วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ข้อบกพร่องในการแต่งกลอน

ข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขในการแต่งกลอน

..........ผมชอบแต่งร้อยกรอง เพราะอยากรู้ว่าจะแต่งได้ไหม ตอนไปสอนวรรณคดีไทย บางครั้งต้องสอนฉันทลักษณ์ร้อยกรองด้วย ก็เลยตั้งใจว่าจะฝึกเขียนให้ได้ หยิบกาพยยานีมาฝึกก่อนเพราะใช้คำน้อยพยายามเขียนทุกโอกาสที่อยากเขียน ไปสังเกตการสอนครูที่เขาสอนภาษาไทยเก่ง ๆ ลองบันทึกและรายงานเป็นกาพย์ยานี เขียนบันทึกได้ทันใจดี ตอนไหนไม่ทันก็ข้าม มาแต่เสริมภายหลัง อ่านดูก็ขำ ๆนะวันหนึ่งก็หยิบนิทานเดอร์ตี้โจ้กของชาวบ้านมาเขียน เพื่อนมาอ่อานชอบใจมาขออ่านอยู่เรื่อยในที่สุดก็แต่งกาพย์ยานีแบบปากเปล่าได้ ส่วนแต่งกลอนมาเริ่มเขียนจริง ๆตอนเรียนวรรณกรรมนิราศ หลักสูตร 

กศ.บ. ปี 2519 ครูให้เขียนนิราศส่งเป็นภาคนิพนธ์คนละเรื่อง อย่างหน้อย 3 หน้ากระดาษ ไม่เกิน 5 หน้า 
พิมพ์หน้าละ 40 บรรทัด บรรทัดละ 2 วรรค รวมต้องพิมพ์ 120 บรรทัด ยาวมาก ๆ จนนอนไม่หลับกลัวจะ
ทำไม่ได้ ไปอ่านนิราศต่าง ๆที่ห้องสมุดจนหลับคาหนังสือ ในที่สุดก็ได้คิดว่า น่าจะลองเขียนดู
...........กางสมุดแผนผังกลอนไว้แล้วก็หลับตานึกถึงการเดินทางจากบ้านมาที่มหาวิทยาลัย นั่งรถ

จักรยายนนตร์ เมียมาส่งคิวรถ นั่งรถยนต์รวดเดียวไปยัง ขนส่งปลายทาง ต่อรถสามล้อเข้าหอพัก จบการ
เดินทาง จากนั้นก็นึกหัวข้อ จะเขียนอะไร จุดประสงค์จากบ้าน ลาบุตรภรรยา ขอคุณสิ่งศักดืสิทธิ์คุ้มครอง ภรรยาไปส่ง บขส. ขอบคุณเธอ ฝากดูแลบุตรธิดา ............เข้าหอพักที่มหาวิทยาลัย รวมแล้ว 70 หัวข้อ สบายมาก เขียนเล่าเป็นกลอนแปด ปรากฏว่ายาวถึงห้าหน้ากระดาษ ส่งครูผู้สอนไป วิชานี้ได้เกรด เอ บวก ไม่เลวนักหรอก
...........หลังจากนั้นแต่งกลอนบ่อยมาก เอาอย่างแต่งกาพย์ยานีที่เคยฝึกมาแล้ว บทอวยพรต่าง ๆ ใครอยากได้ วานให้เขียน ได้เลย มากมายนับได้เกินร้อยสำนวน ที่แต่งเป็นนิราศก็มี จนวันหนึ่งอยากรู้ผล

งานที่เคยเขียนมันมี ข้อบกพร่องอะไรบ้าง พบว่าบางบท บางเรื่อง หักคะแนนได้แทบไม่เหลือคะแนนที่ได้เลย วันนี้ก็เลยนึกอยากนำ ข้อบกพร่องที่เจอมาเขียนไว้ให้ลูกหลาน อ่าน ดู จะได้รู้ว่า เราคิดว่าตัวเองเก่งเหลือหลาย ว่ากลอนปากเปล่า ได้ไม่ติดขัด แต่กลอนก็มีข้อบกพร่อง ตั้งแต่บกพร่องเล็กน้อย ไปจนบกพร่องมาก ๆ ดังจะนำมาเล่าให้ฟัง ดังนี้



..............1. ใช้คำขาด ๆ เกิน ๆ กลอนแปด ใช้คำวรรคละแปดคำ อ่านตำราบอกว่า ใช้ได้วรรคละ 7-9 คำอ่านงานของกวีที่แต่งไว้ ก็มีจริง ๆ เวลาแต่งก็ตามสบาย ขาดบ้างเกินบ้าง พอมาอ่านทีหลัง มันติด ๆ ขัด ๆ ต้องดู ว่ากี่คำ 7 คำ อ่าน 2-2-3 ลงตัว อ้าววรรคนี้ไม่ได้ต้องอ่าน 2-3-2 ก็เลยรู้ว่า ทำไมไม่แต่งให้ลงตัวแปดคำ อ่าน 3-2-3 ลงตัวสบาย ๆ ก็ได้ข้อสรุปว่า กลอนแปด แต่งวรรคละแปดคำนั่นแหละ ดีแล้ว
..............2. คำครบ แต่คร่อมจังหวะ กลอนแต่งเพื่ออ่าน โดยเฉพาะอ่านทำนองเสนาะ มีจังหวะการอ่านแบบ 3-2-3 ทุกวรรค คำขาดคำเกิน ก็ต้องอ่าน 3 จังหวะ ทีนี้คำหลายพยางค์บางคำ คนแต่งไม่ระวัง ปล่อยให้คร่อมจังหวะ ในวรรค อ่านก็เลยสะดุด 8 คำ ไปโรงเรียนเขียนอ่านการศึกษา อ่าน ไปโรงเรียน/เขียนอ่าน/การศึกษา อ่านไม่ติดขัด แต่ง 9 คำ ลูกเข้าโรงเรียนเขียนอ่านการศึกษา อ่าน ลูกเข้าโรง/เรียนเขียนอ่าน/การศึกษา อ่านได้ แต่ติด ๆ ขัด ๆ
..............3. เสียงคำท้ายวรรค กลอนอ่านทำนองเสนาะ จะมีปัญหา ถ้าคำลงท้ายวรรค เสียงผิดไปจากที่นิยม กลอนไม่ได้ ผิดฉันทลักษณ์ แต่มันอ่านไม่รื่น คนสมัยก่อนท่านนิยมแต่งคำลงท้ายวรรคบทกลอนกันอย่างไร
            คำท้ายวรรคสดับ ใช้ได้ทุกเสียง แต่ไม่ค่อยนิยมใช้เสียงสามัญ
           คำท้ายวรรครับ ต้องใช้เสียงเอก โท หรือจัตวา นิยมใช้เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงสามัญและตรี
           คำท้ายวรรครอง ต้องใช้เสียงสามัญ หรือเสียงตรี นิยมมากคือเสียงสามัญ ไม่นิยม เอก โท และจัตวา
            คำท้ายวรรคส่ง ต้องใช้เสียงสามัญหรือตรี ที่นิยมมากที่สุดคือเสียงสามัญ ไม่นิยม เอก โท และจัตวา

ตัวอย่างกลอนสุนทรภู่


           พระฟังคำอ้ำอึ้งตะลึงคิด (เสียงตรี)

           จะเบือนบิดป้องปัดก็ขัดขวาง (เสียงจัตวา)

           สงสารลูกเจ้าลังกาจึงว่าพลาง (เสียงสามัญ)

            เราเหมือนช้างงางอกไม่หลอกลวง (เสียงสามัญ)

                                        บทอาขยาน จากเรื่องพระอภัยมณี

..................4..สัมผัสนอกคือสัมผัสบังคับ ทุกตำแหน่งมีได้คำเดียว ไม่ควรมีคำอื่นที่เสียงเดียวกับสัมผัสบังคับ กลอน แต่ละบทมีคำสัมผัสบังคับสองเสียง เสียงแรกคือคำท้ายวรรคสดับ เสียงที่สองคือคำท้ายวรรครับ
                    บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว       สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา

                 เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา                       ประคองพาขึ้นไปยังบรรพต 


          คำที่ส่งสัมผัส บังคับได้แก่ คำ แว่ว และคำ หา ส่งไปไหนบ้าง แว่ว ส่งไปวรรคที่ 2 มีคำ แล้ว รับสัมผัส จบแค่นี้ อย่าให้มีคำอื่นแถมมาอีก ถ้ามีจะกลายเป็นสัมผัสบกพร่อง เรียกสัมผัสเลือน สัมผัสเลื่อน
......คำที่ 2 คือคำ หา ส่งไปท้ายวรรคที่ 3 และเนื่องไปคำที่ 3 วรรคที่ 4 แต่ละแห่งใช้คำรับสัมผัสคำเดียว ห้ามมีคำอื่นมีรับสัมผัส จะกลายเป็นสัมผัสบกพร่องไป ถ้ามีในวรรคที่ 3 เรียกชิงสัมผัส หรือสัมผัสลัด ถ้ามีในวรรคที่ 4 เรียกสัมผัสเลื่อนหรือสัมผัสเลือน

                 แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์              มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด

             ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด              ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

             คำมนุษย์ สัมผัสนอก ส่งไปวรรคที่ 2 มีคำ สุด รับสัมผัสคำเดียว พอแล้ว อย่าให้มีมาอีก จะเป็นสัมผัส บกพร่อง เรียกสัมผัสเลื่อนหรือสัมผัสเลือน
            คำกำหนด เป็นสัมผัสนอกเสียงที่ 2 ในบทนี้ ส่งสัมผัสไปวรรคที่ 3 มีคำ ลด รับสัมผัส ห้ามมีคำอื่น ถ้ามี จะเรียกชิงสัมผัส หรือสัมผัสลัด และมีการส่งต่อไปวรรคที่ 4 มีคำ คด คำเดียวรับสัมผัส ห้ามมีคำ

อื่น ๆ อีก ถ้ามี ก็กลายเป็นสัมผัสเลื่อน สัมผัสเลือน
.........6. เห่อสัมผัสใน จนทำให้กลอนบกพร่อง พวกที่อ่านกลอนสุนทรภู่มาก ๆเหมือนกระผม ชอบมากเรื่องสัมผัสใน จำจนขึ้นใจว่า วรรคละแปดคำ จังหวะ 3-2-3 สัมผัสในวรรคละสองคู่คือ คำที่ 3 กับ คำที่ 4 คำที่ 5 กับคำที่ 7 เกณฑ์นี้ใช้ได้กับวรรค คี่ คือวรรคที่ 1 และ 3 ส่วนวรรคคู่ก็ใช้ได้แต่ระวังพลาด วรรคที่ 2 และวรรคที่ 4 ตำแหน่งคำ ที่ 3 ต้องใช้รับสัมผัสบังคับ ไม่ว่างที่จะใช้สัมผัสในกับคำที่ 4 ถ้าขืนใช้จะทำให้คำที่ 4 เป็นสัมผัสเลื่อน หักคะแนนได้ บางคนเอากลอนเก่า ๆ มาอ้าง ก็ช่างกลอนเก่า ๆ สิ เรารู้ว่ามันบกพร่องจะเอาอย่างทำไม



              แผนผังปกติของกลอนแปด ปุ่มสีแดงคือจุดสัมผัสนอกในแต่ละบท เวลาจะแต่งสัมผัสใน ก็อย่าให้กระทบ เสียงของคำสัมผัสนอก กระทบเมื่อไรกลอนมีตำหนิทันที ตรงที่ใช้จุดไข่ปลา คือตำแหน่งคำรับสัมผัสบังคับ อาจ เลื่อนไปใช้คำที่จุดไข่ปลาตก แทนได้
........7. ชอบเล่นสัมผัสใน เล่นให้ถูกจังหวะ อย่าให้กลายเป็นสัมผัสลัดหรือชิงสัมผัส หรืออย่าให้กลายเป็นสัมผัส เลื่อนหรือสัมผัสเลือน แผนผังกลอนแปด คำท้ายวรรคสดับ ส่งสัมผัสไปให้คำที่ 3 วรรครับ ถ้ามีคำอื่นอีกที่รับสัมผัสได้ เรียกว่า เกิดสัมผัสเลื่อน หรือสัมผัสเลือน

                 อันความรักมักเป็นเห็นแต่ตัว.............เพราะมืดมัวกลัวรักจักห่างหาย
         อ่านดูมันก็เพราะดี แต่สัมผัสบังคับใช้คำเดียวรับสัมผัสพอแล้ว ตัวอย่างมีทั้ง มัว และ กลัว
รับสัมผัสได้ ถือว่าแต่งผิดฉันทลักษณ์ 


              สมมติว่าแต่งต่อไปอีก
             เกิดเป็นชายหมายรักมิกลับกลาย.........จวบจนตายรักแต่เจ้าเยาวมาลย์ 


            วรรครับคำท้ายคือ หาย ส่งสัมผัสบังคับไปให้คำท้ายวรรคของวรรครอง ได้แก่คำ กลาย แต่มีคำอื่นดักแย่งชิงสัมผัส คือคำ ชาย และ หมาย เรียก สัมผัสลัด หรือชิงสัมผัส แต่งแบบนี้ถือว่าแต่งผิดฉันทลักษณ์เช่นกัน
.........8. สัมผัสซ้ำ ในเส้นสายสัมผัสบังคับ ห้ามใช้คำซ้ำ หรือต่างรูป แต่เสียงเดียวกัน มาใช้ส่งรับสัมผัสกัน เชน คำ สัน สรรพ์ สันต์ สันติ์ ถือเป็นคำที่มีเสียงเดียวกัน ไม่ให้ใช้ ขัน ขันธ์ ขรรค์ ไม่ควรใช้ เป็นต้น
.........9. คำเสียงสั้น กับคำเสียงยาว ไม่ให้ใช้สัมผัสบังคับ เสียง อะ -อา นะ....นา จั น....จาน มัน...มาน กรรม กำ กัม เสียงเดียวกัน ใน ไน นัย เสียงเดียวกัน ใน...นาย คนละเสียง นาม...น้ำ คนละเสียง เรา...เบา
เสียงเดียวกัน เงา....ขาว คนละเสียง คำที่ประสมสระลดรูป เปลี่ยนรูป สังเกตให้ดี
.........10. คำลงท้ายบท ไม่ควรใช้เสียงเดียวกันติด ๆสำหรับบทกลอนที่แต่งติดต่อกันหลายบท สมมติ5 บาท บทที่หนึ่ง จบบทด้วยคำ ใจ จบบทสองด้วยคำ ใน เสียงไอเหมือนกันกับบทแรก ควรเว้นซัก 2 บท ถึงใช้ซ้ำก็ไม่ น่าเกลียด
.........11. คำคู่ที่ถือเป็นคำมาตรฐานไปแล้ว ไม่ควรนำมาสลับตำแหน่งหน้าหลัง มีคำไหนบ้าง ต้องตรวจสอบกับ พจนานุกรมทันทีที่สงสัย คำที่ถือว่าเป็นคำมาตรฐานไปแล้วเช่น แน่นอน กอบกู้ จริงใจ เดียวดาย ปกป้อง บางคำสลับ ตำแหน่งความหมายก็เพี้ยนไปด้วย ทางที่ดีอย่างใช้สลับตำแหน่ง
.........12. ใช้คำสัมผัสเพี้ยน ๆ ดูรูปคำนึกว่าจะสมผัสกันได้ แต่ลองอ่านดูจะรู้ได้ว่าคนละเสียง เช่น เล็ก เผ็ด เลข เป็นคำประสมสระ เอ เหมือนกัน แต่ตัวสะกดต่างกัน เลยออกเสียงต่างกัน
..........13. สัมผัสเผลอ เกิดจากการใช้คำบางคำที่รูปร่างคำคล้ายกัน หรือ ออกเสียคล้ายกัน เช่นคำว่า น้ำออกเสียงเหมือนคำ ย่าม ตาม ลาม ลองแยกคำดู น+สระอำ+ไม้โท เป็น น้ำ ย+สระอา+ม+ไม้เอก คำ ไป ขัย ใน นัย เสียงเดียวกัน แต่ต่างจากเสียง ชาย วาย งาย คำทำนองนี้ถ้าสงสัยให้วิเคราะห์คำดู ว่าประสมเสียง สระอะไร ถ้าเสียงสระเดียวกัน สะกดมาตราเดียวกันไหม ถ้าต่างมาตราสะกด ถืดว่าคนละเสียง
..........14. แต่งไม่ระวังกายเป้นกลอนที่มีละลอกทับละลอกฉลอง ระลอกทับ หมายถึงการมีเสียงวรรณยุกต์เอกหรือโท ในคำสุดท้ายของวรรครับและวรรครอง ระลอกฉลอง หมายถึงเสียงวรรณยุกต์เอกหรือโทในคำสุดท้ายของวรรคส่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น