ลาบปลาตอง
...............ปลาตอง ปลากราย ได้มาเยอะ ๆ กินไม่ทัน นิยมเอามาย่างให้สุก แห้งกรอบ เก็บไว้ได้เป็นเดือน บางคนเอา มาแกงใส่ฟัก แกงใส่ผัก แล้วแต่จะชอบ สำหรับผมชอบเอามาทำป่นปลาตองย่าง โดยเอามาแช่น้ำ แล้ว แกะเอาเนื้อมาสับให้แหลก ได้เนื้อสักถ้วยตวงก็พอทำป่นได้ ต้มน้ำปลาร้าไว้คนป่น ค่อยไปดูเครื่องปรุง
...........หอมหัวแดง 2 หัว กระเทียม 1 หัว ข่า 3 ฝาน ย่างไปให้สุกดีแล้วใส่ครกโขลกละเอียด ค่อยใส่เนื้อปลา ตำให้แหลก มะเขือเปราะสามลูกเผาให้สุกลอกเปลือกทิ้งเอาแต่เนื้อ ใส่ครกลงไป โขลกให้เข้ากัน คนด้วย น้ำปลาร้าพอขลุกขลิก แล้วเติมผักแต่กลิ่น หอมสด ชีหอม สองอย่างพอ ชิมและปรุงรสด้วยนำปลา ชูรส ทานกับข้าวเหนียวร้อน ๆ ระวังเบรคแตกหยุดไม่ได้ มันอร่อยมาก ๆ ถ้าได้ผักกับป่นดี ๆละก็
เอาสเต๊กมา แลกก็ไม่ยอมทีเดียวแหละ
............การทำป่นเป็นสูตรมาตรฐานของชาวบ้าน รสเผ็ดมี 3 แบบใช้พริกแห้ง พริกดิบ และพริกอ่อน อร่อย คนละแบบ ข่าปกติไม่ใช้กัน แต่ผมต้องใช้ดับกลิ่นคาวพวกเนื้อปลา หรือเนื้ออื่น ๆที่นำมาทำป่น
3 ฝาน ย่างไฟหน่อย หอมแดง กระเทียม ที่ต้องย่างไฟเช่นกัน 3 รายการนี่ใช้ทุกเมนู น้ำปลาร้าต้ม ปกติใช้ตัวปลาร้า ไปต้ม เพราะให้รสเค็มอร่อยกว่าใช้น้ำ ทีนี้ก็มาถึง เนื้อที่นำมาทำ ป่นใช้อะไรได้บ้าง กบ เขียด อึ่งอ่าง เคย ทำป่นกินกัน อร่อยทุกอย่าง ปลาทุกชนิด ขนาดปลาย่างก็เอามาทำได้
............ปูนาครับ ทำป่นกันบ่อยมาก ไปทำนาไม่มีเวลาไปหากบเขียด ก็มาลงที่ปูนาขาเกที่แหละ หาง่ายดี ต้มเต็มหม้อ เลือกเอาตัวเมียมาแกะเอาอ้งมันซักถ้วยตวง ไปทำป่นปู เครื่องปรุงสูตรมาตรฐานนั่นแหละครับ อร่อยมาก ผักแว่น ผักแพงพวย ผักหนอกบัวบก หมดเป็นกะละมัง ยังมีพิสดารกว่านี้อีกที่ผมทำป่นกินเอง นะ แต่คนอื่นขอชิมด้วยเพราะหอมกลิ่นป่น เช่นจิ้งหรีด จั๊กจั่น กุ้ง
............ป่นไก่ครับ ฟังชื่อแล้วชวนอ้วก วิธีทำมันชวนกินครับ ผมแอบทำป่นไก่จากเศษไก่ย่างที่เขากินไม่หมด เอามาเล็มเนื้อติดกระดูก แฮ่ ๆ บางทีก็หยิบเอาเนื้อสะโพกติดมือมาด้วย ได้มาก็สับ ๆๆๆๆละเอียดดีใส่ลงครก ทำป่น เครื่องปรุงแบบเดิมนั่นแหละ ได้ป่นไก่ชนิดที่ลาบไก่ต้องหลบเลยแหละ
............ป่นหมู ไม่ต้องแอบยาก หมูบดในตู้เย็นเยอะ เอามาสัก 2 ช้อน คั่วให้สุกก่อนนำมาใส่ครกทำป่น นี่ก็ ยอดเยี่ยมกว่าลาบหมูละกัน ป่นเนื้อก็ทำแบบเดียวกับป่นหมู เนื้อบดหายากคงต้องสับเองก่อนนำไปคั่วให้สุก ค่อยเอามาทำป่น
............พวกปลาทะเลเคยใช้ปลาทูครับ ให้เขาทอดสุกดีแล้วแกะเอาแต่เนื้อใส่ครกทำป่นได้เลย ผลที่ได้สูสี กับป่นปลาตอง แม่บ้านนิยมซื้อปลาทูมาให้บอกอยากกินป่นปลาทู ประจำเลยแหละ
...........ยังมีอีกครับ ที่แซบมาก ๆคือพวก ป่นเห็ด ที่ผมชอบทำมี 2 เห็ดคือ เห็ดตะไค กับเห็ดดิน อย่างอื่นลอง แล้วไม่ชอบ สองเห็ดนี่ล้างสะอาดดีแล้วนำไปปิ้งให้สุก ต้องเอาเยอะ ๆ เพราะปิ้งไปจะหายไปเกือบครึ่ง มันหอมมาก ๆอดชิมไม่ได้ เสร็จก็ลงครกทำป่นได้เลย ป่นเห็ดไม่ต้องน้ำมาก น้ำปลาร้าพอขลุกขลิกใช้ได้ อร่อยเหนือคำบรรยายครับ
............เล่าเรื่องป่นซะยืดยาว ไม่อยากแยกเขียนจะหลายเรื่องเกินไป ใครได้อ่านอาจขำ ๆว่า กินเข้าไปได้ อย่างไร แสดงว่ายังไม่เคย ถ้าได้ลองเชื่อเหอะ เปลี่ยนมาเข้าพวกชอบป่นเหมือนผมแน่นอน ท้าเลยเอ้า.....
หลามปลาไหล
...............ตอนเด็ก ๆ วันหยุดพ่อมักจะชวนผมไปหาปลา ตามห้วยหนองคลองบึงประจำ ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องชวนเรา พี่สาวขอไปด้วยไม่ให้ไป เพิ่งมาเข้าใจตอนโตแล้วว่า ทำมาหากินแบบลงน้ำเข้าป่านี่เขาสอนลูกผู้ชาย ไปด้วย เพื่อสอนด้วยการปฏิบัติให้ดูนั่นเอง หนองน้ำที่ไปมีหล้ายหนองครับ หนองเบ็น ฝายงิ้ว หนองบัวพอง หรือไม่ก็ลงลำน้ำพองไปเลย แล้วแต่จะไปทำอะไร วันหนึ่งพอพาไปวางเบ็ดฝายงิ้ว เป็นฝายดินแต่ลึกมาก ดูไต้ก้นฝ่าย สูงหลายสิบเมตร น้ำสุดลูกหูลูกตา หนองนี้ปลาชุม พ่อเตรียมเยื่อใส้เดือน หัวหอยและปู จะมา วางเบ็ดกัน เดินเท้ามาถึงตอนเกือบเที่ยง หมาน้อยตามมาด้วย 1 ตัว มันวิ่งเข้าป่าหายไปเลย ค่ำ ๆ ถึงจะกลับมาหาเรา หลังจากพักที่ร่มไม้พ่อบอก จะไปหาของกินข้าวเที่ยงก่อน ให้ไปตัดไม้ไผ่เป็น ๆ ท่อนใหญ่ ๆ 3 ปล้องมาไว้ ส่วนพ่อไปแทงปลาไหลหนองเบน ส่วนหางน้ำงวดเหลือแต่โคลน มีร่องรอยคนแทงปลาไหล แสดงว่ามีปลาไหลเยอะ พ่อไปไม่นานก็หิ้วปลาไหล มาห้าตัว พ่อจัดการเตรียมทำแกง เห็นตัดเป็นท่อน ๆ ใส่ใบตองไว้ จากนั้นก็ถามหามะเขือเปราะ ใบหอม ผักชีลาว ใบแมงลัก ตะไคร้ ผักคาด ล้วงจากถุงย่ามมา ล้างดีแล้วก็เด็ดสำหรับใส่แกง พริกแกงตำมาจากบ้านแล้ว มีพริกแห้ง 5 เม็ด หอมแดง 3 หัว กระเทียม 1 หัว (เดี๋ยวนี้ผมต้องเติมข่า 3 ฝานและกระปิ 1 ช้อนชา) เครื่องแกง ครบพ่อไปตัดกระบอกไม้ไผ่ทำหม้อแกง 1 ท่อน เหลาปลายยาว ๆไว้จับ เหลาส่วนก้นแหลมไว้ปักดิน มิน่า สั่งเอา 3 ปล้อง คลุกเนื้อปลาไหล ผัก เครื่องแกง เรียบร้อยก็ใส่ลงในกระบอกไม้ไผ่ ใบตะไคร้ ม้วนกลม ๆ ปิดปากกระบอกไม้ไผ่ ก่อนปิดเติมน้ำแกงลงไปครึ่งกระบอก เอาหม้อแกงปลาไหลไปตีลงดินให้แน่น ย้าย ท่อนฟืนที่ติดไปมาสุมรอบ ๆ คอยเฝ้าดูมิให้มันไหม้ก่อนสุก ไม่นานก็เห็นไอพ่นออกมาทางปากกระบอก แสดงว่าหม้อแกงกำลังร้อน วิธีการแบบนี้เองที่เรียกว่าการหลาม สักครูพ่อบอกมาสุกแล้ว พ่อไปตัดไม้ไผ่มาอีก ทำเป็นรางเหมือนจะให้รำหมู แต่เทหลามปลาไหลใส่แทน น้ำแกงขลุกขลิกกำลังดี แต่หอมสุดใจขาดดิ้น
..............ข้าวเหนียว 1 กระติ๊บไปจากบ้าน น้ำพริกก็แจ่วบอง กับก็หลามปลาไหล ช้อนซดแกงก็เปลือกหอยกาบ ที่คนเขาต้มกินเนื้อแล้วทิ้งกาบเต็มพื้นบริเวณร่มไม้ที่พัก อร่อยเกินจะบรรยายครับ อิ่มก็นอนพักจนหลับเพราะอากาศมันเย็น ตื่นมา ไม่เห็นพ่อแล้ว เลยเดินไปดูที่ฝายหนองงิ้ว เห็นแต่ร่องรอยปักราวเป็ด ตามไปไม่นานก็เห็นพ่อนั่งอยู่ริมฝั่งน้ำ
.............พ่อให้ช่วยเกี่ยวเหยื่อใส้เดือน เหยือใส้หอย หัวหอย แล้วเอาไปแขวนที่ราว กำชับด้วยอย่าหย่อน
เบ็ดให้เหยื่อถึงดิน สูงไว้สักฝ่ามือเหนือพื้น ปูจะได้กัดไม่ถึง ก็นานกว่าจะเสร็จ ส่วนพ่อแกไปอีกทางเพื่อ
วางเบ็ดเหยื่อปู เห็นแกสับสวะให้แหลกแล้วแขวนให้ปูไต่วนอยู่บนนั้น หกโมงเย็นก่อนกลับพ่อพาไปเปลี่ยน เหยือ มีปลาติดเบ็ดหลายสิบตัว โดยเฉพาะเหยื่อปู ปลาช่อนสองสามตัว ตัวโตเหมือนกัน ที่เล่าแถมก็คือพ่อ สอนลูกชายให้รู้จักทำมาหากิน นี่เป็นวิชาหาปลาไหล ทำกับข้าวเมื่ออยู่ในป่าดง และวิธีจับปลา เป็นวิธีการ สอนด้วยการทำให้ดูนั่นเอง
............อ้อ การทำอาหารด้วยวิธีหลาม ที่รู้จักกันดีก็ข้าวหลามไงครับ ส่วนการทำกับข้าว ถ้าใช้กระบอกไม้ไผ่ แทนหม้อแกงก็เรียกหลามเช่นกัน เคยลองหลามดูหลาย ๆอย่างครับ เพราะชอบกลิ่นหอมและอร่อยมาก ๆ เช่น กบเขียด ปลาช่อน เห็ด แบบนี้ซีนะ ลูกอีสานหลงป่า จึงอยู่ได้หลายวัน
มาลองทำลาบนกกัน
……….การทำอาหารประเภทสัตว์ปีก เช่นเป็ด ไก่ นก มีกรรมวิธีคล้าย ๆ กัน ก่อนจะพูดถึงการคนลาบนกจะ พูดถึงกรรมวิธีโดยรวมไว้ก่อน จะได้เข้าใจถึงการทำลาบของคนอีสานโบราณ
...........การถอนขนปีก ขนอ่อน ตัวเล็ก ๆ ขนาดนกคุ่ม นกกระปรอด นกกระจิบ ถอนได้เลย ขนใหญ่ ๆ
...............ตอนเด็ก ๆ วันหยุดพ่อมักจะชวนผมไปหาปลา ตามห้วยหนองคลองบึงประจำ ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องชวนเรา พี่สาวขอไปด้วยไม่ให้ไป เพิ่งมาเข้าใจตอนโตแล้วว่า ทำมาหากินแบบลงน้ำเข้าป่านี่เขาสอนลูกผู้ชาย ไปด้วย เพื่อสอนด้วยการปฏิบัติให้ดูนั่นเอง หนองน้ำที่ไปมีหล้ายหนองครับ หนองเบ็น ฝายงิ้ว หนองบัวพอง หรือไม่ก็ลงลำน้ำพองไปเลย แล้วแต่จะไปทำอะไร วันหนึ่งพอพาไปวางเบ็ดฝายงิ้ว เป็นฝายดินแต่ลึกมาก ดูไต้ก้นฝ่าย สูงหลายสิบเมตร น้ำสุดลูกหูลูกตา หนองนี้ปลาชุม พ่อเตรียมเยื่อใส้เดือน หัวหอยและปู จะมา วางเบ็ดกัน เดินเท้ามาถึงตอนเกือบเที่ยง หมาน้อยตามมาด้วย 1 ตัว มันวิ่งเข้าป่าหายไปเลย ค่ำ ๆ ถึงจะกลับมาหาเรา หลังจากพักที่ร่มไม้พ่อบอก จะไปหาของกินข้าวเที่ยงก่อน ให้ไปตัดไม้ไผ่เป็น ๆ ท่อนใหญ่ ๆ 3 ปล้องมาไว้ ส่วนพ่อไปแทงปลาไหลหนองเบน ส่วนหางน้ำงวดเหลือแต่โคลน มีร่องรอยคนแทงปลาไหล แสดงว่ามีปลาไหลเยอะ พ่อไปไม่นานก็หิ้วปลาไหล มาห้าตัว พ่อจัดการเตรียมทำแกง เห็นตัดเป็นท่อน ๆ ใส่ใบตองไว้ จากนั้นก็ถามหามะเขือเปราะ ใบหอม ผักชีลาว ใบแมงลัก ตะไคร้ ผักคาด ล้วงจากถุงย่ามมา ล้างดีแล้วก็เด็ดสำหรับใส่แกง พริกแกงตำมาจากบ้านแล้ว มีพริกแห้ง 5 เม็ด หอมแดง 3 หัว กระเทียม 1 หัว (เดี๋ยวนี้ผมต้องเติมข่า 3 ฝานและกระปิ 1 ช้อนชา) เครื่องแกง ครบพ่อไปตัดกระบอกไม้ไผ่ทำหม้อแกง 1 ท่อน เหลาปลายยาว ๆไว้จับ เหลาส่วนก้นแหลมไว้ปักดิน มิน่า สั่งเอา 3 ปล้อง คลุกเนื้อปลาไหล ผัก เครื่องแกง เรียบร้อยก็ใส่ลงในกระบอกไม้ไผ่ ใบตะไคร้ ม้วนกลม ๆ ปิดปากกระบอกไม้ไผ่ ก่อนปิดเติมน้ำแกงลงไปครึ่งกระบอก เอาหม้อแกงปลาไหลไปตีลงดินให้แน่น ย้าย ท่อนฟืนที่ติดไปมาสุมรอบ ๆ คอยเฝ้าดูมิให้มันไหม้ก่อนสุก ไม่นานก็เห็นไอพ่นออกมาทางปากกระบอก แสดงว่าหม้อแกงกำลังร้อน วิธีการแบบนี้เองที่เรียกว่าการหลาม สักครูพ่อบอกมาสุกแล้ว พ่อไปตัดไม้ไผ่มาอีก ทำเป็นรางเหมือนจะให้รำหมู แต่เทหลามปลาไหลใส่แทน น้ำแกงขลุกขลิกกำลังดี แต่หอมสุดใจขาดดิ้น
..............ข้าวเหนียว 1 กระติ๊บไปจากบ้าน น้ำพริกก็แจ่วบอง กับก็หลามปลาไหล ช้อนซดแกงก็เปลือกหอยกาบ ที่คนเขาต้มกินเนื้อแล้วทิ้งกาบเต็มพื้นบริเวณร่มไม้ที่พัก อร่อยเกินจะบรรยายครับ อิ่มก็นอนพักจนหลับเพราะอากาศมันเย็น ตื่นมา ไม่เห็นพ่อแล้ว เลยเดินไปดูที่ฝายหนองงิ้ว เห็นแต่ร่องรอยปักราวเป็ด ตามไปไม่นานก็เห็นพ่อนั่งอยู่ริมฝั่งน้ำ
.............พ่อให้ช่วยเกี่ยวเหยื่อใส้เดือน เหยือใส้หอย หัวหอย แล้วเอาไปแขวนที่ราว กำชับด้วยอย่าหย่อน
เบ็ดให้เหยื่อถึงดิน สูงไว้สักฝ่ามือเหนือพื้น ปูจะได้กัดไม่ถึง ก็นานกว่าจะเสร็จ ส่วนพ่อแกไปอีกทางเพื่อ
วางเบ็ดเหยื่อปู เห็นแกสับสวะให้แหลกแล้วแขวนให้ปูไต่วนอยู่บนนั้น หกโมงเย็นก่อนกลับพ่อพาไปเปลี่ยน เหยือ มีปลาติดเบ็ดหลายสิบตัว โดยเฉพาะเหยื่อปู ปลาช่อนสองสามตัว ตัวโตเหมือนกัน ที่เล่าแถมก็คือพ่อ สอนลูกชายให้รู้จักทำมาหากิน นี่เป็นวิชาหาปลาไหล ทำกับข้าวเมื่ออยู่ในป่าดง และวิธีจับปลา เป็นวิธีการ สอนด้วยการทำให้ดูนั่นเอง
............อ้อ การทำอาหารด้วยวิธีหลาม ที่รู้จักกันดีก็ข้าวหลามไงครับ ส่วนการทำกับข้าว ถ้าใช้กระบอกไม้ไผ่ แทนหม้อแกงก็เรียกหลามเช่นกัน เคยลองหลามดูหลาย ๆอย่างครับ เพราะชอบกลิ่นหอมและอร่อยมาก ๆ เช่น กบเขียด ปลาช่อน เห็ด แบบนี้ซีนะ ลูกอีสานหลงป่า จึงอยู่ได้หลายวัน
มาลองทำลาบนกกัน
……….การทำอาหารประเภทสัตว์ปีก เช่นเป็ด ไก่ นก มีกรรมวิธีคล้าย ๆ กัน ก่อนจะพูดถึงการคนลาบนกจะ พูดถึงกรรมวิธีโดยรวมไว้ก่อน จะได้เข้าใจถึงการทำลาบของคนอีสานโบราณ
...........การถอนขนปีก ขนอ่อน ตัวเล็ก ๆ ขนาดนกคุ่ม นกกระปรอด นกกระจิบ ถอนได้เลย ขนใหญ่ ๆ
หมด ก็เอาไปลนไฟก็เกลี้ยงแล้ว เปลือกแขงที่เท้าลนไฟให้พองแล้วลอกออก จากนั้นก็ล้างสะอาด พร้อมนำไป ให้แม่ครัวพ่อครัวทำงานต่อไป พวกตัวใหญ่ นกกวัก นกเป็ดน้ำ นกเขา เป็ด เป็ดเทศ ไก่ ห่าน พวกนี้ถอน ขนยาก ต้องลวกน้ำร้อนก่อน ลวกน้ำร้อนจะทำให้หนังตึง ถอนขนง่าย ขนอ่อนลนไฟช่วย ก็เกลี้ยงได้ดี เปลือกแข็งหุ้มขาก็เผาไฟลอกออกได้เช่นกัน ล้างสะอาดดีแล้ว ก็ส่งให้พ่อครัวไป มีคนแซวว่ามีวิธีง่ายกว่านี้ ไหมตา ? ก็ไม่อยากตอบเหรอกเดี๋ยวโกรธเอา ใครจะกล้าบอกให้ไปซื้อที่ห้าง แบบที่เขาแช่แข็งไว้ สบายมาก หรือง่ายกว่านั้น ก็ไปนั่งสั่งกินเลยที่ร้านอาหาร
............การคัวนก เป็ดไก่ ก่อนเอาไปทำกับข้าว พ่อครัวแม่ครัวจะจัดการ"คัว"ก่อน คือการชำแระ ลอกหนัง ผ่าท้องเอาเครื่องในออกมาทำความสะอาด ระวังดีแตก ขม ล้างยาก ใส้นิยมผ่าล้างง่าย กึ๋นก็ผ่าลอกเยื่อบุออก เศษอาหารก็จะหลุดออกด้วย ล้างง่าย ตับ ระวังดีแตกดึงออกก่อนค่อยล้าง ถ้าดีเป็ดต้องเก็บไว้ใช้ตอนจะย่าง หัวเป็ดปากเป็ด ทาด้วยน้ำดีจะหอมมาก ขมหน่อย ๆ อร่อยมากพวกคอทองแดงชอบ เครื่องในล้างดีแล้วแยก ใส่ถ้วยชามเอาไว้ ส่วนตัวพวกขนาดเล็ก นกคุ่ม นกกระทา เอาไปทำอาหารได้เลย พวกตัวใหญ่กระดูกแข็ง ต้องสับแยกเนื้อกระดูกไว้คนละจาน แค่นี้เองการ" คัว" ก็จบกระบวนการ จากนั้นจะทำ ลาบ ทำแกง ทำต้มแซบ ก็หาเครื่อปรุงและพ่อครั่วแม่ครัวมาทำ
.........เครื่องทำลาบ อีสาน มีข่า สำหรับดับกลิ่นคาว 3-5 ฝาน ถ้าทำลาบปริมาณน้อย ไม่เกิน 2 ถ้วย มาก กว่านั้น ก็เพิ่มเอา ดับกลิ่นคาวดีมาก เวลาใช้นิยมสับกับเนื้อปนลงไปเลย หอมแดง 2 หัว กระเทียม 1หัว สองอย่างนี้ เผาไฟให้สุกหอม โขลกกับพริกป่น 5 เม็ด นี่เผ็ดน้อย ชอบเผ็ดมากก็เพิ่มเอา มะเขือขื่น 2 ลูก เผาให้สุกก่อน โขลกใส่กับพริกป่นหอมแดงได้เลย จะใส่ตอนคนลาบ บางคนลาบนกตัวนิดเดียว ใส่มะเขือไป 3 ลูกยังไม่พอ ไปตัดเอาก้านกล้วยน้ำหว้า เลือกก้านอ่อน ๆหน่อย ลอกเปลือกออก เอาแต่แกนใน มาสับละเอียดสักถ้วย ตวง(ถ้วยตักของหวาน) ปนในเนื้อที่สับ คนลาบเสร็จมองไม่เห็น นึกว่าเนื้อนก ผักแต่งกลิ่น ใบหอมสด ต้นเดียว ชีหอม ต้นเดียว ชีฝรั่งใบสองใบ ใบมะกรูด 3 ใบ พวกนี้หั่นฝอยไว้แต่งกลิ่นลาบ รสเค็ม น้ำปลาร้าต้ม สุกใช้แทนน้ำปลา รสเปรี้ยวมะขามเปียกซักฝักใส่ในน้ำต้มปลาร้า ไม่ต้องบีบมะนาวก็ได้ ถ้าไม่มีก็พึ่งมะนาว
..........การคนลาบ สับแหลกแล้ว เนื้อปลอมใส่ลงไปแล้ว(ก้านกล้วย)ก็เอาใส่ครกดินเผา คนง่ายกว่าใช้ถ้วยใช้ กะละมัง เพราะใช้สากตีกระจุยเลย ตักน้ำต้มปลาร้าเดือด ๆ ราดทีละทัพพี คนไป น้ำเย็นก็เทคืนหม้อน้ำต้ม ตักน้ำร้อน ๆมาราดและคนไปเรื่อย ๆ จนเนื้อสุกดีแล้ว ค่อยหยุดเอาไปใส่เครื่องปรุงรส วิธีนี้คนรุ่นใหม่ ยัง รังเกียจว่าสุก ๆ ดิบ ๆ พ่อครัวเลยปรับแก้เป็นเอาไปคั่วกับเครื่องใน โดยคั่วหรือผัดเครื่องในให้สุกก่อน จะ มีน้ำมันซึมเปียกทั่วกระทะ ใส่เนื้อสับแล้วลงไปคั่วหรือผัด ทีนี้ละก็สุกแน่ หอมด้วย ที่เอาเครื่องในลงก่อน เพราะอยากให้มันเปลวที่ติดอยู่กับ เครื่องในละลายเป็นน้ำมัน พอใส่เนื้อลงก็กลายเป็นผัดนั่นเอง
..........การใส่เครื่องปรุง ในกะละมังลาบที่ตอนนี้สุกดีแล้ว ถ้ายังไม่มีรสเปรี้ยว เพราะใช้วิธี คั่วหรือผัด ก็บีบ
มะนาวราด คนไปเรื่อย เติมพริกป่น น้ำปลาร้า ข้าวคั่ว ผักแต่งกลิ่นหอม แค่นี้ก็ครบเครื่องแล้ว คนดี ๆก็ชิม
และปรุงรสได้ น้ำปลา ชูรส แต่งเอาเอง รับรองอร่อยแน่
.........การทำน้ำต้มกินกับลาบ พวกตัวเล็ก เขาสับทั้งตัวไม่มีกระดูกทำน้ำต้ม แต่ตอนคนลาบ น้ำต้มที่ตักมาคน ลาบ เย็นลงก็เทคืนหม้อน้ำต้มปลาร้า กว่าจะคนลาบสร็จ หม้อน้ำต้มก็เลยมีน้ำนัวที่เทออกจากถ้วยลาบ เอามา ปรุงรสทำน้ำต้มแซบกินกับลาบได้สบาย ๆ เติมข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดลงไป ก็ได้น้ำต้มแซบซดกับลาบอร่อย มากครับ ลาบพวกตัวใหญ่ เขาเลาะเอาเนื้อออก กระดูกชิ้นโต ๆ สับ แล้ววางใส่หม้อน้ำต้มคนลาบ คนลาบ เสร็จก็ปรุงเป็นน้ำต้มแซบ เติมข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักแต่งกลิ่นโรยหน้าซะหน่อย ตักมาซดกับลาบอร่อย ยิ่งพวกที่มีเครื่องในเยอะ แบ่งมาใส่น้ำต้มได้ด้วยละก็อร่อยจน ลืมลาบได้เหมือนกัน
.........ลาบนกตัวเล็ก ถ้ามีปริมาณมาก (หลายตัว)ก็อร่อยไม่เบา อย่างลาบนกคุ่ม เอาลาบไก่มาแลกก็ไม่ยอม ลาบนกไก่นา (นกกวัก) นกเป็ด เอาชนะลาบไก่ได้สบาย ๆ ลาบพวกตัวใหญ่ ๆ ได้เปรียบตรงที่เครื่องไน เยอะ แยกใส่ลาบบ้าง ใส่น้ำต้มบ้าง เลยอร่อยทั้งสองอย่าง ส่วนพวกตัวเล็ก ๆ ใส่ลาบก็หมดแล้ว น้ำต้มมีแต่ปลาร้า กับน้ำนัวที่ได้จากการคนลาบ ปรุงแล้วก็พอซดได้
........เครื่องปรุงที่เล่ามาเป็นมาตรฐานการทำลาบอีสานครับ มากกว่านี้ได้ แต่ขาดไม่อร่อย ใส่ได้กับการปรุง ลาบสัตว์ปีกแบบนกเป็ดไก่ ครับ สัตว์ปีกแบบพวกแมงเอาไว้คนละชุด นะครับ
การทำอาหารจำพวกหมกหยวก
……..หยวกกล้วย คือแกนกลางต้นกล้วยที่ยังไม่แทงดอกเป็นปลีกล้วย จะประกอบด้วยกาบอ่อนและยอดอ่อน โผล่ออกมาเป็นยอดกล้วย ใบตองกล้วยนั่นแหละ ถ้าเราตัดต้นกล้วยช่วงที่ยังไม่มีปลี จะได้หยวกกล้วยมา ทำอาหารกินกัน ถ้าตัดต้นที่แทงดอกปลีแล้ว แกนจะตันเป็นแท่ง เหมือนขั้วเครือกล้วยนั่นแหละ กินไม่ไหว ดังนั้นถ้าจะหาหยวกกล้วยมาทำกับข้าว เลือกให้ถูกต้นแล้วกัน กล้วยที่นิยมตัดเอาหยวกเป็นกล้วยน้ำหว้า มากกว่าชนิดอื่น ๆ เห็นบอกว่ากล้วยอย่างอื่นมันขม ไม่ได้ลอง แต่กล้วยป่าที่เมืองเลยชาวบ้านตัดมาขายที่ ตลาดก็ไม่เห็นขมนี่
...........เตรียมหยวกกล้วยเพื่อทำกับข้าวประเภทห่อหมก ทำแกง มีวิธีเตรียมเหมือนกัน คือเลือกเอาเฉพาะส่วน ที่อ่อน ล้างดีแล้วหั่นเป็นแว่น ๆ แช่น้ำส้ม(บีบมะนาวใส่ หรือน้ำส้มสายชู)ในกะละมังไว้ ป้องกันมิให้หยวก ดำคล้ำ เสร็จแล้วใช้แส้ไม้ไผ่ยาวสักศอก มาจุ่มลงไปในกะละมัง หมุน ๆๆๆๆๆ เส้นใยจากหยวกจะพันติด ไม้แส้ ทำนาน ๆจนเหลือน้อย ค่อยเอาไปทำกับข้าว ปริมาณหยวกมากน้อยแล้วแต่จะหามาได้ มีน้อยก็ได้ห่อ หมกน้อย มีมากก็ได้หลายห่อ
.........เครื่องปรุงห่อหมก มักจะใช้แบบเดียวกันได้ ถ้าเราจะห่อหมก 5 ห้อง ต้องใช้เครื่องปรุงประมาณนี้คือ ตะไคร้ 1 ต้น ข่า 3 ฝาน ดอมแดง 3 หัว กระเทียม 1 หัว พริกแห้ง 3 เม็ด กลุ่มนี้ใส่ครกตำให้แหลก เติมกระปิ 1 ช้อนชา ตำเข้ากันดีแล้ว ตักใส่ถ้วยเล็กไว้ เรียกพริกแกง หรือจะเรียกพริกห่อหมก ก็ได้ ไม่ว่ากัน ต่อไป ก็หอมสด 2 ต้น แมงลัก 5 ยอด เด็ดใส่จานไว้ ข้าวเบือ 2 ช้อน น้ำปลาร้า 3 ช้อนโต๊ะ ชูรส 1 ช้อนชา อ้อ ตอง สำหรับห่อตัดมาตากแดดไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่กรอบแตกง่าย ไม้จิ้มฟันก็ใช้กลัดหามาไว้ด้วย
.........จากนั้นก็เป็นการเตรียมเนื้อที่จะนำมาทำหมกหยวก ผมหมกมั่วไปหมด บางอย่างคนอื่นไม่กล้าทำผมก็ทำ กบเขียดที่กินได้ เคยเอามาทำหมด ยกเว้นอึ่งอ่างไม่ชอบ พวกกบเขียดที่ตัวโต ๆ ก่อนสับเอามาผาไฟก่อน ขูดผิวไหม้ออก ค่อยกวักใส้ออกมาล้าง สะอาดดีแล้วค่อยสับเป็นชิ้น ๆ แบบทำแกง เคยสับละเอียดแบบสับ ลาบ ก็ใช้ได้นะ แต่ต้องคอยตอบคำถามว่าห่อหมกอะไร พวกสัตว์ปีกที่ผมชอบเอามาหมกกับหยวกได้แก่ ไก่ อย่างอื่นไม่ชอบ เลือกเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อและเครื่องใน มาสับขนาดทำแกงก็พอไม่ต้องละเอียดมาก ถ้าพวกสี่เท้าชอบหลายอย่าง ขนาด หนู พังพอน เคยทำครับ นอกจากนี้ก็ อีเหน บ่าง ตะกวด เม่น หมูป่า หมูบ้าน พวกสัตว์ป่า ได้มานิด ๆ หน่อยจากการแบ่งปันกับคนอื่น เลยทำห่อหมกดีที่สุด การเตรียมไม่มี อะไรยุ่งยาก ส่วนมากคนเขาทำความสะอาดมาแล้วก่อนจะตัดแบ่งกัน เราได้มาก็ล้างให้สะอาดก่อนนำมาสับ เป็นชิ้นเล็ก ๆ พักไว้รอนำไปปรุงอาหาร พวกเปิบพอสดารมีบ้างไหม ก็ไม่รู้นะว่าอะไรพิสดาร จิ้งหรีด จิโป่ม เคยทำนะ เด็ดปีก ควักใส้ออกล้างสะอาดดีแล้วเอามาทำได้
............การคัวนก เป็ดไก่ ก่อนเอาไปทำกับข้าว พ่อครัวแม่ครัวจะจัดการ"คัว"ก่อน คือการชำแระ ลอกหนัง ผ่าท้องเอาเครื่องในออกมาทำความสะอาด ระวังดีแตก ขม ล้างยาก ใส้นิยมผ่าล้างง่าย กึ๋นก็ผ่าลอกเยื่อบุออก เศษอาหารก็จะหลุดออกด้วย ล้างง่าย ตับ ระวังดีแตกดึงออกก่อนค่อยล้าง ถ้าดีเป็ดต้องเก็บไว้ใช้ตอนจะย่าง หัวเป็ดปากเป็ด ทาด้วยน้ำดีจะหอมมาก ขมหน่อย ๆ อร่อยมากพวกคอทองแดงชอบ เครื่องในล้างดีแล้วแยก ใส่ถ้วยชามเอาไว้ ส่วนตัวพวกขนาดเล็ก นกคุ่ม นกกระทา เอาไปทำอาหารได้เลย พวกตัวใหญ่กระดูกแข็ง ต้องสับแยกเนื้อกระดูกไว้คนละจาน แค่นี้เองการ" คัว" ก็จบกระบวนการ จากนั้นจะทำ ลาบ ทำแกง ทำต้มแซบ ก็หาเครื่อปรุงและพ่อครั่วแม่ครัวมาทำ
.........เครื่องทำลาบ อีสาน มีข่า สำหรับดับกลิ่นคาว 3-5 ฝาน ถ้าทำลาบปริมาณน้อย ไม่เกิน 2 ถ้วย มาก กว่านั้น ก็เพิ่มเอา ดับกลิ่นคาวดีมาก เวลาใช้นิยมสับกับเนื้อปนลงไปเลย หอมแดง 2 หัว กระเทียม 1หัว สองอย่างนี้ เผาไฟให้สุกหอม โขลกกับพริกป่น 5 เม็ด นี่เผ็ดน้อย ชอบเผ็ดมากก็เพิ่มเอา มะเขือขื่น 2 ลูก เผาให้สุกก่อน โขลกใส่กับพริกป่นหอมแดงได้เลย จะใส่ตอนคนลาบ บางคนลาบนกตัวนิดเดียว ใส่มะเขือไป 3 ลูกยังไม่พอ ไปตัดเอาก้านกล้วยน้ำหว้า เลือกก้านอ่อน ๆหน่อย ลอกเปลือกออก เอาแต่แกนใน มาสับละเอียดสักถ้วย ตวง(ถ้วยตักของหวาน) ปนในเนื้อที่สับ คนลาบเสร็จมองไม่เห็น นึกว่าเนื้อนก ผักแต่งกลิ่น ใบหอมสด ต้นเดียว ชีหอม ต้นเดียว ชีฝรั่งใบสองใบ ใบมะกรูด 3 ใบ พวกนี้หั่นฝอยไว้แต่งกลิ่นลาบ รสเค็ม น้ำปลาร้าต้ม สุกใช้แทนน้ำปลา รสเปรี้ยวมะขามเปียกซักฝักใส่ในน้ำต้มปลาร้า ไม่ต้องบีบมะนาวก็ได้ ถ้าไม่มีก็พึ่งมะนาว
..........การคนลาบ สับแหลกแล้ว เนื้อปลอมใส่ลงไปแล้ว(ก้านกล้วย)ก็เอาใส่ครกดินเผา คนง่ายกว่าใช้ถ้วยใช้ กะละมัง เพราะใช้สากตีกระจุยเลย ตักน้ำต้มปลาร้าเดือด ๆ ราดทีละทัพพี คนไป น้ำเย็นก็เทคืนหม้อน้ำต้ม ตักน้ำร้อน ๆมาราดและคนไปเรื่อย ๆ จนเนื้อสุกดีแล้ว ค่อยหยุดเอาไปใส่เครื่องปรุงรส วิธีนี้คนรุ่นใหม่ ยัง รังเกียจว่าสุก ๆ ดิบ ๆ พ่อครัวเลยปรับแก้เป็นเอาไปคั่วกับเครื่องใน โดยคั่วหรือผัดเครื่องในให้สุกก่อน จะ มีน้ำมันซึมเปียกทั่วกระทะ ใส่เนื้อสับแล้วลงไปคั่วหรือผัด ทีนี้ละก็สุกแน่ หอมด้วย ที่เอาเครื่องในลงก่อน เพราะอยากให้มันเปลวที่ติดอยู่กับ เครื่องในละลายเป็นน้ำมัน พอใส่เนื้อลงก็กลายเป็นผัดนั่นเอง
..........การใส่เครื่องปรุง ในกะละมังลาบที่ตอนนี้สุกดีแล้ว ถ้ายังไม่มีรสเปรี้ยว เพราะใช้วิธี คั่วหรือผัด ก็บีบ
มะนาวราด คนไปเรื่อย เติมพริกป่น น้ำปลาร้า ข้าวคั่ว ผักแต่งกลิ่นหอม แค่นี้ก็ครบเครื่องแล้ว คนดี ๆก็ชิม
และปรุงรสได้ น้ำปลา ชูรส แต่งเอาเอง รับรองอร่อยแน่
.........การทำน้ำต้มกินกับลาบ พวกตัวเล็ก เขาสับทั้งตัวไม่มีกระดูกทำน้ำต้ม แต่ตอนคนลาบ น้ำต้มที่ตักมาคน ลาบ เย็นลงก็เทคืนหม้อน้ำต้มปลาร้า กว่าจะคนลาบสร็จ หม้อน้ำต้มก็เลยมีน้ำนัวที่เทออกจากถ้วยลาบ เอามา ปรุงรสทำน้ำต้มแซบกินกับลาบได้สบาย ๆ เติมข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดลงไป ก็ได้น้ำต้มแซบซดกับลาบอร่อย มากครับ ลาบพวกตัวใหญ่ เขาเลาะเอาเนื้อออก กระดูกชิ้นโต ๆ สับ แล้ววางใส่หม้อน้ำต้มคนลาบ คนลาบ เสร็จก็ปรุงเป็นน้ำต้มแซบ เติมข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักแต่งกลิ่นโรยหน้าซะหน่อย ตักมาซดกับลาบอร่อย ยิ่งพวกที่มีเครื่องในเยอะ แบ่งมาใส่น้ำต้มได้ด้วยละก็อร่อยจน ลืมลาบได้เหมือนกัน
.........ลาบนกตัวเล็ก ถ้ามีปริมาณมาก (หลายตัว)ก็อร่อยไม่เบา อย่างลาบนกคุ่ม เอาลาบไก่มาแลกก็ไม่ยอม ลาบนกไก่นา (นกกวัก) นกเป็ด เอาชนะลาบไก่ได้สบาย ๆ ลาบพวกตัวใหญ่ ๆ ได้เปรียบตรงที่เครื่องไน เยอะ แยกใส่ลาบบ้าง ใส่น้ำต้มบ้าง เลยอร่อยทั้งสองอย่าง ส่วนพวกตัวเล็ก ๆ ใส่ลาบก็หมดแล้ว น้ำต้มมีแต่ปลาร้า กับน้ำนัวที่ได้จากการคนลาบ ปรุงแล้วก็พอซดได้
........เครื่องปรุงที่เล่ามาเป็นมาตรฐานการทำลาบอีสานครับ มากกว่านี้ได้ แต่ขาดไม่อร่อย ใส่ได้กับการปรุง ลาบสัตว์ปีกแบบนกเป็ดไก่ ครับ สัตว์ปีกแบบพวกแมงเอาไว้คนละชุด นะครับ
การทำอาหารจำพวกหมกหยวก
……..หยวกกล้วย คือแกนกลางต้นกล้วยที่ยังไม่แทงดอกเป็นปลีกล้วย จะประกอบด้วยกาบอ่อนและยอดอ่อน โผล่ออกมาเป็นยอดกล้วย ใบตองกล้วยนั่นแหละ ถ้าเราตัดต้นกล้วยช่วงที่ยังไม่มีปลี จะได้หยวกกล้วยมา ทำอาหารกินกัน ถ้าตัดต้นที่แทงดอกปลีแล้ว แกนจะตันเป็นแท่ง เหมือนขั้วเครือกล้วยนั่นแหละ กินไม่ไหว ดังนั้นถ้าจะหาหยวกกล้วยมาทำกับข้าว เลือกให้ถูกต้นแล้วกัน กล้วยที่นิยมตัดเอาหยวกเป็นกล้วยน้ำหว้า มากกว่าชนิดอื่น ๆ เห็นบอกว่ากล้วยอย่างอื่นมันขม ไม่ได้ลอง แต่กล้วยป่าที่เมืองเลยชาวบ้านตัดมาขายที่ ตลาดก็ไม่เห็นขมนี่
...........เตรียมหยวกกล้วยเพื่อทำกับข้าวประเภทห่อหมก ทำแกง มีวิธีเตรียมเหมือนกัน คือเลือกเอาเฉพาะส่วน ที่อ่อน ล้างดีแล้วหั่นเป็นแว่น ๆ แช่น้ำส้ม(บีบมะนาวใส่ หรือน้ำส้มสายชู)ในกะละมังไว้ ป้องกันมิให้หยวก ดำคล้ำ เสร็จแล้วใช้แส้ไม้ไผ่ยาวสักศอก มาจุ่มลงไปในกะละมัง หมุน ๆๆๆๆๆ เส้นใยจากหยวกจะพันติด ไม้แส้ ทำนาน ๆจนเหลือน้อย ค่อยเอาไปทำกับข้าว ปริมาณหยวกมากน้อยแล้วแต่จะหามาได้ มีน้อยก็ได้ห่อ หมกน้อย มีมากก็ได้หลายห่อ
.........เครื่องปรุงห่อหมก มักจะใช้แบบเดียวกันได้ ถ้าเราจะห่อหมก 5 ห้อง ต้องใช้เครื่องปรุงประมาณนี้คือ ตะไคร้ 1 ต้น ข่า 3 ฝาน ดอมแดง 3 หัว กระเทียม 1 หัว พริกแห้ง 3 เม็ด กลุ่มนี้ใส่ครกตำให้แหลก เติมกระปิ 1 ช้อนชา ตำเข้ากันดีแล้ว ตักใส่ถ้วยเล็กไว้ เรียกพริกแกง หรือจะเรียกพริกห่อหมก ก็ได้ ไม่ว่ากัน ต่อไป ก็หอมสด 2 ต้น แมงลัก 5 ยอด เด็ดใส่จานไว้ ข้าวเบือ 2 ช้อน น้ำปลาร้า 3 ช้อนโต๊ะ ชูรส 1 ช้อนชา อ้อ ตอง สำหรับห่อตัดมาตากแดดไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่กรอบแตกง่าย ไม้จิ้มฟันก็ใช้กลัดหามาไว้ด้วย
.........จากนั้นก็เป็นการเตรียมเนื้อที่จะนำมาทำหมกหยวก ผมหมกมั่วไปหมด บางอย่างคนอื่นไม่กล้าทำผมก็ทำ กบเขียดที่กินได้ เคยเอามาทำหมด ยกเว้นอึ่งอ่างไม่ชอบ พวกกบเขียดที่ตัวโต ๆ ก่อนสับเอามาผาไฟก่อน ขูดผิวไหม้ออก ค่อยกวักใส้ออกมาล้าง สะอาดดีแล้วค่อยสับเป็นชิ้น ๆ แบบทำแกง เคยสับละเอียดแบบสับ ลาบ ก็ใช้ได้นะ แต่ต้องคอยตอบคำถามว่าห่อหมกอะไร พวกสัตว์ปีกที่ผมชอบเอามาหมกกับหยวกได้แก่ ไก่ อย่างอื่นไม่ชอบ เลือกเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อและเครื่องใน มาสับขนาดทำแกงก็พอไม่ต้องละเอียดมาก ถ้าพวกสี่เท้าชอบหลายอย่าง ขนาด หนู พังพอน เคยทำครับ นอกจากนี้ก็ อีเหน บ่าง ตะกวด เม่น หมูป่า หมูบ้าน พวกสัตว์ป่า ได้มานิด ๆ หน่อยจากการแบ่งปันกับคนอื่น เลยทำห่อหมกดีที่สุด การเตรียมไม่มี อะไรยุ่งยาก ส่วนมากคนเขาทำความสะอาดมาแล้วก่อนจะตัดแบ่งกัน เราได้มาก็ล้างให้สะอาดก่อนนำมาสับ เป็นชิ้นเล็ก ๆ พักไว้รอนำไปปรุงอาหาร พวกเปิบพอสดารมีบ้างไหม ก็ไม่รู้นะว่าอะไรพิสดาร จิ้งหรีด จิโป่ม เคยทำนะ เด็ดปีก ควักใส้ออกล้างสะอาดดีแล้วเอามาทำได้
.....เล่ามานี่จะเห็นว่าหมกหยวกไม่ธรรมดา สามารถตั้งชื่อย่อย ๆ ได้กว่าสิบชื่อทีเดียว เช่น หมกกบ หมกเขียด หมกอีฮวก หมกไก่ หมกหนู หมกบ่าง หมก พังพอน หมกอีเหน หมกตะกวด(แลน) หมกเม่น หมกหมูป่า หมกหมูบ้าน หมกปลา.....ซิว สร้อย หมอ ฯลฯ เพราะมันเยอะมากนั่นแหละ เสียดายถ้าจะเขียนถึงแค่สองสามอย่าง เลยตีรวบมันมาหมด เพราะวิธีทำของผม ไม่เหมือนวิธีคนอื่นหรอก ใช้แบบเดียวกันได้ทุกชนิดห่อหมก
..........วิธีของผมจะเตรียมเนื้อที่จะทำห่อหมกให้สุก ดีก่อน ค่อยนำมาห่อหมก โดยใช้กระทะใส่น้ำนิดหน่อย กลัวจะไหม้ก่อนสุก พอน้ำเดือดก็ใส่เนื้อที่สับใส่ถ้วยไว้นั่นแหละลงไป ไม้พายเล็ก ๆคนไป ใส่พริกแกงจาก ถ้วยที่โขลกไว้ลงไป คนไปเรื่อย เติมข้าวเบือ น้ำปลาร้า แล้วถึงคราวหยวก คนต่อจนเห็นว่าสุกดี เติมใบหอม สดและแมงลัก (อ้อ ใบชะพลู ส่วนประกอบบังคับของพวกกบเขียด ใช้คู่กับแมงลักได้)ปิดไฟเพราะสุกดีแล้ว ชิมและปรุงรส ปล่อยให้เย็น แล้วนำใบตองมาห่อ ไม้กลัดให้แน่นนำไปย่างไฟ ไม่ต้องนึ่งยากเพราะมันสุก แล้ว พอใบตองสุกเกรียมเท่านั้นแหละหอมฟุ้งไปทั่วเลย เคยแอบเอาไปเข้าเวบ สะดวกเกินไปอย่าทำเดี๋ยวคนเขาจะเอาอย่าง
..........วิธีของผมจะเตรียมเนื้อที่จะทำห่อหมกให้สุก ดีก่อน ค่อยนำมาห่อหมก โดยใช้กระทะใส่น้ำนิดหน่อย กลัวจะไหม้ก่อนสุก พอน้ำเดือดก็ใส่เนื้อที่สับใส่ถ้วยไว้นั่นแหละลงไป ไม้พายเล็ก ๆคนไป ใส่พริกแกงจาก ถ้วยที่โขลกไว้ลงไป คนไปเรื่อย เติมข้าวเบือ น้ำปลาร้า แล้วถึงคราวหยวก คนต่อจนเห็นว่าสุกดี เติมใบหอม สดและแมงลัก (อ้อ ใบชะพลู ส่วนประกอบบังคับของพวกกบเขียด ใช้คู่กับแมงลักได้)ปิดไฟเพราะสุกดีแล้ว ชิมและปรุงรส ปล่อยให้เย็น แล้วนำใบตองมาห่อ ไม้กลัดให้แน่นนำไปย่างไฟ ไม่ต้องนึ่งยากเพราะมันสุก แล้ว พอใบตองสุกเกรียมเท่านั้นแหละหอมฟุ้งไปทั่วเลย เคยแอบเอาไปเข้าเวบ สะดวกเกินไปอย่าทำเดี๋ยวคนเขาจะเอาอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น