดฝายงิ้ว เป็นฝายดินแต่ลึกมาก ดูไต้ก้นฝ่าย สูงหลายสิบเมตร น้ำสุดลูกหูลูกตา หนองนี้ปลาชุม พ่อเตรียมเยื่อใส้เดือน หัวหอยและปู จะมา วางเบ็ดกัน เดินเท้ามาถึงตอนเกือบเที่ยง หมาน้อยตามมาด้วย 1 ตัว มันวิ่งเข้าป่าหายไปเลย  ค่ำ ๆ ถึงจะกลับมาหาเรา หลังจากพักที่ร่มไม้พ่อบอก จะไปหาของกินข้าวเที่ยงก่อน ให้ไปตัดไม้ไผ่เป็น ๆ ท่อนใหญ่ ๆ 3 ปล้องมาไว้ ส่วนพ่อไปแทงปลาไหลหนองเบน ส่วนหางน้ำงวดเหลือแต่โคลน มีร่องรอยคนแทงปลาไหล แสดงว่ามีปลาไหลเยอะ พ่อไปไม่นานก็หิ้วปลาไหล มาห้าตัว พ่อจัดการเตรียมทำแกง เห็นตัดเป็นท่อน ๆ ใส่ใบตองไว้ จากนั้นก็ถามหามะเขือเปราะ ใบหอม ผักชีลาว ใบแมงลัก ตะไคร้ ผักคาด ล้วงจากถุงย่ามมา ล้างดีแล้วก็เด็ดสำหรับใส่แกง พริกแกงตำมาจากบ้านแล้ว มีพริกแห้ง 5 เม็ด หอมแดง 3 หัว กระเทียม 1 หัว (เดี๋ยวนี้ผมต้องเติมข่า 3 ฝานและกระปิ 1 ช้อนชา) เครื่องแกง ครบพ่อไปตัดกระบอกไม้ไผ่ทำหม้อแกง 1 ท่อน เหลาปลายยาว ๆไว้จับ เหลาส่วนก้นแหลมไว้ปักดิน มิน่า สั่งเอา 3 ปล้อง คลุกเนื้อปลาไหล ผัก เครื่องแกง เรียบร้อยก็ใส่ลงในกระบอกไม้ไผ่ ใบตะไคร้ ม้วนกลม ๆ ปิดปากกระบอกไม้ไผ่ ก่อนปิดเติมน้ำแกงลงไปครึ่งกระบอก เอาหม้อแกงปลาไหลไปตีลงดินให้แน่น ย้าย ท่อนฟืนที่ติดไปมาสุมรอบ ๆ คอยเฝ้าดูมิให้มันไหม้ก่อนสุก ไม่นานก็เห็นไอพ่นออกมาทางปากกระบอก แสดงว่าหม้อแกงกำลังร้อน วิธีการแบบนี้เองที่เรียกว่าการหลาม สักครูพ่อบอกมาสุกแล้ว พ่อไปตัดไม้ไผ่มาอีก ทำเป็นรางเหมือนจะให้รำหมู แต่เทหลามปลาไหลใส่แทน น้ำแกงขลุกขลิกกำลังดี แต่หอมสุดใจขาดดิ้น
..............ข้าวเหนียว 1 กระติ๊บไปจากบ้าน น้ำพริกก็แจ่วบอง กับก็หลามปลาไหล ช้อนซดแกงก็เปลือกหอยกาบ ที่คนเขาต้มกินเนื้อแล้วทิ้งกาบเต็มพื้นบริเวณร่มไม้ที่พัก อร่อยเกินจะบรรยายครับ อิ่มก็นอนพักจนหลับเพราะอากาศมันเย็น ตื่นมา ไม่เห็นพ่อแล้ว เลยเดินไปดูที่ฝายหนองงิ้ว เห็นแต่ร่องรอยปักราวเป็ด ตามไปไม่นานก็เห็นพ่อนั่งอยู่ริมฝั่งน้ำ
.............พ่อให้ช่วยเกี่ยวเหยื่อใส้เดือน เหยือใส้หอย หัวหอย แล้วเอาไปแขวนที่ราว กำชับด้วยอย่าหย่อน
เบ็ดให้เหยื่อถึงดิน สูงไว้สักฝ่ามือเหนือพื้น ปูจะได้กัดไม่ถึง ก็นานกว่าจะเสร็จ ส่วนพ่อแกไปอีกทางเพื่อ
วางเบ็ดเหยื่อปู เห็นแกสับสวะให้แหลกแล้วแขวนให้ปูไต่วนอยู่บนนั้น หกโมงเย็นก่อนกลับพ่อพาไปเปลี่ยน เหยือ มีปลาติดเบ็ดหลายสิบตัว โดยเฉพาะเหยื่อปู ปลาช่อนสองสามตัว ตัวโตเหมือนกัน ที่เล่าแถมก็คือพ่อ สอนลูกชายให้รู้จักทำมาหากิน นี่เป็นวิชาหาปลาไหล ทำกับข้าวเมื่ออยู่ในป่าดง และวิธีจับปลา เป็นวิธีการ สอนด้วยการทำให้ดูนั่นเอง
............อ้อ การทำอาหารด้วยวิธีหลาม ที่รู้จักกันดีก็ข้าวหลามไงครับ ส่วนการทำกับข้าว ถ้าใช้กระบอกไม้ไผ่ แทนหม้อแกงก็เรียกหลามเช่นกัน เคยลองหลามดูหลาย ๆอย่างครับ เพราะชอบกลิ่นหอมและอร่อยมาก ๆ เช่น กบเขียด ปลาช่อน เห็ด แบบนี้ซีนะ ลูกอีสานหลงป่า จึงอยู่ได้หลายวัน

มาลองทำลาบนกกัน
……….การทำอาหารประเภทสัตว์ปีก เช่นเป็ด ไก่ นก มีกรรมวิธีคล้าย ๆ กัน ก่อนจะพูดถึงการคนลาบนกจะ พูดถึงกรรมวิธีโดยรวมไว้ก่อน จะได้เข้าใจถึงการทำลาบของคนอีสานโบราณ
...........การถอนขนปีก ขนอ่อน ตัวเล็ก ๆ ขนาดนกคุ่ม นกกระปรอด นกกระจิบ ถอนได้เลย ขนใหญ่ ๆ
หมด ก็เอาไปลนไฟก็เกลี้ยงแล้ว เปลือกแขงที่เท้าลนไฟให้พองแล้วลอกออก จากนั้นก็ล้างสะอาด พร้อมนำไป ให้แม่ครัวพ่อครัวทำงานต่อไป พวกตัวใหญ่ นกกวัก นกเป็ดน้ำ นกเขา เป็ด เป็ดเทศ ไก่ ห่าน พวกนี้ถอน ขนยาก ต้องลวกน้ำร้อนก่อน ลวกน้ำร้อนจะทำให้หนังตึง ถอนขนง่าย ขนอ่อนลนไฟช่วย ก็เกลี้ยงได้ดี เปลือกแข็งหุ้มขาก็เผาไฟลอกออกได้เช่นกัน ล้างสะอาดดีแล้ว ก็ส่งให้พ่อครัวไป มีคนแซวว่ามีวิธีง่ายกว่านี้ ไหมตา ? ก็ไม่อยากตอบเหรอกเดี๋ยวโกรธเอา ใครจะกล้าบอกให้ไปซื้อที่ห้าง แบบที่เขาแช่แข็งไว้ สบายมาก หรือง่ายกว่านั้น ก็ไปนั่งสั่งกินเลยที่ร้านอาหาร
............การคัวนก เป็ดไก่ ก่อนเอาไปทำกับข้าว พ่อครัวแม่ครัวจะจัดการ"คัว"ก่อน คือการชำแระ ลอกหนัง ผ่าท้องเอาเครื่องในออกมาทำความสะอาด ระวังดีแตก ขม ล้างยาก ใส้นิยมผ่าล้างง่าย กึ๋นก็ผ่าลอกเยื่อบุออก เศษอาหารก็จะหลุดออกด้วย ล้างง่าย ตับ ระวังดีแตกดึงออกก่อนค่อยล้าง ถ้าดีเป็ดต้องเก็บไว้ใช้ตอนจะย่าง หัวเป็ดปากเป็ด ทาด้วยน้ำดีจะหอมมาก ขมหน่อย ๆ อร่อยมากพวกคอทองแดงชอบ เครื่องในล้างดีแล้วแยก ใส่ถ้วยชามเอาไว้ ส่วนตัวพวกขนาดเล็ก นกคุ่ม นกกระทา เอาไปทำอาหารได้เลย พวกตัวใหญ่กระดูกแข็ง ต้องสับแยกเนื้อกระดูกไว้คนละจาน แค่นี้เองการ" คัว" ก็จบกระบวนการ จากนั้นจะทำ ลาบ ทำแกง ทำต้มแซบ ก็หาเครื่อปรุงและพ่อครั่วแม่ครัวมาทำ
.........เครื่องทำลาบ อีสาน มีข่า สำหรับดับกลิ่นคาว 3-5 ฝาน ถ้าทำลาบปริมาณน้อย ไม่เกิน 2 ถ้วย มาก กว่านั้น ก็เพิ่มเอา ดับกลิ่นคาวดีมาก เวลาใช้นิยมสับกับเนื้อปนลงไปเลย หอมแดง 2 หัว กระเทียม 1หัว สองอย่างนี้ เผาไฟให้สุกหอม โขลกกับพริกป่น 5 เม็ด นี่เผ็ดน้อย ชอบเผ็ดมากก็เพิ่มเอา มะเขือขื่น 2 ลูก เผาให้สุกก่อน โขลกใส่กับพริกป่นหอมแดงได้เลย จะใส่ตอนคนลาบ บางคนลาบนกตัวนิดเดียว ใส่มะเขือไป 3 ลูกยังไม่พอ ไปตัดเอาก้านกล้วยน้ำหว้า เลือกก้านอ่อน ๆหน่อย ลอกเปลือกออก เอาแต่แกนใน มาสับละเอียดสักถ้วย ตวง(ถ้วยตักของหวาน) ปนในเนื้อที่สับ คนลาบเสร็จมองไม่เห็น นึกว่าเนื้อนก ผักแต่งกลิ่น ใบหอมสด ต้นเดียว ชีหอม ต้นเดียว ชีฝรั่งใบสองใบ ใบมะกรูด 3 ใบ พวกนี้หั่นฝอยไว้แต่งกลิ่นลาบ รสเค็ม น้ำปลาร้าต้ม สุกใช้แทนน้ำปลา รสเปรี้ยวมะขามเปียกซักฝักใส่ในน้ำต้มปลาร้า ไม่ต้องบีบมะนาวก็ได้ ถ้าไม่มีก็พึ่งมะนาว
..........การคนลาบ สับแหลกแล้ว เนื้อปลอมใส่ลงไปแล้ว(ก้านกล้วย)ก็เอาใส่ครกดินเผา คนง่ายกว่าใช้ถ้วยใช้ กะละมัง เพราะใช้สากตีกระจุยเลย ตักน้ำต้มปลาร้าเดือด ๆ ราดทีละทัพพี คนไป น้ำเย็นก็เทคืนหม้อน้ำต้ม ตักน้ำร้อน ๆมาราดและคนไปเรื่อย ๆ จนเนื้อสุกดีแล้ว ค่อยหยุดเอาไปใส่เครื่องปรุงรส วิธีนี้คนรุ่นใหม่ ยัง รังเกียจว่าสุก ๆ ดิบ ๆ พ่อครัวเลยปรับแก้เป็นเอาไปคั่วกับเครื่องใน โดยคั่วหรือผัดเครื่องในให้สุกก่อน จะ มีน้ำมันซึมเปียกทั่วกระทะ ใส่เนื้อสับแล้วลงไปคั่วหรือผัด ทีนี้ละก็สุกแน่ หอมด้วย ที่เอาเครื่องในลงก่อน เพราะอยากให้มันเปลวที่ติดอยู่กับ เครื่องในละลายเป็นน้ำมัน พอใส่เนื้อลงก็กลายเป็นผัดนั่นเอง
..........การใส่เครื่องปรุง ในกะละมังลาบที่ตอนนี้สุกดีแล้ว ถ้ายังไม่มีรสเปรี้ยว เพราะใช้วิธี คั่วหรือผัด ก็บีบ
มะนาวราด คนไปเรื่อย เติมพริกป่น น้ำปลาร้า ข้าวคั่ว ผักแต่งกลิ่นหอม แค่นี้ก็ครบเครื่องแล้ว คนดี ๆก็ชิม
และปรุงรสได้ น้ำปลา ชูรส แต่งเอาเอง รับรองอร่อยแน่
.........การทำน้ำต้มกินกับลาบ พวกตัวเล็ก เขาสับทั้งตัวไม่มีกระดูกทำน้ำต้ม แต่ตอนคนลาบ น้ำต้มที่ตักมาคน ลาบ เย็นลงก็เทคืนหม้อน้ำต้มปลาร้า กว่าจะคนลาบสร็จ หม้อน้ำต้มก็เลยมีน้ำนัวที่เทออกจากถ้วยลาบ เอามา ปรุงรสทำน้ำต้มแซบกินกับลาบได้สบาย ๆ เติมข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดลงไป ก็ได้น้ำต้มแซบซดกับลาบอร่อย มากครับ ลาบพวกตัวใหญ่ เขาเลาะเอาเนื้อออก กระดูกชิ้นโต ๆ สับ แล้ววางใส่หม้อน้ำต้มคนลาบ คนลาบ เสร็จก็ปรุงเป็นน้ำต้มแซบ เติมข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักแต่งกลิ่นโรยหน้าซะหน่อย ตักมาซดกับลาบอร่อย ยิ่งพวกที่มีเครื่องในเยอะ แบ่งมาใส่น้ำต้มได้ด้วยละก็อร่อยจน ลืมลาบได้เหมือนกัน
.........ลาบนกตัวเล็ก ถ้ามีปริมาณมาก (หลายตัว)ก็อร่อยไม่เบา อย่างลาบนกคุ่ม เอาลาบไก่มาแลกก็ไม่ยอม ลาบนกไก่นา (นกกวัก) นกเป็ด เอาชนะลาบไก่ได้สบาย ๆ ลาบพวกตัวใหญ่ ๆ ได้เปรียบตรงที่เครื่องไน เยอะ แยกใส่ลาบบ้าง ใส่น้ำต้มบ้าง เลยอร่อยทั้งสองอย่าง ส่วนพวกตัวเล็ก ๆ ใส่ลาบก็หมดแล้ว น้ำต้มมีแต่ปลาร้า กับน้ำนัวที่ได้จากการคนลาบ ปรุงแล้วก็พอซดได้
........เครื่องปรุงที่เล่ามาเป็นมาตรฐานการทำลาบอีสานครับ มากกว่านี้ได้ แต่ขาดไม่อร่อย ใส่ได้กับการปรุง ลาบสัตว์ปีกแบบนกเป็ดไก่ ครับ สัตว์ปีกแบบพวกแมงเอาไว้คนละชุด นะครับ


การทำอาหารจำพวกหมกหยวก
……..หยวกกล้วย คือแกนกลางต้นกล้วยที่ยังไม่แทงดอกเป็นปลีกล้วย จะประกอบด้วยกาบอ่อนและยอดอ่อน โผล่ออกมาเป็นยอดกล้วย ใบตองกล้วยนั่นแหละ ถ้าเราตัดต้นกล้วยช่วงที่ยังไม่มีปลี จะได้หยวกกล้วยมา ทำอาหารกินกัน ถ้าตัดต้นที่แทงดอกปลีแล้ว แกนจะตันเป็นแท่ง เหมือนขั้วเครือกล้วยนั่นแหละ กินไม่ไหว ดังนั้นถ้าจะหาหยวกกล้วยมาทำกับข้าว เลือกให้ถูกต้นแล้วกัน กล้วยที่นิยมตัดเอาหยวกเป็นกล้วยน้ำหว้า มากกว่าชนิดอื่น ๆ เห็นบอกว่ากล้วยอย่างอื่นมันขม ไม่ได้ลอง แต่กล้วยป่าที่เมืองเลยชาวบ้านตัดมาขายที่ ตลาดก็ไม่เห็นขมนี่
...........เตรียมหยวกกล้วยเพื่อทำกับข้าวประเภทห่อหมก ทำแกง มีวิธีเตรียมเหมือนกัน คือเลือกเอาเฉพาะส่วน ที่อ่อน ล้างดีแล้วหั่นเป็นแว่น ๆ แช่น้ำส้ม(บีบมะนาวใส่ หรือน้ำส้มสายชู)ในกะละมังไว้ ป้องกันมิให้หยวก ดำคล้ำ เสร็จแล้วใช้แส้ไม้ไผ่ยาวสักศอก มาจุ่มลงไปในกะละมัง หมุน ๆๆๆๆๆ เส้นใยจากหยวกจะพันติด ไม้แส้ ทำนาน ๆจนเหลือน้อย ค่อยเอาไปทำกับข้าว ปริมาณหยวกมากน้อยแล้วแต่จะหามาได้ มีน้อยก็ได้ห่อ หมกน้อย มีมากก็ได้หลายห่อ
.........เครื่องปรุงห่อหมก มักจะใช้แบบเดียวกันได้ ถ้าเราจะห่อหมก 5 ห้อง ต้องใช้เครื่องปรุงประมาณนี้คือ ตะไคร้ 1 ต้น ข่า 3 ฝาน ดอมแดง 3 หัว กระเทียม 1 หัว พริกแห้ง 3 เม็ด กลุ่มนี้ใส่ครกตำให้แหลก เติมกระปิ 1 ช้อนชา ตำเข้ากันดีแล้ว ตักใส่ถ้วยเล็กไว้ เรียกพริกแกง หรือจะเรียกพริกห่อหมก ก็ได้ ไม่ว่ากัน ต่อไป ก็หอมสด 2 ต้น แมงลัก 5 ยอด เด็ดใส่จานไว้ ข้าวเบือ 2 ช้อน น้ำปลาร้า 3 ช้อนโต๊ะ ชูรส 1 ช้อนชา อ้อ ตอง สำหรับห่อตัดมาตากแดดไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่กรอบแตกง่าย ไม้จิ้มฟันก็ใช้กลัดหามาไว้ด้วย
.........จากนั้นก็เป็นการเตรียมเนื้อที่จะนำมาทำหมกหยวก ผมหมกมั่วไปหมด บางอย่างคนอื่นไม่กล้าทำผมก็ทำ กบเขียดที่กินได้ เคยเอามาทำหมด ยกเว้นอึ่งอ่างไม่ชอบ พวกกบเขียดที่ตัวโต ๆ ก่อนสับเอามาผาไฟก่อน ขูดผิวไหม้ออก ค่อยกวักใส้ออกมาล้าง สะอาดดีแล้วค่อยสับเป็นชิ้น ๆ แบบทำแกง เคยสับละเอียดแบบสับ ลาบ ก็ใช้ได้นะ แต่ต้องคอยตอบคำถามว่าห่อหมกอะไร พวกสัตว์ปีกที่ผมชอบเอามาหมกกับหยวกได้แก่ ไก่ อย่างอื่นไม่ชอบ เลือกเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อและเครื่องใน มาสับขนาดทำแกงก็พอไม่ต้องละเอียดมาก ถ้าพวกสี่เท้าชอบหลายอย่าง ขนาด หนู พังพอน เคยทำครับ นอกจากนี้ก็ อีเหน บ่าง ตะกวด เม่น หมูป่า หมูบ้าน พวกสัตว์ป่า ได้มานิด ๆ หน่อยจากการแบ่งปันกับคนอื่น เลยทำห่อหมกดีที่สุด การเตรียมไม่มี อะไรยุ่งยาก ส่วนมากคนเขาทำความสะอาดมาแล้วก่อนจะตัดแบ่งกัน เราได้มาก็ล้างให้สะอาดก่อนนำมาสับ เป็นชิ้นเล็ก ๆ พักไว้รอนำไปปรุงอาหาร พวกเปิบพอสดารมีบ้างไหม ก็ไม่รู้นะว่าอะไรพิสดาร จิ้งหรีด จิโป่ม เคยทำนะ เด็ดปีก ควักใส้ออกล้างสะอาดดีแล้วเอามาทำได้
 .....เล่ามานี่จะเห็นว่าหมกหยวกไม่ธรรมดา สามารถตั้งชื่อย่อย ๆ ได้กว่าสิบชื่อทีเดียว เช่น หมกกบ หมกเขียด หมกอีฮวก หมกไก่ หมกหนู หมกบ่าง หมก พังพอน หมกอีเหน หมกตะกวด(แลน) หมกเม่น หมกหมูป่า หมกหมูบ้าน หมกปลา.....ซิว สร้อย หมอ ฯลฯ เพราะมันเยอะมากนั่นแหละ เสียดายถ้าจะเขียนถึงแค่สองสามอย่าง เลยตีรวบมันมาหมด เพราะวิธีทำของผม ไม่เหมือนวิธีคนอื่นหรอก ใช้แบบเดียวกันได้ทุกชนิดห่อหมก
..........วิธีของผมจะเตรียมเนื้อที่จะทำห่อหมกให้สุก ดีก่อน ค่อยนำมาห่อหมก โดยใช้กระทะใส่น้ำนิดหน่อย กลัวจะไหม้ก่อนสุก พอน้ำเดือดก็ใส่เนื้อที่สับใส่ถ้วยไว้นั่นแหละลงไป ไม้พายเล็ก ๆคนไป ใส่พริกแกงจาก ถ้วยที่โขลกไว้ลงไป คนไปเรื่อย เติมข้าวเบือ น้ำปลาร้า แล้วถึงคราวหยวก คนต่อจนเห็นว่าสุกดี เติมใบหอม สดและแมงลัก (อ้อ ใบชะพลู ส่วนประกอบบังคับของพวกกบเขียด ใช้คู่กับแมงลักได้)ปิดไฟเพราะสุกดีแล้ว ชิมและปรุงรส ปล่อยให้เย็น แล้วนำใบตองมาห่อ ไม้กลัดให้แน่นนำไปย่างไฟ ไม่ต้องนึ่งยากเพราะมันสุก แล้ว พอใบตองสุกเกรียมเท่านั้นแหละหอมฟุ้งไปทั่วเลย เคยแอบเอาไปเข้าเวบ สะดวกเกินไปอย่าทำเดี๋ยวคนเขาจะเอาอย่าง

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วันแม่ 12 สิงหาคม 2559



วันแม่ว่าจะไม่เขียนบทกลอนแล้ว เพราะเขียนทุกปี แต่แล้วก็ทนไม่ได้ นั่งเขียนถึงแม่อีก เลยมีทั้งสำนวนร้อยแก้วร้อยกรอง ทนอ่านหน่อยแล้วกัน

---------------------








...........................แม่จ๋าแม่อยู่ไหน ..................

---------------------

ถึงวันแม่แม่จ๋าแม่อยู่ไหน..................แม่จากไปนับกาลนานนักหนา

ศกสองห้าหนึ่งสี่ยังติดตา.................โอ้มารดาป่วยหนักยากจักคลาย

พาแม่ไปหาหมอโรงบาลศูนย์............แสนอาดูรย์หมอทักยากจักหาย

ประคำร้อยรัดรอบคอหญิงชาย......อาจวางวายยากข้ามตามรูปการณ์

พาแม่กลับไปบ้านเถิดลูกรัก.............ถึงแม่จักวางวายใจยังหาญ

กลับมาตายบ้านเราโรคระราน............ยากจักผ่านแม่วอนจนอ่อนใจ

พ่อแลลูกเฝ้าดูอาการแม่...................เจ็บปวดแท้ลำบากยากแก้ไข

เอาแต่นั่งรอดูวันจักไป......................สามวันได้นั่งเฝ้าเศร้าโศกา

ฉันเป็นพระมิห่างอยู่ข้างแม่...............ทำได้แค่ส่งบุญกุศลหา

นับแต่เกิดทำดีตลอดมา....................สี่พรรษาบวชให้ได้ทำบุญ

นักธรรมเอกเปรียญสองสอบได้แล้ว.....ใจผ่องแผ้วภาวนาผลาหนุน

ด้วยอำนาจไตรรัตน์บังเกิดคุณ...........ได้เจือจุนแม่อย่าร้อนโรครุกรน

มองตาแม่รู้สึกแม่ห่วงหา...................จึงพูดจาฟังไว้ใจสับสน

ฉันเป็นพระสั่งบุญคุณสกล................จะส่งผลให้แม่ถึงแน่นอน

ถึงฉันสึกก็จะเป็นคนดีแน่..................อย่าห่วงแม่ตรึกจำคำพระสอน

ทบทวนไว้มวลกุศลทุกบทตอน.........กรรมตัดรอนมีบุญหนุนนำไป

สุคติปลายทางแน่นอนนัก.................สุดจะหักห้ามจิตวิกฤตไฉน

แม่หลับตายังยิ้มเงียบขาดใจ.............เสียงร่ำไห้รอบข้างต่างอาวรณ์

ถึงจะเศร้าครรลองร้องมิออก.............เป็นพระดอกยังจำคำพระสอน

อนิจจาวตสังขารากลอน...................ช่วยได้ตอนทุกข์ท่วมทับถึงตน

ยังจำได้คำแม่แลพ่อสั่ง....................ให้ระวังบาปบุญทุกแห่งหน

ละห่างทั่วทำดีใส่กมล......................ถึงเราจนแต่อย่าชั่วจำใส่ใจ

มุ่งทำบุญมิขาดปรารถนา..................ทำทานมามากวิธีเคยชี้ไข

อามิสทานธรรมทานขจรไป...............ทานมัยร่มเย็นเป็นมงคล

เบญจศีลทุกวันมิเคยขาด..................ก่ออำนาจจิตแกร่งอนุสนธิ์

สีมัยบุญทั้งนั้นมั่นใจตน....................ฉลาดกลภาวนาปรีชาชาญ

นั่นคือภาวนามัยได้บุญด้วย.............เพราะรู้ช่วยได้ทำกรรมอาจหาญ

บุญกุศลมากมวลทำมานาน...............อุทิศผ่านถึงแม่แน่วแน่ใจ

ขออำนาจแห่งบุญคุณกุศล................บันดาลดลถึงแม่กระแสใส

แม้นลำบากจงดลผ่านพ้นไป..............สุขแล้วให้ปรีเปรมเกษมสราญ

ขอให้ได้พบเห็นเป็นแม่ลูก...............ได้พันผูกสั่งผลกุศลผสาน

มุ่งมรรคผลดลให้พบนิพพาน...........ขอให้ท่านสบสันติ์นิรันต์เทอญ ฯ







รำลึกถึงพระคุณพ่อแม่

...จะวันพ่อหรือวันแม่ ผมจะรำลึกถึงพระคุณทั้งสองท่านเสมอเพราะ สองท่านคือผู้มีพระคุณล้นเหลือที่ไม่มีปัญญาจะชดใช้ให้สิ้นสุดไปได้ เหมือนหนี้สินเงินทองพ่อแม่ท่านให้ชีวิต ร่างกายแก่เรา จนก่อเกิดเป็นผู้คนลืมตาดูโลกนี้ได้ ช่วยให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้จนเติบใหญ่ ท่านเป็นครูฝึกสอนอิริยาบถยืนเดินนั่งนอนฝึกการกินอยู่ขับถ่าย ฝึกการพูดจา การแสดงกิริยามรรยาท ฝึกการอยู่ร่วมกับคนอื่น ในสังคม ท่านสอนมากมายกว่าจะส่งให้ครูอาจารย์ช่วยสอนอีก จนท่านพอใจจึงปล่อยให้ลูกออกเดินเส้นทางชีวิตด้วยตนเองอย่างมั่นคง คนเป็นพ่อแม่เท่านั้นถึงทำอย่างนี้ได้ แล้วลูกอย่างเราจะตอบแทนคุณท่านอย่างไร

......การตอบแทนที่ดีคือทำสิ่งที่พ่อแม่อยากได้ เป็นการตอบแทนที่ดีที่สุดพ่อแม่ส่วนมากต้องการสิ่งที่ดีงามจากลูก ให้ท่านได้ไหมล่ะ ตัวอย่าง เช่น

1. อยากให้ลูกเป็นคนว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อ ไม่ซุกซน

2. อยากให้ลูกเป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ไม่โมโหโทโส

3. อยากให้ลูกเป็นคนซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อหน้าและลับหลัง

4. อยากให้ลูกเป็นคนมีระเบียบวินัย รักประเพณีวัฒนธรรม

5. อยากให้ลูกเป็นคนเจรจาชอบ ไพเราะ มีสาระ เชื่อถือได้

6. อยากให้ลูกเป็นคนมีสติไม่ประมาท

7. อยากให้ลูกฉลาด ขยันในการศึกษาเล่าเรียน

8. อยากให้ลูกขยันทำการงาน

9. อยากให้ลูกมีครอบครัวที่ดี

..........ฯลฯ.........

.....จากตัวอย่างจะพบว่าสิ่งที่พ่อแม่อยากได้จากลูกมาก ๆ ไม่ใช่สิ่งของมิใช่พวงมาลัย แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวลูกนั่นเอง เวลาลูกดื้อรั้น ห้ามไม่ฟัง พ่อแม่เจ็บปวดใจมาก ถ้าอยากให้พ่อแม่ไม่เจ็บปวด ฝึกตนเองได้ไหมล่ะคิดใหม่ ลองเชื่อฟังพ่อแม่ซิ ส่วนมากท่านจะมีเหตุผลที่ห้าม มีเหตุผลที่สอนเวลาเราเชื่อฟัง จะเห็นพ่อแม่เป็นสุข อยากเห็นไหมล่ะ
….ยามเห็นลูกเป็นคนใจดีมีเมตตาต่อคนอื่น พ่อแม่บางคนกลั้นน้ำตาไม่อยู่ปลื้มใจมาก เห็นลูกเรียนหนังสือเก่ง จบชั้นสำคัญ ๆ ภูมิใจเหลือเกิน เอาไปคุยอวดสามวันเจ็ดวันก็ไม่จบ ดีใจเหลือเกิน วันที่กระผมตกลงใจบวชได้เห็นน้ำตาแม่ไหลตอนแกนั่งฟังหมอพราหมณ์ทำพิธีสู่ขวัญ จึงทำให้มั่นใจว่าเราทำสิ่งที่ทำให้พ่อแม่เป็นสุข แสดงว่าการที่เราทำสิ่งดีงาม นอกจากเราจะได้ผลที่ดีแก่ตัวเราเองแล้ว ยังส่งผลกระทบไปถึงพ่อแม่ด้วย มีแต่ได้กับได้
.....ไม่สงสัยบ้างเหรอว่า ทำไมเวลาเราทุกข์ยากลำบาก ใช่ว่าเราเจ็บคนเดียวเมื่อไร พ่อแม่น้ำตาตกในทุกข์ใจไม่น้อยเหมือนกันหรือเวลาเราได้ดีมีสุข อ้าวนึกว่าเราสุขคนเดียว พ่อแม่ปลื้มมากไม่น้อยไปกว่าเราหรอก ผู้หลักผู้ใหญ่บอกว่า เพราะเราได้กายใจมาจากพ่อแม่นั่นเอง แถมยังอยู่กับเราทุกวันเวลาไม่ว่าสุขหรือทุกข์่ ภาคส่วนของพ่อแม่จะสุขทุกข์ไปกับเราด้วย รักพ่อแม่ขอให้ดูแลตัวเองให้ดี ละสิ่งที่เป็นเรื่องไม่ดีงาม พยายามสั่งสมแต่สิ่งที่ดีงามแทน แบบนี้เองที่จะช่วยให้พ่อแม่มีความสุข วิธีเช่นนี้ทำได้ตลอดชีวิต แม้ท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ยังทำได้ ลองดูสิถ้ารักพ่อแม่จริง

-----------





วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นิราศเมืองเหนือ


                                                   นิราศเมืองเหนือ 1

คำชี้แจง
ผมแต่งนิราศเมืองเหนือไว้เมื่อปี 2533 ขณะเป็นครูที่โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอ วังสะพุงจังหวัดเลย ต้นฉบับหายหมด เหลือแต่ที่นำขึ้นเวบไซท์ ซึ่งเป็นไฟล์ภาพสกุล .jpg กำลัง จะนำมาปรับปรุงแก้ไขและพิมพ์ใหม่ คงใช้เวลาหลายวัน เพราะเขียนไว้ยาว เลยขอพื้นที่เวบบลอก คุณยายธนัญธรว่า ถ้าพิมพ์ได้ยาวหน่อย จะเอามาโพสให้อ่านเล่น จบแล้วก็เอาออก อ้อนิราศเรื่อง นี้แต่่งด้วยโคลงดั้นวิวิธีมาลีช่วงนั้นกำลังฝึกแต่งโคลง มีข้อสังเกตคือ 

...............รูปแบบแผนผังเหมือนโคลงสี่สุภาพ ตัดจำนวนคำวรรคสุดท้ายบทออก 2 คำ บังคับเอก
เจ็ด โทสี่ เหมือนเดิม แต่คำที่ตัดออก มีคำโทอยู่ด้วย เลยย้ายคำโทมาไว้วรรคหน้า กลายเป็นคำ
โทคู่

คำ คำ คำ เอก โท        คำ
คำ (คำ คำ)
คำ เอก คำ คำ คำ        เอก
โท
คำ คำ เอก คำ
คำ        คำ เอก ( คำ คำ )
คำ เอก คำ
โท โท        คำ คำ (ตัดตรงนี้ออก 2 คำ พร้อมทั้งคำสร้อย)

คำ คำ คำ เอก โท        คำ
คำ (คำ คำ)
คำ เอก คำ คำ คำ        เอก
โท
คำ คำ เอก คำ
คำ        คำ เอก ( คำ คำ )
คำ เอก คำ
โท โท        คำ คำ (ตัดตรงนี้ออก 2 คำ พร้อมทั้งคำสร้อย) 

.......แผนผังโคลงดั้นวิวิธมาลี 2 บท คำ หมายถึงคำสุภาพ เอก หมายถึงคำเอก โท หมายถึงคำโท
บาทสุดท้ายแต่ละบทตัดคำปลายวรรคออก เหลือ 2 คำ ย้ายคำโทไปไว้วรรคหน้า ทำให้มีคำโทคู่
เป็นที่ที่เราจำว่าไม่ใช่โคลงสี่สุภาพ
.......สัมผัสในแต่ละบทมี 2 แห่ง แต้มสีเขียวสำหรับคู่แรก แต้มสีแดงสำหรับคู่ที่ 2 เป็นคำโทด้วย และ
สำหรับสัมผัสข้ามบทที่เรียกวา ใช้คำสุดท้ายของบท ส่งให้คำที่ 5 บาทที่ 2 บทถัดไป แต่งเช่นนี้ไปจนเบื่อ ในนิราศเรื่องนี้ผมแต่งด้วยโคลงดั้นวิวิธมาลี แต่มีหลายบทกลายเป็นบาทกุญชร เมื่อพิมพ์ใหม่ก็จะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง

                                                                      ขุนทอง ศรีประจง
                                                                            13-ก.ค.-59


คำตอบจากคุณยาย ธนัญธร

ด้วยความยินดีค้า ขอบพระคุณอย่างสูง

13 กรกฎาคม 2559

ต่อจากนี้ไปก็จะโพส นิราศเมืองเหนือให้คุณยายแกอ่านเล่น 555 เอิ๊ก ๆ


นิราศเมืองเหนือ
1. ศรีสิทธิมัตถุ สุคตัสสประณต องค์สุคตศาสดา นบธรรมาปิฎก ยอยกสงฆ์เคารพ
จบจรดเกศนอบน้อม พร้อมด้วยธูเทียนทอง ปองยึดเป็นสรณะ อรหังสัมมา นบบิดามารดร
ขอพรจงสฤษดิ์ ประสิทธิ์สมประสงค์ ข้าจำนงลิขิต ต่อติดคล่องขีดเขียน พูเพียรอย่าทดท้อ
กล่าวกลอนก็จงจบ ครบกระบวนเรียบร้อย อุปสรรคแม้น้อย อย่ามี
2. อยุธยายศยิ่งล้ำ เลิศเลอ (ดั้นวิวิธิธมาลี)
ชนชื่นชมบุรี................ล่มฟ้า
จบดินยิ่งยากเจอ...........จบเท่า
ขอผ่านมิกล้าเอื้อน.......เอ่ยชม
3. เมียงมองทางท้องที่......ถิ่นเนาว์
วังสะพุงนิคม...................เขตแคว้น
งดงามยิ่งขุนเขา................ควรชื่น....ชมแฮ
ชนไม่เคยแร้นแค้น...........ขัดสน
4. ภุหลวงมรกตตั้ง...........เติมนาม
พูนเพียบพิศพฤกษ์พน......พรั่งพร้อม
ยูงยางยิ่งยอดยาม..............ยลเยี่ยม
แหนห่างหาดล้อมห้วย.......หากเห็น
5. พิศพรรณบุปผชาติชั้น....ช่อชม
สายหยุดยิ่งยามเย็น.............ยั่วแย้ม
จิกจวงจั่นจันทน์ดม.............ดูดดื่ม ใจนา
บัวอิ่มดังแก้มน้อง................นาชม
6. ชลธีไหลหลากล้น..........แลลาน
ตกตาดผาภิรมย์...................รื่นเร้า
มัจฉาว่ายแหวกธาร.............ทุกที่
เยือนเยี่ยมยังเศร้าสร้อย........โศกหาย
7.สิงสาราสัตว์นั้น...............นานา
หมู่เม่นหมีหากหลาย...........หมู่ช้าง
กระทิงคู่เลียงผา...................ผยองเผ่น
งามกิ่งกวางบ้างเก้ง.............แกว่งเขา
8. ภูหอดูดั่งห้อง................หอรัก
ฟังว่ามีนางเนาว์.................หนึ่งน้อง
ผมหอมหล่างามพักตร์........ภักดิ์ยิ่ง
คอยพี่คืนห้องน้อย..............นั่งรอ
9. แผกพันธุ์พิศพุ่มไม้........มากมี
บุปผชาติงามละออ..............อวดอ้าง
ภมรชื่นชมสี......................แสวงกลิ่น
คอยคู่คลอค้างเคล้า.............คลุกคลี
10. ผาพุงอีกถ้ำหนึ่ง..........เมืองเฮา
งามยิ่งเทพเสกศรี...............สง่าล้ำ
งามงดแง่หินเงา.................งามเงื่อน เงินแฮ
งามยิ่งในถ้ำย้อย.................หยาดหิน
11. ผาสิงห์สมชื่อถ้ำ...........เถื่อนงาม
ผองพุ่มไพรพรหมินทร์.......ท่านสร้าง
บุษบาเบ่งบานตาม...............ตรึงติด ใจนา
รวยรื่นกลิ่นต้างแต้ว.............ต่อใจ
12. งดงามทุกที่แท้..............ถ้ำทอง
พิสัตว์ขามไข......................เขตถ้ำ
วิจิตรยิ่งคนจอง...................จดจ่อ ชมแฮ
ฮามฮ่องหินล้ำล้วน............หากงาม
13. ยังมีอีกมากพ้น............พรรณนา
ถ้ำพระผาบิ้งตาม................แต่รู้
ถ้ำน้ำดั่งเทพพา..................พรหมเสก
เพียงพบทุกผู้ร้อง................รื่นรมย์
14. นานาน้ำตำต้อง.............ตาดผา
หลายแหล่งเลียบเลาะชม......ชื่นได้
สายธารต่างตรึงตรา.............ชวนตื่น ใจนา
งามยิ่งยามใกล้เกื้อ...............กล่อมขวัญ
15. สมบูรณ์คำว่าไว้............วังสะพุง
เป็นหนึ่งในเลยสรรพ์...........ถิ่นนี้
เกริกเกียรติเลื่องลือคุง...........ขอบโลก
หลายสิ่งกูลเกื้อชี้.................ชื่นชม
16. ไพรสณฑ์มากมิ่งไม้.......มวลมี
หลายแห่งไพรนิยม..............ทั่วพื้น
แผกพรรณพุ่มขจี...................จับจิต
เกาะแก่งธารตื้นน้ำ................ตื่นตา
17. ขุนเขาเล็กใหญ่ตั้ง..........ตระหง่านงาม
รายรอบขอบพารา................เลิศล้ำ
สายธารหลั่งไหลยาม...........ยลยิ่ง งามแฮ
มากส่ำสัตว์ซ้ำสร้าง..............สุขสรรพ์
18. ชุมชนอาชีพเกื้อ.............เกษตรกรรม
ลงไร่นาขยัน........................ยิ่งล้น
เศรษฐกิจรุ่งเรือนทำ..............ทุกที่
พืชไร่สวนพ้นเอื้อ..................เอ่ยขาย
19. เย็นชุมชนสั่งแก้ว............กอปรบุญ
ไตรรัตน์รุ่งเรืองภาย................แผ่นพื้น
รินรสแห่งธรรมคุณ................ควรค่า จริงเฮย
ศีลมั่นทานฟื้นเกื้อ..................กล่อมใจ
20. วัดวาชุมหมู่บ้าน.............บานจิต
ชนสั่งกุศลไป........................กอปรเกื้อ
ถือศีลเคร่งธรรมบิด...............บังชั่ว
เสาะสั่งธรรมเอื้อให้..............เหมาะสม
21. ทิวถนนติดต่อเกื้อ............กูลการ
ครบเขตคามนิคม..................ถิ่นนี้
สะดวกเสาะสืบสาร................แสวงส่ง
ไกลก็เหมือนชี้ใกล้...............แก่กัน
22. เมินเมืองเรืองรุ่งแท้..........ทุกภาย
เรืองรุ่งสินเสกสรรค์..............สืบค้า
ผลิตผลเกษตรหลาย..............เหลือหลาก
ขวักไขว่คนท้าซื้อ................กล่าวขาย
23. ทางแลสะอาดสะอ้าน.....คำชม
วายวุ่นรถมากมาย................ไม่ร้อน
ตามกฏน่านิยม.....................ยกย่อง
ชนช่างชอบต้อนยิ้ม..............ต่อกัน
24. ศรีสงครามนี่นั้น............นามสถาน
สอนศิษย์คุณครูสรรค์...........เสกให้
ศิลป์ลือเลื่องเชิงชาญ............ชมทั่ว เมืองเลย
เกริกเกียรติเหนือไต้ล้วน......โด่งดัง
25. โรงเรียนยลยิ่งย้ำ..............เกริกไกร
รมย์รื่นรุกข์ร่มบัง...................บดฟ้า
มาลีเบ่งบานไพร...................พราวเพริศ
ชูช่อกลีบอ้าอ้าง.....................อวดภมร


26 พระพายพัดแผ่วพริ้ว........พฤกษ์พันธุ์
เสียงดั่งเสียงบังอร.................อ่อนอ้อน
เซ็งแซ่ดั่งแตรสรรพ์...............เสนาะกล่อม
ซู่ซู่ใครร้อนร้อง......................ร่ำไร
27. ชมชลดาดาษด้วย............ดอกบัว
บานเบ่งแฝงฝังใบ...................บอกใบ้
มัจฉาแผกพรรณตัว................แตกต่าง
แหวกว่ายชวนให้ใกล้.............แก่งชล
28. อาคารสวยสุดซึ้ง..............เสกสม
ลำดับยิ่งยามยล......................เลิศล้ำ
พิศเพียงมาดเมืองพรหม.........พราวเพริศ
ตกแต่งทุกก้ำล้วน...................รื่นรมย์
29. เอ็นดูเด็กต่างตั้ง...............ต่อเรียน
เสริมส่งวิชชาคม....................คลั่งไคล้
แลศิลป์ยี่งขับเขียน.................ขยันยิ่ง แลนา
ขันแข่งลุได้แล้ว.....................เลื่องลือ
30. แถลงปางเมื่อครั้ง.............คิดกิน
ทัศนศึกษาถือ.........................มาดหมั้น
ไปเหนือเมื่อสายัณห์...............เยือนเยี่ยม
ลืมว่างามนั้นแพ้.....................แต่สวรรค์
31. หมวดสังคมคิดขึ้น...........โครงการ
ชวนเพื่อนครูไปกัน.................มากหน้า
นักเรียนยิ่งลนลาน..................อยากเที่ยว
จองที่มิล้าแล้ว.........................เก่งเกิน
32. วันยี่สิบแปดได้................ดูเดือน
กรกฎพาเพลิน.......................พี่น้อง
สามสามศกมิเลือน................ลืมแน่
วันที่พวกพ้องเต้า....................ต่อทาง
33. เพียบพลผองพวกพ้อง......พบกัน
หลายคู่หลายคนวาง................จิตได้
ถามถึงเรื่องราวพลัน...............พวกเล่า
สองทุ่มนัดไว้แล้ว...................เสร็จสาย
34. ราชันควงอ่อนอ้อน.........อนันทา
เคียงคู่มิอาจหาย.....................เรียบร้อย
นำเด็กหนึ่งคันมา....................เมียงม่าย....แลนา
เซ็งแซ่ตัวน้อยน้อย...................นี่นัน
35. เสถียรเยาวลักษ์ล้ำ..............ล่วงสมัย
สุดหล่อสุดสวยพลัน.................เพียบพร้อม
คุมรถอีกคันไว.........................วายวุ่น จริงเอย
เด็กแข่งเพลงอ้อมแอ้ม...............เอ็ดอึง
36. สทธิกับน้องว่า...................วิยะดา
สองอ่อนจับจูงดึง......................ดุ่มดั้น
คุมรถติดตามมา.......................หมายมุ่ง
เด็กอย่าซนชั้นนี้.......................รับรอง
37. ถึงยามสามทุ่มแล้ว............ลีลา
อึงมี่นวลคะนอง.......................หนุ่มเหน้า
เด็กสาวส่งเพลงพา...................เพลินยิ่ง
ลางส่งเสียงเศร้าสร้อย...............โศกศัลย์
38. ลูกจ๋าคำท่านผู้....................ปกครอง
เทียวท่องอย่าดึงดัน...................เดี่ยวดั้น
คำครูเชื่อคำตรอง.....................ตามนั่น.....นาแม่
จับจ่ายออมนั้นแล้ว...................จึ่งงาม
39. คุณลูกทำละห้อย...............โหยหา
คะแม่จักทำตาม........................ว่าไว้
มิเลือนแต่ตรึงตรา.....................ตรึงจิต
จากแม่โหยไห้ไห้.....................ห่วงหา
40. ลับตาสักครู่ได้..................ดูดี
เซ็งแซ่เพราะเพลงพา...............ครึกครื้น
โศกหายห่างมามี....................เริงร่า
สักครูยังสะอื้นไห้...................ห่างหาย
41. ถึงกกเกลือค่ารู้.................คุณอนันต์
ยาฆ่าพยาธิขาย.......................ต่างรู้
ชุบสีก็ดำมัน..........................มีค่า
คนเล่าค่าสู้ล้ำ........................หมากเกลือ
42. ปากปวนเป็นหมู่บ้าน......บนเนิน
ปลูกพริกผักมะเขือ.................ไร่ฝ้าย
พริกเล็กแต่เผ็ดเกิน.................กินยาก
คนเผ็ดใช่ร้ายต้อง..................เผ็ดดี
43. ลุถึงขอนแก่นบ้าน..........บอกคำ
พืชแก่นก็คือศรี.....................พืชสร้าง
คนคุณค่าคือธรรม................ถูกที่
ปฏิบัติอ้างได้.......................แก่นคน
44. ภูกระแตก่อนกี้.............กล่าวขาน
ทึบป่าแปลงหายจน.............แปลกเค้า
ทุกหนโล่งแลลาน...............แหลกโล่ง แลนา
หมดป่าเห็นเศร้าล้วน.........สลดใจ
45. สนามบินบ่ร้อง............เรือบิน
สนามรักขาดรักไป.............ป่วงบ้า
เรือเหาะห่างสนามภินทน์.....พลาดร่วง แลนา
รักห่างสนามล้าแล้ว............ร่วงโรย
46. เมืองเลยฤๅกล้าล่วง........ลืมเลย
หลายท่านรอตามโพย...........พ่วงไว้
ขุนทองหนึ่งตามเคย..............คนชอบ เทียวแฮ
เมียลูกมาได้ด้วย...................ดั่งคำ
47. ลดาวัลย์ว่าต้น...............ตามมา
ส่งแม่เสร็จคงคืน..................สู่บ้าน
ครบครันเริ่มไคลคลา...........คอยเคลื่อน
ลาถิ่นเลยต้านถ้อย.................ต่อกลอน
48. เลยบุรินทร์ถิ่นนี้.............นานเนาว์
เรียมร่ำจักจำจร.....................จากแล้ว
ยามไกลห่วงสองเยาว์............ยังอ่อน
นกเหน่งลูกแก้วยั้ง................อยู่เรือน
49. กาญจนาสั่งแก้ว..............กลอยใจ
สองอย่าคิดแชเชือน..............เฉื่อยเจ้า
การกิจช่วยกันไว..................วอนว่า
ยามห่างอย่าเศร้าสร้อย.......โศกตรม
50. รอนแรมนิราศร้าง.......เรือนนอน
เริงรื่นมิระทม....................หม่นไหม้
ภรรยานั่งเคียงกร..............กุมนั่ม นุชแฮ
ลูกอีกคนได้ต้อย................ติดตาม


51. จากมามิต้องคร่ำ......คิดครวญ
ครบคู่เคียงคนงาม..............เงื่อนนี้
จ๊ะจ๋าลูกชิดชวน..................ชมเรื่อย
คุณแม่เชิญชี้เอื้อ.................เอ่ยชม
52. แถลงคราวนิราศร้าง......แรมไกล
สี่ทุ่มละเลยรมย์..................รื่นเร้า
เพราะเพล่งนั่งชมไฟ..........ฟากฟั่ง
รถผ่านแนวเข้าข้าง..........เขตเมือง
53. ศาลากลางอยู่ซ้าย.......สง่างาม
ศูนย์กิจการประเทือง..........ถิ่นนี้
ตำรวจนั่งแลยาม................ยังอยู่
เคยต่อตามชี้แจ้ง................ราชการ
54. โรงพยาบาลอยู่ข้าง.....ขวามือ
เจ็บป่วยเคยลนลาน...........รีบร้อน
พบหมอฉีดยาคือ..............เข็ดขยาด
กลัวยิ่งสาวค้อนอ้าง...........อดทน
55. กลัวหมอกลับไม่พ้น....พบหมอ
กลัวเผดพบผีวน................วุ่นให้
กลัวรักรักรีรอ...................รักเล่น
กลัวท่านเมียได้ล้วน..........แต่หงอ
56. แขวงการทางที่สร้าง....ทำถนน
อีกซ่อมมิรีรอ...................เรียบร้อย
ยวดยานวิ่งวกวน..............ขับขี่
ดียิ่งฝากถ้อยเอื้อน............เอ่ยชม
57. กอมอศูนย์สบสร้าง...สามทาง
แยกหนึ่งไปพรมแดน.......ด่านซ้าย
เชียงคานนั่นพิศพลาง.......แยกยุ่ง
อีกหนึ่งเรือนอ้ายนั้น........ออกมา
58. ถึงทางสามแพร่งแล้ว...เรียมขำ
สามรักสบสาวครา............ก่อนกี้
ลางสาวข่มเขาทำ..............ทีท่า
งามแต่หนูนี้ท้า.................ท่าทาง
59. ยามยินยังนึกรู้...........เรื่องราว
คนเก่งนินทานาง.............นิ่มน้อง
ลวดลายแม่คงพราว.........รอบจัด
มิคู่ควรต้องให้.................แต่งเรือน
60. ท่าแพแลท่าน้ำ...........นองชล
งามท่ายามยลเยือน...........เลิศล้ำ
ไหลมาผ่านไปกล............กงจักร
ดังท่าใจช้ำแท้...................จากกัน
61. ไร่ม่วงมองม่วงไม้. ........มากมาย
เคยเที่ยวมาเลือกสรร............ช่วยซื้อ
หวานนักยิ่งคนขาย..............ขาวผ่อง
เห็นหนุ่มรุมตื้อน้อง.............ติดตาม
62. ถับถึงกอไร่บ้าน............บอกนวล
แนวไผ่เคยงดงาม.................ก่อนนี้
เขาถางถากไถพรวน............เพาะปลูก
เหลือแต่นามชี้ให้.................แม่ชม
63. อีกถึงบางเสี้ยวใหญ่.......คะนึง
กาลก่อนงามคำคม...............ค่าล้น
โลกสรรพ์สิ่งเลิศตรึง...........ตราโลก
เกิดก่อมิพ้นเสี้ยว................แห่งกาล
64. ตรองดูมีมากแท้...........ทันเห็น
วีรบุรุษนาน........................เนิ่นแล้ว
เกิดแต่ชั่วยามเป็น...............แปลกยิ่ง
กาลก่อเกิดแก้วได้..............ต่างวลี
65. โพนป่าแดงแต่ครั้ง.......ก่อนกาล
เคยนั่งเทศน์มัทรี................สนุกแท้
บุญพระเวสส์สราญ...........ชนชื่น
ถึงเหนื่อยมิแพ้สู้................เสร็จสม
66. เลยมาถึงโค้งผ่าน.......ภูสวรรค์
เพราะชื่อแต่อกตรม...........หม่นเศร้า
รถราวิ่งเร็วพลัน.................พลิกคว่ำ
นับศพเกินเข้าร้อย................สู่สวรรค์
67. นึกขำคำพีน้อง.............แนะนำ
พึงก่อบุญมากสรรค์............เสกไว้
ดับชีพจ่องจิตจำ...................สุคติ แลนา
พระท่านสอนให้สร้าง.........จดจำ
68. บุญฤๅแลบาปด้วย........ใดใด
เกิดก่อวิบากกรรม...............เกิดแล้ว
บุญนำสุราลัย.....................ผลส่ง
นรกมิแคล้วต้อง..................บาปนำ
69. มิรอวิบากให้...............ผลมา
บุญบาปผลทุกกรรม.............เกิดชี้
ทำเสร็จส่งผลหา..................นานเนิ่น
ชาวพุทธพึงลี้เว้น................บาปกรรม
70. สานตมยามดึกแล้ว......หลับใหล
รถแล่นเพียงพบพลัน..........ผ่านพ้น
สามตมสุดหนาวใน...........นคเรศ
ข่าวทุกวันต้นเค้า................แจกไป
71. หนองเสือครางแม่แก้ว.....งงงัน
วานพ่อบอกทำไม................แต่เค้า
เสือสางจึ่งครางมัน...............มีเหตุ
ใยนั่นขะเจ้าแจ้ง....................จักฟัง
72. หนักจิตยากจักอ้าง........ขานไข
ยามแม่ปวดฟันพัง...............ผุนั้น
ปวดนักยิ่งถูกไฟ.................จุดจี่ แลนา
เสือปวดยากกลั้นได้............จึ่งคราง
73. คุณหมูฟังแล้วชื่น.......ชอบใจ
บอกว่าจริงเสือสาง............แสบเขี้ยว
ปวดฟันยิ่งฟอนไฟ...........ลามติด นาแม่
เคยเจ็บยากเกี้ยวแก้............กดทนต์
74. คิกคักเสียงเด็กน้อย......ขบขัน
นึกว่าหลับหนอนวล.........นิ่มเนื้อ
เห็นเธอแข่งกันกรน...........กราวลั่น
หลับบ่จริงเอื้อน้อง.............แอบฟัง
75. ภูเรือเหลือเชื่อแล้ว.......เรือยนต์
โตใหญ่เทียบเขาดัง............แบบนั้น
คำเขาว่ารูปกล..................เรือคว่ำ
จึงกล่าวขานสั้นสั้น..........เรื่องราว
76. แก่งไฮใยชื่อนี้............นึกดู
ฤๅเพราะหมากไฮแจง.......แจกได้
ไฮเกิดติดคลองคู................ติดแก่ง
จึงเอ่ยนามไว้อ้าง................แก่งไฮ
77. โคกพิธฺโพธิ์แผ่ก้าน.......สาขา
เย็นร่มโพธิ์บังใบ.................สุขล้น
เย็นเงาร่มพุทธา.................เย็นสงบ
เย็นจิตหลุดพ้นได้.............ห่างมาร
78. มาถึงแก่งแล่นแล้ว......เล็งแล
ใครแล่นเลียบนที..............แก่งแหล้น
งูเงือกข่มรังแก...................ขบกัด แลฤๅ
ฤๅแก่งมันเส้นตื้น..............ตื่นกลัว
79. หนองแซงใครบ้างชอบ.......แซงเขา
ฟังว่าตีนผีมัว......................มืดอ้าง
อีกพวกดื่มมากเมา..............มักเก่ง
ยอดยิ่งพวกกว้างเส้น............เก่งเกิน
80. โคกงามงามโคกนั้น.....นามมี
เพียงแค่พุ่มไพรเนิน.............แมกไม้
คำคนถิ่นพงพี.....................แนวป่า
เกิดบนเนินได้อ้าง..............โคกนาม
81.ถึงบางนามห้วยตาด.......เหตุไฉน
ไหลหลั่งสายธารา..............หลากล้น
พัดผ่านแผ่นไผท................ชลชุ่ม
สายจิตเย็นพ้นน้ำ...............ฉ่ำชล
82. เลยไปถึงด่านซ้าย.........สุดแดน
ทัพด่านดูสายสนธิ์...............ศึกต้าน
ยากนักด่นรักแสน...............ยากผ่าน
คนกวาพันล้านล้วน...........ล่มลง
83. เมืองเลยสุดเขตแคว้น...อำลา
สืบต่อเมืองเหนือตร.............ต่อนี้
เขาสูงกีดมรรคา..................คงยาก
ปีนป่ายยากชี้ล้วน...............ช่องเขา
84. หนทางแลลดเลี้ยว.......วกวน
ลางแห่งหุบเหวเงา..............แมกไม้
ลมเย็นยิ่งหนาวจน.............ใจสั่น
ฝนเริ่มโปรยให้ซ้ำ..............ยิ่งเย็น
85. เขาสูงชันยิ่งล้ำ............ล่วงถึง
ล่างหากเห็นแดน................ด่านซ้าย
งามไฟค่ำตะลึง...................ลิงโลด
งามยิ่งเสียงว้ายร้อง..............ชื่นชม
86. ลางหนูเธอร่ำร้อง.........ยินดี
ดูนั่นดาวมันตาม................ต่ำใต้
มากมายหมู่ดาวมี...............มวลมาก
เราอยู่สูงใกล้แล้ว................เขตสวรรค์
87. สงสัยหนูน้อยนั่ง........นับนาน
ไฟว่าดาวสำคัญ.................ผิดแล้ว
มึนงงแน่นงคราญ............โงกง่วง
สักครูเงียบแจ้วแจ้ว...........หลับลง
88. ยามดึกยังฉ่ำชื้น........ชมดอย
รถวิ่งหนทางเคย................คดเคี้ยว
คันหลังบ่เห็นคอย..............คนึงอยู่
จอดนิ่งรอเปรี้ยวแล้ว..........ปากเป็น
89. เสาะหาของขบเคี้ยว......คงมี
กรอบแกรบเลยถูกติง...........ต่อถ้อย
แอบกินแต่เดียวดี.................ฤๅพ่อ
เสียงแม่หนูน้อยน้อง............เอ่ยขาน
90. คอยกันครู่หนึ่งแล้ว.......รถตาม
ทันที่รอเบิกบาน...................บ่ช้า
พบพลันจึ่งสอบถาม............ถึงเหตุ
เขาว่ารถล้าต้อง...................ต่างแรง
91. ครบครันควรเคลื่อนคล้อย จากสถาน
มาดมุ่งเมืองเหนือยัง..............อยุ่โพ้น
รอนแรมเร่มสราญ.................เริงรื่น
ตาส่องดูโน้นนี้.....................น่าภิรมย์
92. เมียงมองมาดหมู่บ้าน.....บ่อโพธิ์
กลางป่ากลางดงชม................ชื่นได้
ดึกนักน่าโมโห.....................หาง่วง
หกทุ่มยังไร้เค้า.......................หลับลง
93. คนเดียวยากหลับต้อง......ตื่นตา
หรีดหริ่งกล่อมไพรพง............ร่ำร้อง
พระพายแผ่วพัดพา................เพลินจิต
หนาวดั่งขาดน้องน้อย............หน่ายหนี
94. บัดดลวับจิ้งจอก...............กระโจน
เออนั่นอะไรขาว....................ผ่านหน้า
เด็กเด็กต่างตะโกน.................ดังลั่น
นึกว่าหลับหล้าน้อย...............หลับลวง
95. นครไทยมืดครึ้ม..............ค่ำคืน
เดือนดับดวงดาวหมอง............หม่นฟ้า
สายฝนชุ่มเย็นฝืน....................แฝงยาก
หนาวยิ่งหนาวหน้าน้อง...........หน่ายหนี
96. เลยมามากหมู่ไม้...............มืดมัว
ลางแหล่งหุบเหวมี...................มากล้น
แลลึกหวั่นหวาดกลัว...............เกรงหล่น
เหวรักว่าพ้นได้.......................ยากเย็น
97. อรวรรณบ้นบ้าง................บอกเมา
ยามง่วงมึนงงเห็น...................ร่ำร้อง
รถวนวิ่งบนเขา........................ขมขื่น
ยาช่วยยังต้องแพ้......................เบื่อยา
98. ชาติตระการร่มเกล้า.........การศึก
ไทยรบลาวออกมา.................เรียกร้อง
รุกแดนร่ำเรียกคึก...................หาญฆ่า
ใครผิดถูกต้องสู้.....................ศึกราน
99. ศึกใดเทียมเท่าสู้...............ศึกใจ
สองนิ่มแขไขขาน...................ต่อแต้ม
ฉันดีหนึ่งนงใย.......................ยึดมั่น
งามแม่ยามแย้มยิ้ม...................จริตงาม
100. อีกสาวยามใกล้ชิด.........ชวนชม
งามแง่ชายชวนตาม...............ติดน้อง
มืดมนมั่วภิรมย์........................เริงรื่น
เอาแต่จดจ้องเจ้า...................จักชม
นิราศเมืองเหนือ 2

101. สองสาวสองพ่ายแพ้......พร้อมสรรพ
ชายชั่วพาล่มจม......................สุดสิ้น
ครองกันแต่แตกพลัน...............ทุกข์ท่วม แลนา
ชนะแค่ลิ้นร้อง.........................หลอกตน
102. กลางดงนามหมู่บ้าน.....บังเอิญ
พอตื่นมางุนงง........................ง่วงแท้
ดงดอนเปลี่ยนจำเริญ...............เรืองรุ่ง
มิแปลกแมกไม้แพ้....................ฤทธิ์เรา
103. ถัดมาเป็นบ้านแพะ...........พึใจ103
รับเคราะห์แทนทุกชน.............ชอบได้
บาปมวลชั่วพิษภัย...................แพะรับ จริงเอย
เขาเสาะแพะไว้ให้...................รับกรรม
104. ทองแสนขันแน่นแล้ว......นวลนาง
ผูกแน่นยากจักคลำ..................เงื่อนแก้
ขาดทองบ่มีทาง.......................มัดนิ่ม นุชแฮ
ยากแต่แรกแพ้น้ำ.....................จิตนวล
105. เมืองตรอนเคยผ่านแล้ว... กลับมา
ฤาว่าทุเรียนไย.........................รสล้ำ
หายากยิ่งยากหา......................เห็นไม่
สาวที่ตรอนก้ำนี้......................ยากเห็น
106. อุตตรดิตถ์นั้น..................คือท่า
เทียบรักฤาไรเป็น.....................แปลกแล้ว
รักเรียมอยากจอดหา................หนแห่ง ใดฤๅ
วอนท่านวลแกวน้อง...............รับไป
107. รอนแรมถึงแพร่เข้า.........เขตเวียง
ยินชื่อชวนใจฝัน......................ฝากเจ้า
เมืองแพร่แผ่รักเรียง.................รักแพร่
ขาดแพร่คงเศร้าน้อง...............ห่างหา
108. เวียนวนแวะพักใหล้.......เด่นชัย
เด็กเด็กตื่นตาพลัน..................ผ่องแผ้ว
ลงรถวิ่งกันไว.........................วายวุ่น
จองสุขาเจื้อยแจ้ว.....................แย่งกัน
109. เสร็จกิจมาสั่งข้าว...........ขาหมู
ลางสั่งก๋วยเตี๋ยวพลัน...............เงียบพร้อม
อาจารย์ช่วยตรวจดู.................เด็กก่อน
เสร็จค่อยมาล้อมบ้าง...............สั่งกิน
110. คุณหมูข้าวต้มเครื่อง.......ครบครัน
คุณแม่มิยินดี..........................แต่น้อย
นมจืดกล่องของฉัน................เชิญส่ง มาแฮ
โลกกลับกันต้องคล้อย.............อย่าฝืน
111. พรำพรำฝนตกแล้ว.........ลีลา
หมายมุ่งลำปางคืน..................ผ่านพ้น
รอนแรมเรื่อยลับลา................นานเนิ่น
ดึดดื่นเรียมได้จ้อง..................ชมสถาน
112. มองไปสองขอบข้าง.......หนทาง
ชันยิ่งรถเราคลาน....................ค่อยคล้อย
ลุถึงถิ่นลำปาง.........................แปลกยิ่ง
ไฟส่องเอ่ยถ้อยล้วน................หลากงาม
113.รถเลยพาผ่านพ้น...............ลำปาง
มืดมิดเมื่องสองยาม..................เงียบแล้ว
ฝนโปรยปลอบนวลนาง............นะแม่
ฟังว่ายังแผ้วด้าน.......................หอบหาย
114. ทันถึงแล้วห้างฉัตร..........เฉิดฉัน
ไฟส่องทางมิวาย......................วุ่นว้า
เหวลึกหุบเหวชัน.....................ชวนหวั่น
คืนค่ำครืนฟ้าร้อง.....................เรียกฝน
115. สายธารดึกดื่นแล้ว..........หลั่งไหล
ทางชุ่มยากจรดล......................ดุ่มดั้น
รถเราค่อยคลาไคล..................ขับเคลื่อน
ลมพัดกระชั้นเข้า.....................ขุ่นใจ
116. ดอยขุนตาลดึกแล้ว..........เลียบมา
ตี่สี่รถครรไล...........................เร่าร้อน
ปีนเขาขลุกขลัครา...................คืนค่ำ
นานเนิ่นนับก้อนล้วน............แต่หิน
117. ขุนตาลตาลค่าล้น..........หลากหลาย
สานหมวกตาลยิพิน...............อยากได้
ทำตอกจักสานขาย.................งามยิ่ง
สานตะเพียนไว้ให้..................พุ่มพวง
118. ขนมตาลรสหากลิ้ม........หวานหอม
ตาลหมักชวนดมดอม...............พี่รู้
มึนเมาดั่งเหล้าชวน.................ชิมเรื่อย
ตาลนิ่มนวลสู้ได้.....................เด็ดดวง
119. ถึงตาลเป็นไม้แต่............มากคุณ
คนเล่างามทั้งปวง...................ค่าเกื้อ
จรรยาค่าคือบุญ......................บอกบ่ง
พึงสั่งสมเอื้อให้......................สุขสม
120. ดอยสูงปีนป่ายได้..........ดังหวัง
เพียรเพ่งภิรมย์ทำ..................ถูกต้อง
กิจหนักพากเพียรยัง...............ลุล่วง
ผลเผล็ดเพราะพร้อมได้..........พากเพียร
121. ถึงเขตแม่ท่าต้อง............ท่าคอย
รถหนึ่งคันลับเจียร..................ต่างแล้ว
ฤๅแวะด่านตรวจพลอย............โดนจับ แลฤๅ
ฤๅตกเหวให้แป้ว.....................ปวดใจ
122. หกโมงจดจ่อจ้อง............ยังคอย
มูลเป็ดเหม็นกระไร..................รุ่มร้อน
แลลับลับแลพลอย..................พิศเพ่ง
ลูกตื่นออดอ้อนว้า..................วุ่นวาย
123. นักเรียนก็ตื่นแล้ว.........ไถ่ถาม
ไยบ่ลองส่งสาย......................สืบเค้า
รอรถย่มาตาม........................ดีกว่า
เห็นเหตุหากเร่าร้อน...............ช่วยสาง
124. คนขับเขาค้อนหาก..........ไปตาม
อาจพลัดเพราะทางมี.................มากเส้น
ควรไปล่วงค่อยถาม..................ถึงก่อน
หากบ่พบค่อยเต้น....................ต่อไป
125. เราไปถึงแม่จี้..................จอดรอ
ถึงด่านถามถึงไว.....................บอกบ้าง
ตำรวจท่านรีบวอ.....................วายวุ่น
หายเงียบชักอ้างว้าง ..................หวาดกลัว
126. รถแลหายจากห้วง...........โลกา แลฤๅ
ถามไถ่ถึงมืดมัว......................หมดสิ้น
ฤๅใครแอบลักพา....................เพียรซ่อน
ฤๅเหล่าโจรปล้นปล้น..............ปลดทอง
127. ลูกหมูเขาตื่นแล้ว...........ส่งเสียง
ปวดฉี่แม่เขาไว......................วิ่งแล้ว
จูงกันสู่ไพรเพียง....................ลมกรด
สองแม่ลูกแจ้วแจ้ว..................แจ่มเสียง
128. นับนานจึ่งค่อยคล้อย......ครรไล
ถึงที่จอมทองเพียง..................เพื่อยั้ง
คอยตรงแม่กลางนัย..............น้ำตก
รถเคลื่อนบ่รั้งแล้ว..................ลิ่วลา
129. สืบสายสว่างแล้ว.......... ส่องสี
ทิวทุ่งเรือกนาสวน..................สุดแล้ง
แผกพันธุ์เหี่ยวเฉามี................มวลมาก
ฤๅเทพพรหมแกล้งให้.............โหดเหลือ
130. เฉาตายเต็มทุ่งกล้า.........ไกลฝน
พริกผักมะเขือสูญ...................สุดสิ้น
ลำไยต่างติดผล......................พูนเพียบ
ดกดื่นยามลิ้มล้วน..................อร่อยเหลือ
131. เรียงรายเต็มท้องที่.........ทุกทาง
สวนป่าลำไยลาน..................หลากต้น
ฝนหดแต่ป่าซาง.....................ทนอด
จำหน่ายหมากไม้พ้น..............อดไป
132. แม่กลางเป็นแปลกแท้......บังเอิญ
รถที่หลงจอดรอ......................อยู่หน้า
เขาคอยอยู่ยังเพลิน..................พรรคพวก
ถึงแต่ตีห้าแล้ว.........................หลอกกัน
133. เรามัวแต่ห่วงรั้ง.............รีรอ
เขาลัดทางมาพลัน..................พรักพร้อม
ยังดีที่เพียงพอ........................แตกตื่น
หาใช่เหตุร้ายล้อม..................รัดรุม
134. พวกเราจอดรถแล้ว........รีบลง
กิจส่วนตัวครูคุม....................เด็กน้อย
นักเรียนต่างตอบตรง...............ตามสั่ง
สักครูเรียบร้อยกล้า................กล่าวชม
135. เสร็จกิจชมน้ำตก.............ตาดผา
เด็กแล่นภิรมย์เริง..................ร่ำร้อง
ลางโลดเล่นธารา..................แหวกว่าย
ลางสระสรงน้องอ้าย.............น่าดู
136. แลธารไหลหลากล้น....หลั่งลง
ตกแต่ตีนผาภู........................แผ่กว้าง
กระแสซ่านเซ็นงง..................งามยิ่ง
สูรย์ส่องแสงสร้างให้..............ดั่งเงิน
137. มัตสยาแหวกว่ายต้าน....ต่อธาร
ชะโดดุกสลาดเพลิน..............โลดพริ้ว
แขยงข่มสลิดลาน..................หลีกหลบ
ปลากัดสีสิ้วส้ม......................แสดแดง
138. พิศไพรมากหมู่ไม้.......มวลมี
โมกม่วงพลวงแพงดู.............เด่นแล้ว
มากมวลหมู่มาลี...................แลหลาก
รวยรื่นหอมแต้วต้าง..............ต่างตา
139. บุษบาบานเบ่งเอื้อง........อรชร
อวบอิ่มชวนสิเนหา..............ห่างเศร้า
เรียมเยือนชั่วยามจร..............จำจาก
จำจากนวลเจ้าเอื้อง...............จักไกล
140. อยากถามเกรงท่านผู้.....กำกับ
สบเนตรปานไฟแรง..............รุ่มร้อน
หากถามแน่หนุบหนับ...........นวลหนีบ
เพียงแม่คุณค้อนให้................หวาดเสียว
141. อำลาหนอเอื้องอ่อน......บังอร
มีโชคดุ่มเดียวตาม..................ต่อแท้
มากมิตรจิตเรียมจร...............จำห่าง
อึดอัดยากแก้น้อง..................ล่ำลา
142. เลยลาลับถิ่นนี้..............จอมทอง
เจ็บจากจอมขวัญตา................ต่างบ้าน
จอมใจแค่เมียงมอง.................หมดมุ่ง
เจ็บจิตจำต้านไหม้..................อกตรม
143. รอนแรมรถแล่นพริ้ว.....เพลินใจ
เด็กเด็กระงมเพลง..................เพราะพริ้ง
เรียมเพียงเพ่งพราวไพร.........แลเลิศ
นาล่มคนทั้งขว้าง..................ขาดฝน
144. มองไปแปลกทุ่งข้อง.....คันนา
เล็กยิ่งคนทำทาง..................ถิ่นนี้
ตรงตรงต่อตามตา...............แตกต่าง
แผนแต่ตรงบ้านนี้...............ใหญ่โต
145. คันนาเล็กใหญ่ต้อง....ต่างกัน
คุณค่ามีอักโข......................กีดกั้ง
ขอบเขตหนึ่งสำคัญ.............คงที่
กักอุทกทั้งสิ้น......................เสกสรร
146. ฝูงชนผิดแผกผู้............รูปทรง
เล็กใหญ่ผิดผิวพรรณ............พิศเพี้ยน
ไตรลักษณ์กลับเกิดคง...........ครบแน่
อนิจจังเสี้ยนส้น..................เสียดใจ
147. ยากดีมีทุกข์ทั้ง...........เศรษฐี
แปรเปลี่ยนเป็นไปตาม........โลกตั้ง
ทุกข์กายหม่นจิตมี...............มิแผก แลนา
อนัตตาตั้งต้อง......................ต่อเป็น
148. กาดหลวงยามผ่านใกล้..กาดมา
มากสิ่งหากเห็นลาน.............หลากแท้
สับสนหมู่คนพา..................กันเที่ยว
จับจ่ายเสียงแจ้วแจ้ว..............แจ่มใส
149. งดงามเตียงตั่งตู้...........โต๊ะมี
งามยิ่งแผกแพรพรรณ..........พับผ้า
ขนมต่างเติมสี.....................เสริมส่ง แลนา
ของสดของค้าไว้..................แข่งขัน
150. คุณหมูเริงร่าร้อง.........ชอบใจ
ชวนชื่นชมเขาสรรค์............ที่สร้าง
งานแกะสลักไฉน................งามยิ่ง
ดังชีพมีช้างม้า.....................เม่นหมี
151. เสือสิงห์ทำท่าจ้อง.......จักโจน
กระต่ายแต่งเติมสี.................เสกได้
ลิงค่างบ่างจักโผน................ผยองเผ่น
เชิงช่างแกะไว้ล้วน..............หลากงาม
152. มากคุณเพราะแต่งไม้..มากมี
คนแต่งรูปนามคุณ...............ค้านั้น
กุศลช่วยขัดสี.......................เสริมส่ง
บุญสั่งสมขั้นต้น...................ต่อเติม
153. ปัญญาประดับได้........เด่นเกิน
วุฒิช่วยเสกเสริม..................สฤษดิ์ได้
สามารถส่งเจริญ..................เร็วยิ่ง
สามสิ่งมีไว้แล้ว..................หลากงาม
154. สันป่าตองแปลกแต้....ตองใด
เขาแต่งตับตามดู..................เด่นแท้
หลังคาตับตองไพร.............แผกอื่น
ฝนรั่งพึงแก้ต้อง..................ตับตอง
155. ริมทางเป็นบ้านอยู่......ชุมกัน
รายรองเมียงมองตรง...........ตื่นเต้น
จำเริญยิ่งเขาสรรค์..............เสริมแต่ง
งามยิ่งตื่นเต้นจ้อง...............ผ่อชม
156. รถราขวักไขว่ผู้.........ผ่านมา
เศรษฐกิจนิยม....................แย่งซื้อ
ทรัพย์สินเปลี่ยนเงินตรา.....เต็มที่
สันป่าตองฮื้อค้า................แข่งขัน
157. สาวป่าตองต่างต้อง...ตรึงใจ
ผิดแผกนวลพิศพรรณ........ผ่องเนื้อ
ตรึงตราพี่สบนัยน์.............นวลนิ่ง
งามแม่งามเกื้อฟ้า..............ฟากดิน
158. เสียดายพบครู่แล้ว...จำลา
รถผ่านถวิลจำ..................จดไว้
สาวเอยผ่านทามา.............เมืองแม่
จำรูปงามได้เจ้า................น่าชม
159. อำลาจากแล้วนุช.....ป่าตอง
ลาก่อนคมขำเคย..............อยากใกล้
เพียงเห็นชั่วยามปอง........เป็นเพื่อน
มาอีกขอให้พ้อง...............พบกัน
160. หางดงดงอยู่ด้าว......แดนใด
มีแต่ตึกลานตา.................อวดสล้าง
นามดงแต่พงไพร............หายาก
ความรุ่งเรืองอ้างเข้า.........ผ่าดง
161. พงไพรเป็นต้นแหล้ง..........ลำธาร
หมดป่าฝนขาดคง.....................เหือดแห้ง
ทุกข์ยากส่ำสัตว์พาน.................พบเคราห์
อดอยากเพราะแล้งแล้ว..............ขาดฝน
162. มลพิษเพราะไม้ป่า..............เปลี่ยนแปร
หมดป่าหมากผลเสีย..................ส่งให้
หมอกควันเพิ่มเป็แพ..................ลอยล่อง
ลอยสู่บนให้ฟ้า..........................ฟ่าฟาง
163. นภากระจกฝ้า..................ฟั่นเฟือน
ไอแดดถูกกักทาง.......................กีดแล้ว
โลกจึงอบไอเหมือน.................ไฟแผด..............เผานา
นานเนิ่นมิแคล้วร้อน.................ล่มสลาย
164. ผลกระทบจากป่าไม้.........มากมี
เราท่านสละกาย.......................จิตพร้อม
เพาะพืชแผ่พันธุ์พลี..................เพาะป่า
เชิญก่อกิจน้อมไท้....................สักการ
165. อุดมดินเพราะป่าชื้น.......ชุ่มเย็น
ชลหลั่งหากธารสรรค์..............เสกสร้าง
เกษตรบ่ลำเค็ญ........................ควรยิ่ง
คุณค่ากว่ากว้างล้น..................เลิศหลาย
166. สามัคคีปลูกไว้..............ว่าควร
อนุชนจักสบาย.......................ภาคหน้า
ทุกไทยชุ่มเย็นชวน..................ชมชื่น
ชนชื่นชมล้ำฟ้า.......................เพริศพิไล
167. อำลาเพียงผ่านพ้น.........หางดง
แรมเรื่อยรถคลาไคล...............เคลื่อนคล้อย
ยามสายแดดจัดจง...................จดจ่อ
เชียงใหม่หมูน้อยร้อง..............ร่ำหา
168. มาถึงเชียงใหม่มื้อ..........มงคล
แตกตื่นตรึงตราทรวง...............สร้างเศร้า
ชมเมืองงดงามกล...................เมืองเทพ แลนา
สง่าทุกด้านเต้า.......................ต่อชม
169. พัฒนาตึกบ้านช่อง.........ชำเลือง
งามสัมยชนนิยม.....................ยิ่งล้น
กลมกลืนเก่าประเทือง..............ทุกที่
งามยิ่งงามพ้นถ้อย...................ถั่งชม
170 วัดวาอาวาสตั้ง.................ติดทาง
งามดั่งองค์อินทร์แปลง..............ปลูกให้
งามโบสถ์พิจิตรพลาง...............เพลินเพ่ง
พระธาตุเสกสร้างไว้................ว่างาม
171. เจดีย์สูงเสียดฟ้า...............เฟื่องฟู
ไตรรัตน์รังสรรค์สาม...............ภพแก้ว
ชาวเมืองช่วยเชิดชู....................ควรชื่น ชมแฮ
จิตแจ่มผองแผ้วอ้าง...................อาบธรรม
172. แลถนนตัดต่อเต้า..............ตรึงตา
ขวักไขว่รถตามทาง...................เรียบร้อย
คูคลองเลียบมรรคา...................ยังอยู่
ชลสะอาดพ้นถ้อย.....................จักชม
173. คูเมืองเดิมแต่ครั้ง..............ก่อนกาล
เคียงคู่กำแพงสม........................เทพสร้าง
ปวงปราชญ์กล่าวตำนาน.........นับเนิ่น
เจียงใหม่เมืองนี้อ้าง.................เอ่ยคำ
174. แถลงปางพระเจ้าแป่ง......กุมกาม
นามท่านเม็งรายจำ..................จดอ้าง
ประพาสป่าติดตาม..................มิคไล่
พักที่เขาอ้อยช้าง......................ชุมใจ
175. พักดอยสุเทพยั้ง..............สามวัน
คืนหนึ่งหากฝันไป..................แปลกแท้
มีเทพท่านทักทาย....................จำแน่
ภูมิสถานแม้นี้..........................ยิ่งยง
176. บ้านแทนนามหนึ่งนั้น....มีนัย
จักรุ่งดังเพชรพลอย..................เพริศแพร้ว
ใครครองจักเกรียงไกร..............เกินยิ่ง
ควรจักแปลงแล้วสร้าง..............เสกเมือง
177. เม็งรายจอมราชรู้..............เล็งญาณ
ควรที่จักประเทือง....................เกียรติก้อง
แปลงเมืองคู่ควรการ.................กิจใหญ่
ทุกฝ่ายเห็นพ้องด้วย.................จึ่งดี
178. กาลนานธจึ่งได้..............เสด็จมา
ยังที่เดิมพบมี...........................นิมิตแก้ว
สองฟานแม่ลูกครา..................ครองถิ่น
วนแหล่งหลบแล้วได้..............ชุมเย็น
179. ยามเสอสุนัขต้อน..........ติดตาม
สองแม่ลูกกลบเป็น................กลุ่มหญ้า
ศัตรูกลับถึงยาม.....................ยอมพ่าย
หวาดหวั่นมิกล้าต้อง..............ต่อมัน
180. ทรงเห็นเป็นเรื่องล้ำ.....มงคล
เราจักแปลงเมืองกัน..............เสกสร้าง
สองฟานแม่ลูกตน................ประเสริฐ
โปรดจับไปอ้างเลี้ยง..............จึ่งดี
181. เวียงฟานเหนือน้ำหยวก..ยังเฮือง
ยอดยิ่งมงคลศรี......................โลกรู้
เจ็ดอันส่งเสริมเรือง...............รัฐรุ่ง
กวางเผือกแผกผู้ได้................พักพิง
182. ลุศกหกห้าสี่.................ศักราช
จุลศกอุดมจริง.......................แน่แล้ว
ทรงเกณฑ์ไพร่พลมาด..........หมายมุ่ง
มาเสกเมืองแก้วให้................ฮุ่งงาม
183 จึงเชิญพระร่วงเจ้า..........สุโขทัย
พระยาพะเยาสาม..................เพื่อนแก้ว
งำเมืองชื่อมีไม-.....................ตรีจิต
เชิญปรึกษาแล้วล้วน..............ฉลาดกล
184. สองสหายเห็นพ้องต่าง..ตรองเติม
ชอบช่วยสหายตน...................เสร็จได้
รีบรุดเร่งเสกเสริม...................แสวงค่า
สองเพื่อนบอกให้รู้................เรื่องงาม
185. เล็งสถานที่ตั้ง...............แปลงเมือง
งามยิ่งมงคลสาม..................โลกรู้
เจ็ดอันมิ่งมงคล.....................เสริมส่ง
งามยิ่งทุกผู้ให้.......................เสกสรร
186. นับฟานแม่ลูกนั้น.........เนาว์นอน
หลบหลีกภียพาลพลัน............ยับยั้ง
มงคลล่วงลบดอน...................แดนอื่น
มุสิกขาวนั้นแจ้ง.....................อีกประการ
187. มงคลอีกหนึ่งนั้น............น้ำตก
ไหลหลั่งจากดอยธาร..............คดเคี้ยว
ราวกอดรอบเมืองยก..............ยออยู่
แดนอื่นมิสู้เสี้ยว....................หนึ่งเลย
188. เม็งรายจอมราชรู้.............เรื่องราว
ปิติมิอาจเผย...........................เปี่ยมล้น
แปลงเมืองไหม่ถึงคราว...........รีบเร่ง
ปราสาทง้ามพ้นล้วน.................เลิศแล
189. วัดวาอาวาสตั้ง..................ต่องาม
คูค่ายเพียงเทพสรรค์..................เสกให้
กำแพงก่อแกร่งตาม...................ตีต่อ ยากเฮย
นับสี่เดือนได้สิ้น.......................เสร็จเมือง
190. นพบุรีศรีสง่าตั้ง...............เติมนาม
เจียงใหม่เวียงพิค์เฮือง...............อยู่ยั้ง
เม็งรายพ่อหลวงยาม..................ทรงราช
นับแต่คราตั้งนั้น........................นับนาน
191. ปีวันผันเปลี่ยนแล้ว...........ล่วงไป
ยังอยู่เวียงวังปาน........................ล่มฟ้า
งดง่มยิ่งเจริญไว........................เวียงราช
ไทเทศมุ่งหน้าจ้อง.....................จ่อชม
192. พอดีรถแล้นเขา............... มอชอ
อุดมศึกษาเตือน........................แต่ตั้ง
มากมวลหนุ่มนวลขอ..............เพียรเพ่ง
เรียนร่ำรอบรู้รั้ง......................ปริญญา
193. งดงามชวนชื่นแท้...........ทุกภาย
งามพุ่มพฤกษ์มวลมี...............มากล้น
ตัดทางท่องหลากหลาย..........ลองเที่ยว
ตึกเด่นแลตั้งต้น.....................แต่ใด
194. รถจอดตรงตึกค้า...........ของกิน
ครูสั่งใครหอดหิว..................แต่เช้า
อาหารสั่งสงวนสิน...............กันหน่อย
ถูกยิ่งสูเจ้าแล้ว......................รีบมา
195. เสร็จสรรพต่อนี้ป่าย.....ชมดอย
รถเล็กจักพาไป......................อย่าช้า
สามโมงครึ่งจักคอย...............ควรรีบ แลนา
เสร็จปล่อยหายล้าแล้ว...........รุกรน
196. สาวเล็กเด็กหนุ่มเหน้า..นานา
ยลแย่งทานกันจน..................เรียบร้อย
สักครู่กลับคืนมา....................เมียงม่าย
ครูว่าหนูน้อยน้อง..................นั่งรอ
197. ราชันติดต่อจ้าง.............สองแถว
สุทธิว่าแพงพอ........................จ่ายได้
เสถียรถูกสาวแซว...................ใจอ่อน
เขาสั่งสาวให้ขึ้น.....................ค่าแพง
198. ลดาวัลย์จ้องจัก...............จ่ายเงิน
คันหนึ่งสามใบแดง..................ดั่งนั้น
แปดคันมิขาดเกิน....................นวลจ่าย
เห็นบ่นนวลกลั้นแล้ว...............จ่ายไป
199. สองแถวพาวิ่งขึ้น............เขาสูง
ดอยสุเทพจักไป......................บอกแล้ว
รถแล่นผ่านยางยูง...................ยังยอด ดอยแฮ
ชันยิ่งแม่แก้วนั้น.....................นึกถึง
200. พิศเพลินสองขอข้าง........เขาเขิน
ทางคดวกวนตรึง....................ตื่นเต้น
เหวลึกล่วงลงชิญ...................สวรรค์แน่
ยังหวั่นยากเว้นได้..................กัดฟัน
นิราศเมืองเหนือ 3
--------------
200. พิศเพลินสองขอข้าง........เขาเขิน
ทางคดวกวนตรึง....................ตื่นเต้น
เหวลึกล่วงลงชิญ...................สวรรค์แน่
ยังหวั่นยากเว้นได้..................กัดฟัน
201. พิศไพรพราวเพริศพริ้ง...พรหมสรรค์
แผกไผ่มากมองมี...................ไผ่สิ้น
ยูงยางยิ่งแผกพรรณ................ผิดพวก
ยากยิ่งต่อลิ้นร้อย......................กล่าวชม
202. มาลีแลหลากล้วน...........งดงาม
หอมกลิ่นพึงภิรมย์..................รื่นเร้า
ภุมรินทร์ต่างตอมตาม..............ติดต่อ
เชยชื่นลางเคล้าลิ้ม..................รสสุคนธ์
203. แลหินเห็นหากตั้ง..........ติดตา
ปมปุ่มมากมายจน...................จักอ้าง
ยายยังทั่วพนา.........................นอนนิ่ง
งามดั่งเทพสร้างล้วน...............เหมาะสม
204. นับนานปีนป่ายขึ้น........ขุนเขา
มัวมืดเมฆหมอกชม................ค่ำแล้ว
เยือกเย็นยิ่งสั่นเทา...................หนาวยิ่ง
เด็กบ่นกันแจ้วเจื้อย..................เหน็บระบม
205. แลหาสัตว์ป่านั้น..............อยู่ไหน
หมู่เม่นมีอยากชม...................ชื่นชี้
เสือสิงห์กระทิงไพร.................เชิญหน่อย
เห็นแต่นกกี้ร้อง......................ส่งเสียง
206. เสียดายลืมหยิบเสื้อ........ทรงหนา
มิคาดหนาวเหน็บเพียง............ดั่งนี้
หนาวกายนั่นเย็นมา................นิดหน่อย
หนาวจิตจักลี้ได้......................หลบหนาว
207. ทันถึงรถจอดแล้ว...........ลงไป
หลากจิตมากมวลสาว..............ผ่องหน้า
ชุมนุมกิจอันใด........................หนอนี่
ขวักไขว่เขาค้าร้อง...................เรียกขาย
208. ภูภิงค์นิเวศน์ตั้ง..............เติมงาม
สง่าบนภูพราย........................เพริศแพร้ว
เวียงวังล่มโลกสาม...................สวยยิ่ง
วังดั่งวังแก้วเก้า..........................ก่องงาม
209. คุณหมูจูงแม่ร้อน............รุกรน
รีบเริ่งสุขาถาม.........................ที่ตั้ง
หายากจักราดจน................... เจ็บจิต
คนมากแล้วยั้งแล้ว ................. อยู่รอ
210. เสร็จชวนกันทั้งแม่..........แลหมู
งามยิ่งนวลลอออ.....................เอ่ยอ้าง
มาชมสิ่งสรรพ์ดู.......................ดาดาษ
อุทยานสล้างล้วน....................เทพสรรค์
211. วิจิตรบุปผชาติชั้น...........อลังการ
กุหลาบแลหลากพันธุ์..............แผกพ้อง
แดงเหลืองม่วงเบ่งบาน.............ชวนชื่น
แมงไต่ตอมจ้องล้วน.................จักชม
212. นักเรียนเริงร่าร้อง..........เริงใจ
ถ่ายรูปกันขำคม......................นิ่มเนื้อ
ลิงโลดแล่นเลาะไป..................เลียบเล่น แลนา
รอยท่าเทพเอื้อสร้าง.................สุดงาม
213. ยะเยือกอากาศชื้น...........ชุ่มเย็น
เมฆต่ำลอยตามลม...................สะท้าน
ฝ่าฝนชุ่มหนาวเป็น.................ปานเหน็บ
สองแม่ลูกต้านไว้....................ต่อหนาว
214. มินานอาพาธิต้อง...........ติดนวล
หอบหืดจับถึงคราว..................ครั่นคร้าม
รุกรนเร่งรีบชวน......................เชิญกลับ
รออยู่รถห้ามเจ้า......................อย่ากลัว
215. จัดยาเสร็จสรรพให้.........หนึ่งชุด
หืดหอบประจำตัว....................แต่เค้า
มินานค่อยคลายหยุด................สดชืน
พักผ่อนเถิดเจ้าแล้ว...................จึ่งจร
216. ประตูวังเที่ยงแล้ว.............ปิดลง
จำจากชวนบังอร.......................อ่อนน้อย
คราหลังหากจิตจง...................จักเที่ยว
มาใหม่เถิดสร้อยแก้ว...............อย่าตรม
217. บารมีพระผู้ผ่าน.............แผ่นไผท
เกิดก่อภูพิงค์พรหม..................ท่านสร้าง
พิจิตรเพริศพิไล.......................เล็งเลิศ
งามสง่าอ้างไว้.........................ว่างาม
218. ขอวอนทุกเทพไท้..........แมนพิมาน
จตุรพรตาม.............................อยู่ยั้ง
ถวายแด่พระภูบาล...................บพิตร
ชนม์ยิ่งยืนตั้งร้อย....................ร่วมพัน
219. วรรณาพึงผ่องเพี้ยง........ศศิธร
ห่างทุกข์ประสบสันติ์.............สร่างเศร้า
พลเพียบยิ่งเพราะพร...............กายจิต
อริราชเข้าใกล้.........................เข็ดขาม
220. ขาลงรถล่าเข้า................เขตเขา
ดอยสุเทพอาราม.....................ดั่งแก้ว
จอดรถพักหนึ่งเรา....................เริงร่า
ถามไถ่ดูแล้วได้.......................เรื่องยก
221. เขานามอ้อยช้างชื่อ.............เดิมมี
ปีหนึ่งเก้าสองหก....................สืบได้
กือนาก่อเจดีย์..........................พระธาตุ
พระธาตุจุไว้อ้าง......................ที่มา
222. สุมนะเถรเจ้า..................จอมสงฆ์
จากสุโขทัยครา........................เมื่อนั้น
จาริกแผ่ธรรมคง......................มาดมั่น
ฝากพระธาตุชั้นให้..................สักการ
223. กือนาทรงราชเจ้า............ศรัทธา
อวยก่อมณฑปปาน...................ดั่งแก้ว
งามดอยสุเทพตรา.....................ตรึงจิต
ชนชื่นบุญแล้วล้วน..................หลั่งชม
224. เจดีย์สูงว่าห้า..................นับวา
เสร็จสรรพพระภิรมณ์............รื่นเร้า
งานฉลองเหล่าประชา.............ชมชื่น
เดือนหกเพ็ญเต้าตั้ง.................ต่อเฉลิม
225. นานมาตกแต่งบ้าง............บางสมัย
สิบเอ็ดวาสูงเสริม.....................สืบสร้าง
พระเมืองเกศเสด็จไป...............อวยช่าง
ตกแต่งเติมด้างไว้.....................สืบมา
226. สบสองพันหนึ่งร้อย............นับปี
พระมหาเถรครา......................เมื่อนั้น
ชวนก่อกระไดมี.......................มากค่า
หนุ่งเจ็ดสามขั้นได้..................นับดู
227. สองสี่เจ็ดแปดครั้ง............กาวิละ
ทรงโปรดยกฉัตรชู..................เชิดไว้
รายรอบเหล็กปักพระ..............ทำเสร็จ
มากศรัทธาเกื้อให้....................ศาสนา
228. สองสี่เจ็ดแปดนั้น............นับกาล
ศรีวิชัยครูบา............................สืบสร้าง
ถนนสู่ดอยปาน.......................เทวโลก
เสร็จสรรพควรอ้างไว้..............เลิศคุณ
229. ปัจจุบันนี้นั้น..................พัฒนา
รัฐลาดยางสนับสนุน................ก่อเกื้อ
งามวัดราษฎร์ศรัทธา...............เติมแต่ง
โบสถ์วิหารเอื้อถ้วน.................ทาบทอง
230. รถรางเข็นช่วยขึ้น............คุงดอย
ลวดจ่องจูงมองไป...................แปลกแท้
สองรางคู่กันคอย......................รับส่ง
ลงหนึ่งอีกแก้ขึ้น......................กลับกัน
231. สิบคนเศษขึ้นรถ.............ครรไล
เซ็งแซ่เด็กสุขสันติ์...................แซ่ซร้อง
บางคนตื่นตกใจ......................แตกต่าง
สักครู่ถึงล้วนจ้อง.....................จักลง
232. ยอดดอยงามหลากล้วน...แลงาม
งามโบสถ์วิหารจง...................จิตสร้าง
ศรีสง่าดังอาราม......................เทพส่ง มานา
นามสุเทพอ้างไว้.....................ว่าควร
233. พระประธานลักษณ์ล้ำ....เลิศงาม
สองแม่ลูกชวนกัน...................กราบไหว้
บนบานต่างคนตาม.................แตกต่าง
คุณแม่ว่าให้ข้า........................หอบหาย
234. คุณหมูวอนอยากได้.......ตุ๊กตา
อีกชุดงามลวกลาย..................หลากล้วน
ของหวานก็อยากหา................หลวงปู่
อีกอื่นมิถ้วนแล้ว.....................หากวอน
235. นักเรียนวอนอยากให้....หายโศก
อยากชื่นดังจันทร....................จิตแจ้ง
ทุกข์ภัยหากไกลโรค...............รุมเบียด แลนา
เคราะห์สร่างโศกแสร้งสิ้น.......เสียดใจ
236. กราบพระเสร็จเรียบร้อย..ลองชม
แลโบสถ์เรียงรายไป................แปลกแท้
ระฆังมากนิยม.........................เคาะเล่น กันแฮ
หลายสิบใบแส้ต้อง...................ต่างดัง
237. ระฆังเคาะจึ่งได้...............จำเรียง
เหง่งหง่างเองระวัง...................ว่าไว้
กลีท่านเทียบเพียง....................พัสดุ
คนที่ดังได้ด้วย.........................อวดตน
238. คุณหมูเพลินต่อยต้อง......ตีดัง
มันคร่ำครวญดุจคน.................ร่ำร้อง
ลางใบส่งเสียงดัง......................ดูแปลก
เสียงดั่งสาวน้องไห้..................ร่ำหา
239. ลานโบสถ์มวลนกกล้า....เก่งเกิน
กินถั่วเสาะภักษา.....................อยู่ใกล้
โบยบินรอบคนเพลิน..............ขอถั่ว
โปรยอีกกินแล้วได้..................เบิกบาน
240. ยืนมองทางต่ำใต้............งามงง
เจียงใหม่เกินตระการ...............กว่ากว้าง
รถราวิ่งเป็นวง.........................เวียนรอบ
ตึกเด่นงามสร้างล้วน...............เรียบงาม
241. ฤๅเรายืนอยู่เบื้อง............บนสวรรค์
แลลุ่มโลกเวียงฮาม.................เพริศแพร้ว
มวลเมฆต่ำหลากพรรณ............ยามเพ่ง มองแฮ
ฟังวิหคแจ้วแจ้ว.......................จับใจ
242. เพลินจริงจนบ่ายคล้าย...ไคลคลา
ทำบุญเชิญหยิบไป...................จักเต้า
ทางจรรีบอำลา........................ลงเที่ยว
เชิญกราบพระแล้วเจ้า..............จึ่งจร
243. ขาลงรถแล่นพริ้ว............จากดอย
ไวสุดเสียวสมร.......................สะท้าน
หวาดหวั่นตกเหวคอย..............เกร็งช่วย
สักครูถึงต้านได้.......................บ่กลัว
244. รถใหญ่รออยู่พร้อม.......พอดี
ครันครบนับตัวตน.................ใหญ่น้อย
ออกรถเร่งจรลี.........................เริงร่า
อาทิตย์ค่อยคล้อยคล้าย............บ่ายลง
245. ผ่านเมืองเจียงใหม่แล้ว...เลยไป
กฤษฎาดอยประสงค์................สืบเค้า
เขาลือว่าวิไล...........................เลอเลิศ
รถวิ่งถึงแล้วจ้า.........................จอดคอย
246. ตะลึงงามยิ่งล้ำ...............ช่างงาม
รีสอร์ทกฤษฎาดอย.................ที่อ้าง
เขาเขินฉากหลังตาม................ติดต่อ
มากสิ่งปลูสร้างโอ้...................อวดงาม
247. ทวารบาลบอกให้............เหิงคอย
ติดต่อขอชมตาม......................ค่าตั้ง
สิบบาทต่อเด็กดอย..................ดูยาก
เหมาะหมดเจ็ร้อยยั้ง................ขาดตัว
248. ตกลงตามที่ด้าน.............ต่อรอง
รีบปล่อยเด็กมิมัว....................เนิ่นช้า
คุณครูสั่งจับจอง.......................แถวก่อน
เสร็จสั่งแถวหน้าให้.................ออกเดิน
249. คุณหมูคุณแม่ด้วย............ดูสวน
งามพุ่มผกาเพลิน.....................ยิ่งแล้ว
หลากสีแผกพรรณชวน............ชอบชื่น เชยแฮ
ตกแต่งดังแก้วเก้า.....................เกจมณี
250. คุณหมูชอบน้ำตก............ตาดผา
เซ็นซ่ายสายนที.......................หลั่งล้น
มากมีมัตสยา..........................แสวงเหยื่อ
บานเบ่งบัวพ้นน้ำ....................กลีบบาน
251. โรงเรือนออกแบบไว้.......แปลกดี
ชมเล่นเย็นใจยาม....................เพื่อนพร้อม
ราชันหลบนารี........................ลงเล่น
ลงแช่ธารน้ำอ้อม.....................แอ่งหิน
252. เสียงเชิญชวนขี่ช้าง.........ชมไพร
คุณแม่ยามยินยัง......................ย่างย้าย
เห็นเดินลิ่วคงไป.....................ลองขี่
ถึงหยุดยืนคล้ายคล้าย..............จักกลัว
253. พวกเด็กไปนั่งร้าน.........อาหาร
ทาน่มกลับตามัว......................มืดหน้า
หกสิบบาทต่อจาน...................เจ็บปวด
เขาบ่นแพงหล้าน้อย................ปวดใจ
254. ชมเพลินจนบ่ายคล้อย....คืนมา
เชียงใหม่หมายพักไป..............จอดยั้ง
เขาแสวงวัดหลวงตา................ตอนค่ำ
พบท่านท่านรั้งให้..................พักกัน
255. ศาลาหลังหนึ่งให้..........พักนอน
ฟูกเสื่อหมอนแพรพรม...........เพียบพร้อม
แถยูงอีกฝูงตอน.......................ตกดึก
ตบเล่นน้อมไหว้แล้ว...............รับคำ
256. มากมีนักเที่ยวล้น............ลานวัด
เจ็ดกลุ่มรวมพวกเรา.................เรียบร้อย
สุขาช่างแออัด..........................ออแน่น
ถึงทุ่มตัวน้อยน้อย....................เงียบสรรพ์
257. เสถียรชวนเพื่อนพ้อง.....พาไป
เป็ดย่างหมูหันมี.......................อร่อยลิ้น
ตลาดกลางช่างกระไร..............รถแน่น
ทานอิ่มทั้งสิ้นร้อง...................ว่าแพง
258. เสร็จกินเชิญแยกย้าย......เยือนชม
คลาดค่ำคนแสวง.....................เสาะซื้อ
ฝูงชนต่างภิรมย์......................เริงรื่น
หนุ่มหล่อสาวอ้อนหื้อ.............ฝากขวัญ
259. งดงามสินท้องถิ่น..........ทำขาย
หัตถกรรมงามสรรพ์...............พวกผ้า
โถงามเครื่องเขินลาย..............แลเลิศ
แขกฝรั่งโผล่หน้าจ้อง...............สิ่งของ
260. กาญจนาหนึ่งน้อง.........นักเรียน
ฝรั่งทักเธอมอง........................อยากรู้
เขาถามแม่กลับเวียน...............แอบหลบ
บอกบ่ทราบสู้ใบ้.....................บ่ถาม
261. มาจากเลยแน่ค้า............วังสะพุง
คือที่ศรีสงคราม.......................ฝรั่งไฮ้
สกูลออฟอาร์ทยุง.....................ยังทราบ
ขอจับมือได้น้อง.......................ชอบใจ
262. หมูมองลายผ้าผ่อน.........พึงใจ
หลากรูปทองอุไร.....................แล่งริ้ว
คนขายเด่งดังดาว.....................ละอ่อน
ยามแม่โยกย้ายพริ้ว..................อ่อนไหว
263. ถามราคาร้องว่า.............หมื่นสาม
ขนลุกอะไรหนา.....................นิ่มน้อง
แพรพรรณบ่ค่อยงาม...............แพงค่า
ละอ่อนล่ะเจ้าต้อง.....................ค่าหลาย
264. เดินชมเหน็ดเหนื่อยแล้ว...กลับกัน
มาวัดสระสรงกัน.....................สระล้าง
ชำระคราบไคลพลัน.................สดชื่น
เตรียมจักนอนห้องกว้าง...........กว่าเหลือ
265. ยุงชุมเสียยิ่งแท้................ตอมบิน
เขาตบตายเป็นเบือ....................บ่ยั้น
มากมายแห่มายิน....................หึ่งหึ่ง
ยากจักกางกั้นมุ้ง......................กีดยุง
266. รอยบุญมีอยู่บ้าง.............บังเอิญ
สักครู่พบหลวงลุง....................ท่านรู้
มันชุมอย่ามัวเพลิน.................พัดไล่.โยมเอย
เอานี่กางสู้มุ้ง..........................หยิบเอา
267. ปรีดามีมุ้งม่าน................กันยุง
ยังบ่หลับเด็กเขา.......................ครึกครื้น
คุยกันลั่นคงคุง.........................ขอบโลก
ลางบ่นสะอื้นไห้....................หู่ใจ
268. ยากันยุงกลิ่นฟุ้ง.............โชยมา
เป็นเรื่องหอบหืดไว.................อ่อนอ้อน
หากหอบเล่นงานครา..............คืนค่ำ
คงยุ่งเดือดร้อนแท้....................พ่อคุณ
269. มันฉุนคงยากห้าม..........เห็นใจ
ยุงยุ่งอบควันรุน......................หลบลี้
พอทนปลอดพิษภัย................ยุงหลบ
คนหืดยากชี้พ้น.......................กลิ่นยา
270. แลหาที่หลบเร้น.............ฤทธิ์ควัน
ยามกลิ่นโชยมามี....................มากล้น
หอบหืดจิบหลบกัน................ที่อื่น แลนา
สังเกตแต่ต้นแล้ว....................เรื่องราว
271. ติดกันมีหนึ่งห้อง..........รกดี
หากยุ่งจำเป็นคราว..................เดือดร้อน
หืดจับจักจรลี..........................หลบหลีก
บอกแม่อ้อนแล้ว.....................หลับสบาย
272. บุญมีจนรุ่งเช้า................สบายใจ
หอบบ่มาเยี่ยมกราย................พักยั้ง
ปลุกกันตื่นเร็วไว....................วายวุ่น
ชวนเที่ยวอีกครั้งซื้อ................สิ่งของ
273. คุณหมู่คุณแม่ด้วย...........ดุ่มเดิน
ไปตลาดคอยมองเมียง.............หมากไม้
มากมีแต่เหลือเกิน....................แพงยิ่ง
ยากยิ่งยากซื้อได้......................แต่ดู
274. อาหารยามเมื่อเช้า..........เสร็จสรรพ์
สายหน่อยชวนโฉมตรู............แต่งพร้อม
ลูกสาวนั่งพร้อมพลัน..............ผองเพื่อน
ไปที่บ่สร้างอ้อม......................อีกครา
275. สันกำแพงแบ่งกั้น..........สองทาง
สองฝ่ายยากจักหา...................ห่อนใกล้
กำแพงรักพรากนาง................ไกลพี่
รักห่างเหินไห้ไห้....................ห่างหา
276. ถึงตลาดบ่อสร้าง.............สองโมง
ทำร่มกันมากมาย....................ยิ่งล้น
ดูดีก่อติดโครง.........................ขึงอยู่
กันแดดฝนพ้นได้....................ร่มบัง
277. ร่มธรรมเย็นยิ่งล้ำ..........ร่มใด
เย็นจิตนิราทร..........................ห่างเศร้า
โลภโกรธห่างหลงไหล...........ราครุ่ม
กิเลสรุมเร้าสิ้น........................เพราะธรรม
278. ชาวเวียงเขาสืสร้าง.........ร่มเงา
คนอื่นอาจจักทำ......................ร่มไว้
นิพพานร่มบางเบา...................กิเลส
ตัดขาดหมดได้สิ้น...................สบสันติ์
279. เขาทำกระดาษได้............ดูดี
ทุบเปลือกปอสากัน.................ต่อต้ม
นับนานเปื่อยเจือสี..................แลหลาก
เทใส่น้ำก้มล้วง........................ตักเอา
280. ตะแกรงติดแผ่นมุ้ง.........บางบาง
ตักเยื่อกระดาษเขา..................ฉลาดไซร้
แดดออกผี่งแดดวาง.................วนรอบ
แกะออกมาได้แล้ว..................กระดาษาสา
281. แวะชมจนถ้วนทั่ว..........ทุกทาง
จำจากยังอีกไกล......................เคลื่อนคล้อย
ออกรถแล่นเร็วพลาง...............พิศเพ่ง
ทุกที่เมืองร้อยถ้อย..................ช่างงาม
282. มาถึงน้ำพุรอ้น...............สันกำแพง
บัตรผ่านสิบบาทตาม...............แต่นี้
เขาคุยว่างามแคลง...................ใจอยู่
ใยเก็บเงินชี้คล้าย.....................เช่นหวง
283. ลดาวัลย์ร่ำร้อง...............ต่อรอง
เขาลดเชิญพุ่มพวง..................หกร้อย
คณะเราเร่งรีบจอง...................จักเที่ยว
คุณแม่จูงน้องน้อย...................ออกเดิน
284. นักเรียนกรูวิ่งอ้าว...........ออกัน
สาวส่งเสียงสนุกเกิน..............ว่าไว้
สวยสวนดั่งสวรรค์..................สวยยิ่ง
บานเล่งดอกไม้ต้อง.................ติดใจ
285. แผกพรรณพฤกษชาติชั้น.ชวนชม
แดงเด่งเหลืองวิไล...................ทั่วคุ้ง
ชมพูม่วงนิยม.........................ยามเยี่ยม
บานชื่นหอมฟุ้งต้น..................ต่างกัน
286. คุณหมูจูงแม่เลี้ยว............เลาะไป
กระท่อมเล็กสำคัญ..................แปลกแท้
เชิญอาบอุนอบไอ...................ไออุ่น
คุณแม่ภูมิแพ้เจ้า......................อยากลอง
287. ยืนคอยดูน้ำพุ.................เดือดดี
วางไขเขาทดลอง....................บ่ช้า
เวลาเจ็ดนาที............................สุกแน่
ปอกเปลือกกินจ้าได้................สุกจริง
288. นับนานมิเสร็จอ้าง..........อบไอ
เวียนแวะถามเวาว์หญิง............อยูห้อง
สวยสวยน่าสนใจ....................อวบอิ่ม
คำเล่านวลน้องน้อย................น่าฟัง
289. อบไอมีให้พี่..................บริการ
อาบยี่สิบเองยัง.......................ร่วมใช้
หลายคนอาบสราญ.................สนุกพี่
แพงกว่านั้นได้ใช้....................แบบสรรค์
290. มีสาวอาบให้หาก...........ประสงค์
แยกที่อาบแผกกัน...................ต่างห้อง
อาบสองต่อสองคง...................ดีแน่ นาพี่
อาบอบนวดน้องน้อย..............จัดการ
191. ชอบใจโชคมิได้..............ดีเลย
คุณแม่อาบเสร็จพาล................อดแล้ว
เสียดายบอกทรามเชย..............ลาแม่
มาใหม่บแคล้วต้อง..................อาบดู
192. ไปชมยอดยิ่งน้ำ..............พุไหล
พวยพุ่งออกจากรู....................พุ่งฟ้า
ละอองเดือดอุ่นไอ...................ดูแปลก
เดือดพล่านดังต้มหล้า.............เดือดดิน
193. สมควรลาน้ำพุ..............สันกำแพง
มีต่อลำพูนยิน.........................ป่าวร้อง
ลำไยมากมายแคลง.................ใจยิ่ง
อยากทราบจำต้องตั้ง...............ต่อใจ
294. ลำพูนพูนเพียบพร้อม....นานา
มากยิ่งลำไยดู..........................ดกย้อย
ขายกันเฟื่องฟูครา..................เยือนเยี่ยม
เรืองรุ่งบน้อยแล้ว...................ชืนชม
295. แลวัดพระธาตุตั้ง...........สง่างาม
แลอร่ามดังทองทา..................ทาบไว้
ยังงงจึ่งสอบถาม....................เขาเล่า
ฟังว่าทองได้หุ้ม......................เสกสรร
296. ตำนานอาทิตย์เจ้า..........ราชา
พระผ่านลำพูนพลัน...............จักสร้าง
เวียงวังหนึ่งหลังครา...............ครวญใคร่
รับสั่งพลอ้างให้......................จัดการ
297. เลือกสรรงามที่พร้อม.....ทรงเสริม
อีกหนึ่งจัณฑาคาร...................คู่ด้วย
เสร็จกิจจัดเฉลิม......................ฉลองใหญ่
ปราสาทอินทร์ฉ้วยสร้าง.........เสร็จสม
298. สืบมาอาเพทต้อง...........หนักใจ
ยามเสด็จปล่อยอาจม..............จึ่งแจ้ง
อีกาหนึ่งตัวไว........................บินว่อน
โฉบฉี่ราดขี้แกล้ง....................รดหัว
299. ทรงวานพลไพร่จ้อง......จับกา
กรงใส่ขังมันตัว.......................ต่ำต้อย
แปลกจริงใช่ธรรมดา................กาเด่น
ปราชญ์ส่งเด็กน้อยน้อย............คู่กา
300. ขังรวมจับคู่ไว้................มินาน
สองจักคุยวาจา........................ต่างรู้
ราชาสั่งจัดการ.........................ตามกล่าว
เพียงเจ็ดวันผู้รู้.........................กล่าวขาน
นิราศเมืองหนือ หน้าที่ 4
----------------

301. ฟังคำเด็กกล่าวอ้าง..........เดิมที
กาเล่าบิดาวาน........................อยู่เฝ้า
องค์พระธาตุฝังมี....................ยังอยู่
ปราสาทครอบเข้าแล้ว.............จึ่งเตือน
302. ราชาจึงปล่อยเจ้า............กาไป
กากลับคืนยังเรือน..................อยู่โพ้น
หิมวันต์ปู่กาวัย........................แก่เฒ่า
กาเผือกจากโน้นเฝ้า...............ราชัน
303. กาเผือกสอนสั่งเจ้า.........จอมธรรม
ยึดมั่นศีลปัญญา......................ผ่องแผ้ว
สุจริตก่อกรรม.........................ควรค่า
ทรงเลื่อมใสแกล้วกล้า..............ก่อบุญ
304. จัดพวกพลไพร่รื้อ...........อาคาร
ขุดที่มิเป็นคุณ..........................ออกทิ้ง
ถมดินใหม่เสร็จการ................ดีแน่
จัดธูปเทียนหิ้งตั้ง.....................กราบขมา
305.ผูงชนทราบข่าวแล้ว.........หลั่งไหล
มากยิ่งของสักการ์...................ท่วมท้น
เจ็ดวันร่วมจิตใจ......................จดจ่อ
พระธาตุแปลกล้นพ้น..............โผล่มา
306. อาทิตย์ราชเจ้า.................แปลกใจ
โปรดก่อเจดีย์ใส......................ส่องฟ้า
สามวาส่วนสูงยัน.....................ยลชื่น
อีกสี่มุมกล้าอ้าง......................เอ่ยชม
307. ผอบทองศอกหนึ่งตั้ง.....ต่อสูง
เก็บพระธาตุภิรมย์..................รื่นแล้ว
บรรุจ่อใจจูง.............................จิตแจ่ม
เสร็จกิจผ่องแผ้วปลิ้ม...............หมู่ชน
308. วิหารเพียบพร้อม............พึงยล
เป็นแหล่งชาวชนมา................นอบน้อม
เดือนหกทุกเพ็ญคน.................เนื่องแน่น
วันเฉลิมพร้อมหน้า.................สุขสนาน
309. หลายปีแปรเปลี่ยนด้วย...เดือนวัน
สรรพสิ่งแปรตามกาล.............เกิดแล้ว
คงอยู่ดับไปพลัน.....................เพียงจักร
วนเรื่อยมิแคล้วต้อง.................ผูกพัน
310. เม็งรายเชียงใหม่เจ้า........กษัตรา
พระผ่านลำพูนสรรค์..............เสกสร้าง
เจดีย์ต่อเติมมา......................หลายสิ่ง
นับสิบวาอ้างไว้......................ว่าสูง
311. สำคัญทองแผ่หุ้ม............เจดีย์
อร่ามจ่องจูงใจ......................นอบน้อม
ฝูงชนชื่นชมมี........................มวลมาก
พระศรัทธาพร้อมนั้น.............น่าชม
312. หนึ่งเก้าแปดหกตั้ง..........ต่อมา
พุทธศกนิยม..........................บอกไว้
ติโลกราชครา...........................เสริมแต่ง
หล่ายสิ่งจดให้รู้........................เรื่องราว
313. สิบสองวารอบด้าน..........ดูฐาน
ยี่สิบสามวาคราว......................โปรดสร้าง
ยอดฉัตรเจ็ดร่วมลาน..............แลเลิศ
ทองพอกบุญอ้างไว้.................มากมวล
314. ระเบียงหอกรอบล้อม...เจดีย์
ยุคพระเมืองแก้วไกร...............เกียรติสร้อย
ศรัทธาสั่งทำมี........................มวลมาก
ฟังว่าถึงห้าร้อย........................เล่มงาม
315. สองสามสองเห้าขวบ......พุทธศก
กาวิละองค์ราม........................ราชเจ้า
ฉัตรหลวงสี่มุมยก...................เติมแต่ง
ยอดฉัตรเติมเก้าชั้น...................น่าชม
316. วันวิสาขะตั้ง...................การฉลอง
ชนทั่วคามนิคม.......................ต่างเต้า
ชุมกันก่อบุญปอง...................บุญส่ง
บุญส่งสุขเศร้าสร้อย...............โศกหาย
317. ชวนกันไปกราบไหว้......เจดีย์
เทียนธูปครบครันมี.................ภาคหน้า
บุญก่อเกิดบุญมี.......................บุญส่ง
บุญแต่งเกิดกล้าแกล้ว..............แกร่งเกิน
318. ปุนปองละบาปสิ้น.........สิ่งหมอง
เสาะสั่งกุศลคุณ.......................ส่งให้
ชะจิตแจ่มดังทอง.....................งามยิ่ง
สามสิ่งขอให้ซึ้ง.......................สัจธรรม
319. อำลาพระธาตุเจ้า...........จอมไตร
หลวงพ่อท่านฝากคำ...............เลิศแท้
มมากมีหมากลำไย..................ยังร่วง
ปัดกวาดยากแล้ให้...................เก็บเอา
320. ถูกใจโยมยิ่งแล้ว.............หลวงตา
ปีนป่ายลองชิมยิน...................อร่อยล้น
พอควรจึ่งอำลา.......................คุณท่าน
มากยิ่งนักล้นเกล้า...................กราบลา
321. ตลาดกลางจอดพักยั้ง.....ยามดึก
จนเที่ยงกาญจนา.....................ขุ่นข้อง
คงหิวแม่จรลี...........................รุดเร่ง
เธอสั่งกินน้องน้อย..................นั่งรอ
322. ก๋วยเตี๋ยวตำส้มกับ..........ปูดอง
หมูชอบพ่อจึงพลอย................พยักให้
ครับครบแม่เลยลอง.................เรียบหมด
อร่อยยิ่งได้ลิ้ม..........................เมื่อหิว
323. อนันทาจักซื้อ.................ลำไย
หกบาทกิโลฉิว.......................แม่ค้า
แพงเกินลดเท่าไร....................คุณพี่
เขาว่าลดห้าให้.........................ตกลง
324. มากพรรณมากแม่ค้า......แข่งขาย
ลางเก่งเกินอนงค์.....................สอดสร้อย
ชุดบางแม่กรีดกราย.................ดูนี่
ผุดผ่องนวลน้อยต้อง...............ตื่นตะลึง
325. เสถียรชวนว่าซื้อ............อาจารย์
สุทธิว่าเธอตรึง........................ค่าไว้
หกบาทอย่าต่อหวาน................จับจิต
จำจ่ายเงินให้ซื้อ.......................สี่ลัง
326. จอแจจับจ่ายซื้อ................ลำไย
ขายส่งรถยายยัง......................แย่งเข้า
เต็มรถเคลื่อนคลาไป................หลายเที่ยว
วายวุ่นทุกมื้อเจ้า......................จ่ายขาย
327. พวกเราไปแย่งด้วย.........สนุกดี
แพงหน่อยถูกนิดหลาย............เลือกไว้
แบกขนกลับรถมี.....................มวลมาก
กะโหลกเขียวเบี้ยวได้..............เลือกมา
328. สมควรลาจากแล้ว..........ลำพูน
ลานิ่มนุชตาหวาน...................แช่มช้อย
คนขายเจิดจำรูญ.....................เทอญแม่
รถเลื่อนแลเรียบร้อย.................เลิกครวญ
329. ลำพูนลาแล้วมุ่ง...............ป่าซาง
แดนมากโฉมงามนวล..............นิ่มเนื้อ
ลือไกลว่าทุกนาง.....................งามยิ่ง
ชายใฝ่ชิดเชื้อเจ้า.....................จับจอง
330. พิศนางนวลบ่น้อย.........นวลหงส์
งามแม่คงคิดปอง.....................อยู่ใกล้
เสียดายแม่หยิกงง....................ยังเซ่อ
ยายบิดหูให้ด้วย......................เจ็บจริง
331. ป่าซางมากกลุ่มน้อง.......นางงาม
งามแม่งามสุดหญิง.................ยอดแก้ว
อรชรอ่อนบอบบาง................ผุดผ่อง
พิมพ์จิตรุมแล้วร้อน................ราครุม
332. เลยมานาโฮ่งหาก..........มิไกล
นาล่มฝันทุกชุม.......................ชอกช้ำ
รุกขาเหี่ยวเฉาไป....................มวลมาก
หดหู่ทุกก้ำแล้ว........................หลบเมิน
333. วัดพระบาทตากผ้า.........พลันถึง
ยามบ่ายมิมัวเพลิน.................เรียกร้อง
ลงรถแยกกันจึง........................จักง่าย
ลางกลุ่มเดินอ้อมขึ้น...............สู่เขา
334. วัดวางามพื้นที่...............ทุกทาง
งามป่ามากร่มเงา.....................แมกไม้
เนินเขายิ่งงามกลาง..................พนมมาศ
ภูมิสถานนี้ไซร้.......................เยี่ยมจริง
335. ตำนานตามกล่าวอ้าง.....ศาสดา
เคยผ่านมาพักพิง....................ถิ่นนี้
หวังสืบศาสนา........................คงมั่น
นำสัตว์ส่ำชี้ให้.........................สู่สวรรค์
336. ดำเนินโดยแผกบ้าง........บางที
พระนิมิตรเสาะสรรค์..............สืบอ้าง
อานนท์ติตามมา......................ทวยเทพ
อโศกราชข้างเจ้า......................ฝ่ายโยม
337. รอนแรมคุงเขตแคว้น......คามนิคม
ธรรมแผ่ดังแสงโสม................ส่องหล้า
เชียงดาวตับเตาชม....................ลำดับ
โปรดสัตว์เบิกฟ้ากว้าง..............กว่าไกล
338. พระนอนขอนม่วงด้วย....เลยมา
พระบาทยั้งหรีดไพร...............พฤกษ์กว้าง
พระธาตุทุ่งตุมคลา..................ไคลเคลื่อน
รอยบาทพิมพ์ไว้อ้าง................ที่สถาน
339. ลุถึงดอยมั่นช้าง...............ดอยเครือ
ผาลาดทรงพักลาน...................ดาดพื้น
แดดจัดรุ่มร้อนเหลือ................ผลัดเปลี่ยน
แดดผึ่งผ้าชื้นให้.......................เหือดหาย
340. ผนังผารอยเส้นตั้ง............จีวร
ชัดรูปดุจรอยลาย.....................กดไว้
พิมพ์พระบาทอีกตอน.............ลาจาก
สองสิ่งโปรดให้เกื้อ.................แก่ประชา
341. พุทธบาทหนึ่งนั้น............นิมิต
รอยตากจีวรครา......................ก่อนนั้น
คือนามวัดวิจิตร.......................เจิดแจ่ม จริงนา
342. แต่งเติมเสริมต่อตั้ง.........กาลนาน
ธรรมแผ่ทั่วนิคม......................เขตแคว้น
ประชาศรัทธาสาน...................สืบต่อ
เสริมส่งแน่นแฟ้นได้................กล่าวขาน
343. ธิดากรุงละโว้.................ธานี
คราวครอบลำพูกาล.................ก่อนนั้น
พระนามแม่จามเทวี................ทรงราช
เกิดอุโมงชั้นได้.......................แต่ปฐม
344. ยุคเม็งรายราชเจ้า............เจียงใหม่
ครอบเขตคามนิคม..................ถิ่นนี้
บำรุงสืบตามนัย......................นานเนิ่น
หลายสิ่งยังชี้ฟื้น......................วัฒนา
345. จวบสมัยกรุงเทพตั้ง........ชัดเจน
ประวัติบันทึกมา.....................มากครั้ง
ปรับปรุงซ่อมแซมเป็น..............ปรากฏ
แรงศรัทธาได้ยิ้ง......................หยุดโทรม
346. ป๋าปารมี.........................หนึ่งผู้พัฒนา
นำก่อวิหารโดม.......................ครอบไว้
ปรับปรุงใหม่ศาลา..................จตุมุข
คณะสงฆ์ได้เกื้อ........................กิจกรรม
347. พุทธิ์วงศ์พรั่งพร้อม.........พวกสงฆ์
ชวนญาติโยมกระทำ.................ก่อสร้าง
จตุมุขศาลา...............................คงอยู่
สองสี่เจ็ดสองอ้างไว้.................ว่าควร
348. สองสี่แปดหกเจ้า............จังหวัด
คณะสงฆ์มากมวล...................ทุกก้ำ
ญาติโยมต่างชอบวัตร..............คุณท่าน
พรหมจักรนามล้ำแล้ว..............เที่ยวเชิญ
349. นิมนต์พระท่านให้.........รับประธาน
นิมิตวัดงามเกิน........................กล่าวได้
ศรัทธาหลั่งมาปาน..................ชลหลั่ง
วัดพระบาทให้สร้าง.................รุ่งเรือง
350. คณะเราแยกย้าย...............ชมสถาน
ตามชอบมิขัดเคือง..................ขุ่นข้อง
พวกเราแม่ลูกสราญ.................เริงรื่น
เกาะเกี่ยวแขนน้องน้อย...........เที่ยวไป
351. ทำบุญชะจิตตั้ง................ต่อทาน
มณฑปพระบาทไว..................แวะแล้ว
มาเถิดนั่งสักการ......................กราบบาท
บุญที่หมายแก้วได้....................ดั่งประสงค์
352. ไพจิตรพิลาสล้ำ.............มณฑป
จตุมุขยังคง..............................คร่อมไว้
รอยบาทคู่ควรจบ.....................จิตนอบ
รำลึกคุณได้สร้าง......................ศาสนา
353. อรหังพุทธผู้....................สุคโต
ตัดกิเลสอวิชา..........................หมดสิ้น
สอนสัตว์ละโลภโมห์..............มืดจิต
ละโทสะดิ้นพ้น......................ห่างอบาย
354. งดงามภายนอกด้าน.......ลานผา
รอยตากจีวรลาย......................แปลกแล้ว
ตำนานบ่งพระมา.....................แวะผ่าน
ชนชื่นปานแก้วเก้า...................พบพาน
355. งามโบสถ์แบบที่ได้.........มาชม
เก่าใหม่ผสมผสาน..................ช่างแต้ม
งดงามแปลกดีสม....................มากค่า
กราบพระหมูน้อยแย้ม.............อยากเดิน
356. กุฎีหลวงปู้ตั้ง.................ต่อไป
สองแม่ลูกเพลิดเพลิน.............ผ่อหน้า
สองชมชื่นชมไพร..................ยามผ่าน
สักครู่ถึงกล้าก้ม.......................กราบกราน
357. เงียบกุฎีหลวงปู้ได้..........มาถึง
เห็นท่านเจริญฌาน.................แน่แท้
กราบเสร็จต่างตลึง..................แลท่าน
ยังนิ่งมิแพ้ก้อน.......................ศิลา
358. ดูนานจึงทราบนั้น..........คือหุ่น
เขาหล่อแทนกายา....................ล่วงแล้ว
เคารพท่านคือบุญ....................บานจิต
ลาจากยินน้องแก้ว ..................กล่าวขาน
359. ไปชมสิ่งก่อสร้าง............สวยงาม
เรือนสักยามแลลาน.................ยิ่งล้น
เขาตัดทุบเปลือตาม..................ตกแต่ง
เคลือบขัดงามพ้นถ้อย.............เอ่ยชม
360. ลดาวัลย์ไต่ขึ้น..............เขาสูง
เด็กวิ่งตามนงศรี.....................แห่ห้อม
บันไดนาคดังจูง......................จิตสู่ สวรรค์แฮ
สี่หกเก้าขั้นพร้อเม.................นับนาน
361. สมควรจำจากแล้ว.........ล่ำลา
ตรึงจิตนิรันดร์กาล..................กราบไหว้
ติรัตน์มั่นสรณา......................แนบแน่น
บุญส่งผลให้ให้.......................สบทาง
362. รอนแรมรถแล่นเข้า........เขตขัณฑ์
มาดมุ่งลำปางเหิร....................เหาะพริ้ว
ตีนผีควบเหวชัน......................ชวนหวาด จริงแฮ
ฝนตกโห่ฮิ้วก้อง.....................เด็กเรา
363. เพราะเพลงเขาครึกครื้น..บ่กลัว
ลางร่ายรำคลายเหงา...............ห่างบ้าน
ลางเหน็ดเหนื่อยมึนมัว...........เมาหลับ
กรนแข่งกันสะท้านสเทื้อน.....ปฐพี
364. ลำปางขากลับยิ้ง.............ยามแลง
เขาปล่อยเด็กจรลี.....................เล่นได้
นัดสองทุ่มมิแคลง...................คราเคลื่อน
รถจักจรให้เต้า........................ต่าวมา
365. ชวนกันจองรถม้า..........รอบมอง
ห้าสิบคำเขายืน.......................เรียกร้อง
หลายคนบ่ไปเคือง...................แพงค่า
หลายคู่เห็นพ้องด้วย.................ตกลง
366. อาชาลากรถพริ้ว ............ตามลม
กุบกับเสียบคง..........................ครึกครื้น
ดังเย่าเก่านานนม.....................นับเนิ่น แลนา
ยามนั่งรถม้าฟื้น......................เรื่องราว
367. ลำปางยามเมื่อได้...........เพลินชม
ตกแต่งหนทางคราว.................เยี่ยมยั้ง
ติดโคลนเปียกเป็นตม.............เต็มอยู่
ฝนตกเทียวครั้งนี้....................ยากเย็น
368. ชวนกันแวะที่ร้าน..........อาหาร
ยายสั่งก๋วยเตี๋ยวเป็น.................ราดหน้า
แปลกดีเพิงทราบกล.................การสั่ง
อาจกลับกันได้ถ้า....................เลอะเลือน
369. คำรามเสียงฟ้าฟาด.........ครืนครืน
ซู่ซู่ฝนลงเหมือน.....................ล่มฟ้า
ลมแรงยากหลบฝืน.................เย็นชุ่ม
หนาวสั่นจนน้องแก้ว..............เปียกปอน
370. ชวนกันไปหลบลี้...........หลีกฝน
ตลาดสดขอพักตอน.................แต่เค้า
พายุสาดซัดจน.........................เปียกโชก
หนาวยิ่งนวลน้องเจ้า...............จับไอ
371. หอบหืดตามติดแล้ว.........ลำเค็ญ
ยาพ่นยาเม็ดไฉน.....................บ่สู้
หลายขนานบ่อาจเป็น..............ยาช่วย
หอบเหนื่อยบ่รู้แก้.....................แก่กัน
372. ฝนซาเรียกรถแล้ว..........รีบไป
เขาส่งรถบัสพลัน....................เร่งร้อน
เสาะหาร่วมยาไว....................วายวุ่น
อีกหนึ่งชุดซ้อนซ้ำ..................หืดหาย
373. จวนถึงสองทุ่มแล้ว.........ลีลา
เหน็ดเหนื่อยเพลียใจกาย.........หลับพริ้ม
เหลือเรานั่งชมครา..................คืนถิ่น
ฝนหนักยามฟ้ายิ้ม..................แปลบใจ
374. หยาดฝนหล่นจากฟ้า.....ฝากครวญ
ยามหม่นหมองหทัย................ทุกข์ท้น
สายฝนดั่งเนตรนวล.................บอกพี่
ยามร่ำไรล้นน้ำ........................เนตรนอง
375. เย็นใจยามกลับบ้าน........เมืองเลย
แดนอื่นงามดังทอง..................เลิศล้น
ฤๅเทียเท่าแดนเคย....................ครองอยู่
ดีชั่วมิพ้นต้อง...........................ต่าวมา
376. อวสานสารสุดสิ้น..........สิ่งสรรพ์
เทียวท่องเมืองเหนือครา..........หนึ่งนี้
จากไปมิกี่วัน..........................วนกลับ
เพียงเพื่อชวนชี้บ้าน.................เบิ่งเมือง
377. ภรรยาแลลูกน้อย............ติดตาม
เขียนเพื่อพอประเทือง..............จิตไว้
บันทึกอ่านเล่นยาม..................แก่เฒ่า
เปิดอ่านดูได้รู้..........................เรื่องราว
378. ขุนทองนามผู้ที่..............ขีดเขียน
ศรีประจงสกุล.........................สาวสืบไว้
คืนวันบ่อาเกียรณ์...................กลบท
สามสิบเอ็ดถ้วนได้.................นับวัน
379. ควรมิควรขัดข้อ.............เคืองใจ
เกินล่วงขอโทษทัณฑ์..............อย่าข้อง
ผิดพลาดโปรดอภัย.................เทอญท่าน
เขียนอ่านกันน้องน้อง.............อย่าถือ
380. ตริสามสิบเอ็ดตั้ง...........กรกฎ
เพียรแต่งเป็นหนังสือ..............กล่าวอ้าง
สามแปดศูนย์นับบท...............โคลงสี่
สามสิบสิงห์สร้างสิ้น..............เสร็จสม