วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ปัญหาของผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน

ร้อยแปดปัญหาเมื่อคุยกันถึงการวิจัย 
--------------
...............ครูอาจารย์สมัยนี้สนใจทำวิจัยกันมากขึ้น น่ายินดีเพราะสมัยก่อนลุ้นไม่ค่อยขึ้น อ้างนโยบาย
ก็แล้ว ส่งไปอบรมกลับมาก็เงียบ เชิญวิทยากรมาจัดอบรมให้ก็ยังไม่ได้ผลน่าพอใจ มีบ้างประปราย จน รู้สึกท้อที่จะส่งเสริมสนับสนุน ตอนนี้ออกมาอยู่นอกวงการ ได้แต่ติดตามข่าวดูว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง 
อย่างไรบ้าง ดูแล้วก็น่าจะดีขึ้นนะ
........วิจัยหน้าเดียว มาจากส่วนกลางชวนให้ครูทำวิจัยหน้าเดียว คงอยากแก้ไขการเขียนรายงานยาว ๆ
นึกดีใจอยู่ว่าคงช่วยให้ครูทำวิจัยกันมากขึ้น แต่ก็แปลกยังไม่มีอะไรคืบหน้าเท่าที่ควร เคยถามครูที่ไม่
อยากทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งมีสองกลุ่ม คือกลุ่มไม่เคยเรียนวิจัยมาก่อน เพราะระดับปริญญาตรีที่เรียน
ไม่มีวิชาวิจัยให้ฝึกทำ เรื่องมากจริง ๆ อีกกลุ่มเคยทำวิทยานิพนธ์มาแล้ว ได้คำบตอบรวม ๆ มา
.......วิจัยทำแบบไหนถึงจะเป็นวิจัย ปัญหาแบบนี้จบได้เลย ไม่ต้องถามต่อ เข็นไม่ไหว
.......อยากทำนะแต่เขาว่ามันยาก ต้องรู้ทฤษฎีหลักการ ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา ปัญหานี้ก็หนักไม่น้อย
แสดงว่าเคยฟังพวกเรียนปริญญาระดับบัณฑิตศึกษาโม้ให้ฟัง นั่นเขาฝึกทำวิจัย ต้องยึดตำรา ต้องมี
ครูฝึกช่วยแนะนำ แต่วิจัยของครูไม่ต้องมากขนาดนั้น แต่ให้มันมีหลักเกณฑ์บ้างก็พอ ทำอย่างมีเหตุผล
ตรวจสอบได้ ก็ดีแล้ว ที่สำคัญครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครูเอง ไม่ใช่เรื่องยากอะไร
......อยากวิจัยนะ แต่ยังหาปัญหาไม่ได้ เลือกปัญหาแล้ว ยังไม่รู้จะต้องไปดีเฟนกับใคร จะผ่านไม่ผ่าน
ยังไม่รู้ ปัญหาพวกโดนอาจารย์สอบหัวข้อวิทยานิพนธ์หลาย ๆรอบกว่าจะได้ จนนึกเข็ดเมื่อคิดจะทำวิจัย
หัวข้อวิทยานิพนธ์ อาจารย์เขาดูเรื่องที่น่าสนใจ ไม่ซ้ำกับเรื่องที่คนอื่นทำ ถ้าซ้ำก็ต่างช่วงเวลา ต่าง
สถานที่ ต่างกลุ่มประชากร ที่สำคัญเป็นประโยชน์ต่อผู้ทำวิจัย ก็เลยช่วยวิพากย์วิจารณ์จนลูกศิษย์ขยาด
วิจัยในชั้นเรียน ผู้มีอำนาจเด็ดขาดก็คือครูเอง ปัญหาที่จะวิจัยก็คือ ปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอน
ของครูเองนั่นแหละ อย่าไปเลือกปัญหาการเรียนการสอนของครูคนอื่น เดี๋ยวได้ตีกันตาย ถามตนเองดู
ว่าสอนมาหลายปี มีปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนบ้างไหม ถ้าตอบว่าไม่มีปัญหา ไปขอรับเกียรติบัตร
ครูสอนยอดเยี่ยมเลย เพราะความเป็นจริง มีปัญหาประจำ ตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อยไปจนถึงปัญหาโลกแตก
ทำความเข้าใจปัญหาก่อนแล้วจะรู้ว่าปัญหามันมีมาก
........เราทำงานย่อมมีจุดประสงค์อยากให้งานสำเร็จมากน้อยแค่ไหน สอนนักเรียนล่ะมีไหม มีซิ อยาก
ให้สอบได้ทั้งห้อง ถ้าเด็กสอบได้หมด ก็บรรลุจุดประสงค์ ไม่เกิดปัญหา ถ้าเกิดสอบตกคนหนึ่งสองคน
นั่นคือไม่บรรลุจุดประสงค์ เกิดปัญหาแล้ว การวิเคราะห์ปัญหาครูต้องมีเกณฑ์ แล้วนำผลที่ปรากฏไปเทียบ ดูก็สรุปได้ ถ้าเด็กสอบได้ทั้งห้อง มีปัญหาไหม ต้องถามครูใหม่ว่า จุดมุ่งหมายการสอนแค่สอบผ่านน่ะ พอใจเหรอ สอน 3 ห้อง 120 คน มันได้เกรด 1 ทั้ง 3 ห้องเลย ดีใจไหม ครับบางทีเกณฑ์จุด
ประสงค์ ต่ำเกินไปก็หลอกตนเอง การสอนให้เด็กเรียนรู้ในเนื้อหาวิชา เราต้องการให้เขาเรียนรู้ร้อยละ
 80 ในสิ่ง ที่ครูสอนภาคทฤษฎี เรียนรู้ได้ 100 % ในส่วนที่เป็นภาคปฏิบัติ ครูอาจปรับเกณฑ์ให้ละเอียดมากขึ้น แจกแจงเป็นผลการเรียนระดับ 0 - 4 รวม 5 กลุ่ม ผลการเรียน 0 และ 4 กำหนดไว้ กลุ่มละ 5 %
กลุ่ม 1 และ 3 กลุ่มละ 15 % กลุ่ม 2 กลาง ๆ ให้ 60 % ยึดแนว normal curve เลยนะนี่ แล้วนำผล
การเรียนมาเทียบดูก็จะเห็นปัญหาได้เช่นกัน
........นอกจากปัญหาจากการดูผลการเรียน ปัญหาการเรียนการสอนอยางอื่นมีไหม ถามครูเองนั่นแหละ
ดีที่สุด เพราะสอนเอง เห็นเอง เด็กบางคน บางกลุ่ม ปึกมาก เป็นปัญหาไหม จะเทียบกับอะไรถึงจะเห็น
หาเกณฑ์ปกติมาซิ เด็กระดับนี้ควรจะมีพื้นฐานการเรียนวิชาที่ครูสอนมากน้อยเพียงใด ได้เกณฑ์ก็หา
แบบทดสอบมาประเมินก็ชัดเจนเท่านั้นเอง สื่อการสอน วิธีสอน แบบทดสอบ ที่ใช้อยู่มีปัญหาไหม
จะไปเทียบอะไรล่ะ คุณครูถามตนเองบ้างซิว่า.....สื่อการสอนที่เขียนมากับมือ ใช้สอนหลายปีแล้ว
มันมีประสิทธิภาพหรือคุณภาพมากน้อยแค่ไหน วิธีสอนที่ฉันสอนน่ะเจ๋งจริงรึเปล่า แบบทดสอบที่หวง
นักหนาสอบเสร็จก็เก็บ ๆ เอามาสอบอยู่เรื่อย เป็นข้อสอบหรือแบบทดสอบมีข้อบกพร่องไหม ลองถาม
หน่อยน่า คำตอบที่ได้จะบอกเองว่ามีปัญหาไหม ไป ๆมา ๆ ปัญหาการเรียนการสอนมันเยอะมาก ๆ
ที่แล้ว ๆ มา เราไม่สนใจอยากรู้เอง มันก็เลยคล้าย ๆ กับไม่มีปัญหา สรุปล่ะนะว่า หาไม่ยากหรอก
เดินชนทุกวัน ทำเป็นไม่เห็นปัญหาเอง
.......วิจัยมันเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนตรงไหน ฉันสอนมาจนจะเกษียณอยู่แล้ว เด็กสอบตกก็
ซ่อมเสริมแก้ 0 แก้ ร ให้อยู่นี่ สองขั้นก็ได้บ่อยนะ เพราะเจ้านายเห็นว่าสอนดี ใช่เลยครับครูแก้ปัญหา
เสมอแหละ เด็กดื้อก็ด่า ซนมากก็ตี สอนไม่จำก็ด่า วิธีแก้ปัญหาไม่ค่อยเป็นวิทยาศาสตร์เลยนะ ไม่อาจ
เอาไปอวดคนอื่นได้ นักเรียนห้องนี้เรียนอ่อน ฉันแก้ไขด้วยวิธีสอนแบบนี้ ใช้สื่อการสอนอย่างนี้ ใช้
แบบทดสอบแบบประเมินอย่างนี้ ผลออกมาเก่งยกชั้น ผลการเรียน 4 ยกชั้น เอเด็กมันเก่งเองรึเปล่า
มีอะไรยืนยันวาเกิดจากวิธีสอน เกิดจากสื่อ ตอบไม่ได้ นี่ไงการวิจัยรออยู่ ถ้าครูแก้ปัญหาโดยนำหลัก
การวิจัยมาใช้ คำถามดังกล่าวก็ตอบได้สบาย ๆ น่าเชื่อถือด้วย ดีกว่าแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ แน่นอน
.......วิจัยแก้ปัญหาการเรียนการสอน ทำอย่างไร คงยากที่จะพูดให้เห็นชัดเจน ครูจะรู้ดีที่สุด ขอแนะ
นำเพียงหลักการย่อ ๆ ดังนี้
.......1. ต้องมีข้อมูลชัดเจนก่อนจะชี้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นในการจัดการเรียนการสอน
.......2. มีความรู้หลักการวิจัยทางการศึกษาบ้าง ยังไม่มีก็อ่านตำรา ปรึกษาผู้รู้
.......3. ต้องการแก้ปัญหา อ้อปัญหาการเรียนการสอนของเราเองนะ
.......4. วิธีแก้ปัญหาการเรียนการสอน ส่วนมากเกิดจากผลการเรียนต่ำกว่าที่ครูคาดหวัง จะพยายาม

แก้ ให้การเรียนการสอน มีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น สำหรับการเรียนการสอนคราวต่อไป ซึ่งมีวิธีแก้ปัญหาไม่
กี่วิธีคือ แก้ด้วยใช้วิธีสอนแบบใหม่ แก้ด้วยการใช้สื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพดี แบบทดสอบประเมิน
ที่นำมาใช้ เป้นแบบทดสอบที่คุณภาพดี ผลการทดสอบเที่ยงตรงเชื่อมั่นได้ การแก้ปัญหาก็จะวนเวียน
แบบนี้ 
.......5. กลัวการวิจัยล้มเหลว แก้ปัญหาไม่ได้ การวิจัยที่ครูแก้ปัญหา เป็นการวิจัยเชิงทดลอง คือลอง
ดูว่า วิธีสอน สื่อการสอน ที่เลือกมาใช้ ดีจริงหรือไม่ ถ้าดีจริง ผลก็คือแก้ปัญหาได้ ถ้ายังไม่ดีก็ยังแก้

ปัญหาไม่ได้ เสียหายไหม เปล่าแค่เสียเวลาที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข ครูอาจเห็นข้อบกพร่องขณะทำ
วิจัย เมื่อได้แก้ไข ทดลองครั้งต่อไปก็สำเร็จ ผลวิจัยไม่บรรลุจุดประสงค์มิใช้วิจัยล้มเหลว แต่เป็นการ
วิจัย ยังไม่จบ ต้องลองอีก
.......6. กลัวเขียนรายงานวิจัยไม่น่าอ่าน แน่นอนครับ ครูไม่ใช่นักเขียนนี่ จะเขียนได้น่าอ่านเหมือนนักเขียน แต่ครูเขียนสื่อความมายได้ชัดไหม แน่นอนครับเขียนได้ แถมมีรุ่นพี่รุ่นอาจารย์ในโรงเรียนเขา

ยินดีช่วย แนะนำการเขียนรายงาน ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เรื่องใหญ่มากคือ ยังไม่มีผลการวิจัยมาใช้เขียนรายงาน
..........ยาวมากแล้วสำหรับคนขี้บ่นอย่างผม สาเหตุที่บ่น เพราะมีคนเอางานวิจัยในชั้นเรียนมาให้อ่าน
ไม่มากหรอกซัก 50 เรื่องได้ เลยนึกถึงความหลังที่เคยคะยั้นคะยอให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน อ่านแล้วก็
เห็นได้เลยว่าครูสมัยนี้กับสมัยก่อน มีปัญหาการทำวิจัยไม่แตกต่างกันมากนัก ยังติดข้อขัดข้องทีทำให้เหนื่อยคล้าย ๆกัน อย่าเพิ่งท้อ ครับ ลองลงมือทำดูแล้วครูจะชอบทำวิจัยในชั้นเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น