วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ฝึกแต่งกาพย์สุรางคนางค์

.........................ฝึกแต่งกาพย์สุรางงคนางค์ 28......................................
.................ผมไม่ค่อยได้แต่งกาพย์สุรางค์คนาง เพราะจำแผนผังบังคับไม่ได้ซักที จะแต่งทีไรต้องกางแบแผนดู ดีที่จังหวะคำเป้นแบบ 2-2 ตลอดทุกวรรค วรรคหนึ่งใช้ 4 คำ 7 วรรค ครบ28 พอดี จะเขียนแนะนำนักเรียนแต่ง ผมก็ต้องท่อง กาพย์พระไชยสุริยามาอ้าง แบบแผน เอาบทนี้แล้วกัน 

........................พระชวนนวลนอน.....เข็นใจไม้ขอน..........เหมือนหมอนแม่นา
ภูธรสอนมนต์....ให้บ่นภาวนา...........เย็นค่ำร่ำว่า..............กันป่าภัยพาล
.......................วันนั้นจันทร...............มีดารากร..................เป็นบริวาร
เห็นสิ้นดินฟ้า....ในป่าท่าธาร............มาลีคลี่บาน.............ใบช่ออรชร
                                                                                           กาพย์พระไชยสุริยา
              
              

              ท่องจำได้แล้วก็เอามาวางใส่หน้ากระดาษ แบบนี้ จะได้มองเห็น สัมผัสได้ง่ายขึ้น
กาะย์สุรางคนางค์ บท หนึ่ง 28 คำ แบ่งเป็น 7 วรรค วรรคละ 4 คำ การอ่านแบบจังหวะ 2-2
ทุกวรรค จำนวนคำ คณะ จำง่ายดี
              สัมผัสบังคับ ดูคำท้ายวรรคที่ 1 (นอน) ส่งไปคำท้ายวรรคที่ 2  (ขอน)(แบบเดียวกันนี้ดูวรรคที่ 5 กับวรรคที่  6  ดูบทที่ 2 เหมือนกันเลย (นี่เองเหตุผลที่จัดวาง ให้วรรคที่ 1และวรรคที่ 5 ตรงกัน ทำให้
วรรคที่  2 และ 6 ตรงกัน วรรค 3และ 7 ตรงกัน)
             ต่อไปดูสัมผัสบังคับท้ายวรรคที่ 2 (ขอน) สังสัมผัสไปคำ ที่ 2 วรรค 3 (หมอน)
ดูบรรทัดล่าง วรรคที่ 6 กับวรรคที่ 7 ส่ง-รับเหมือนกันเลย การส่งสัมผัสคำท้ายวรรค ไปคำที่ 2 วรรค
ถัดไปแบบนี้ มีอีกคู่คือ ท้ายวรรคที่ 4 และคำที่ 2 วรรคที่ 5

หมายเหตุ แผนผังบังคับกาพย์สุรางคนางค์ ที่แตกต่างกันมีหลากหลาย แบบที่นำมาจากกาพย์ พระไชยสุริยา เห็นว่าเพราะมาก การใช้สัมผัสเลยมีเพิ่ม 2 แห่งคือ คำที่สองวรรคที่ 3 รับสมัสจากคำที่ 4 วรรคที่ 2
วรรคที่ 4 คำท้ายวรรคส่งสัมผัสคำที่ 2 วรรคที่ 5  และคำที่ 2 วรรคสุดท้ายรับสัมผัสคำท้ายวรรคที่ 6  สัมผัสที่เพิ่มนี้ ในหนังสือออื่น ๆ อาจว่างไว้ ไม่มีรับส่งสัมผัส

             การจำแผนผังบังคับ จำเป็นสำหรับการแต่งร้อยกรองทุกชนิด ท่องบทแบบอย่างได้สะดวก
ที่จะวิเคราะห์ดูคณะแผนผังบังคับต่าง ๆ จากนั้นก็ลงมือแต่งตามแบบให้ถูกต้อง
 การฝึกใช้คำตามแบบกาพย์สุรางคนางค์
              ต่อคำปากเกล่า กลอนหัวเดียว  โปรดดูดารใช้คำแบบนี้ ในแต่ละบท มีกี่แห่ง วรรคที่ 1 กับวรรคที่ 2  วรรคที่ 3 กับวรรคที่ 5และ 6  รวมใช้ 3 ครั้ง ดังนั้นฝึกกลอนหัวเดียวซัก 5 เสียง เสียงละ 10 กลุ่มคำ เช่น

              หัวเดียวเสียง ไอ  จดจำเอาไว้  เสียงนี้เสียงใคร จักกินอะไร  เขาหลบอยู่ไหน 
จะช้าอยู่ใย  แลเห็นรถไฟ    วิ่งเร็วทันใจ  มาพวกเราไป   จองที่เอาไว้  นั่งรวมกันไว
              หัวเดียวเสียง อน ...ระวังตัวตน......อย่ามัวสับสน  ยามนอนอย่ากรน อย่าเล่นซุกซน
ระวังขี้บ่น.......พูดจาวกวน.............มีแฟนหลายคน.........อย่ามัวเล่นกน.......ไม่ดีแต่ต้น
เดี๋ยวเข้าตาจน  
              หัวเดียวเสียน ออน   จักลองแต่กลอน  จดจำคดสอน   ว่าเป็นตอนตอน   มิต้องรีบร้อน
ค่อยคิดอักษร       สัมผัสวรรคตอน     งามแง่งามงอน   สังสมสั่งสอน  จำใจจำจร  เจอคนมือบอน
              แต่คำกลุ่มละ 4 คำ รับสัมผัสด้วยคำที่ 2 มีในบทกาพย์ถึง 3 แห่ง มาลองฝึกปากเปล่า ดู
              มาเริ่มแต่งกาพย์  รับทราบครับผม เพื่อชมว่าเก่ง  รีบเร่งอ่านดู  คำครูให้อ่าน  ขับขานคำกรอง
จะลองอ่านกาพย์  เคยทราบเอาไว้ พระไชยสุริยา  ครูว่ามีแผน  คือแปลนคำกาพย์  รับทราบมิวาง สุรางคนา  ไปหามาไว้  จะได้เรียนรู้ ฯลฯ
             เมือชำนาญการเสาะหาคำมาใช้ตามเกณฑ์ที่กำหนดให้แล้ว ต่อไปก็ลองแต่งกาพย์ตามแผนผัง 
ดูก่อน.  แล้วค่อย ๆ พัฒนาบ่อย ๆ ก็จะชำนาญเอง

           อยากชวนนวลนั่ง..........ร้องเพลงให้ฟัง.............ระวังให้ดี
ฉันเสียงไม่เพราะ......แต่เหมาะวิถี..........ร้องเกี้ยวแบบนี้........ครูชี้เก่งเกิน
             ฉันชอบหนูนัก.........ก็ใจมันรัก........ประจักษ์มิเขิน
ปิ้งย่างใช่ย่อย..........อร่อยเหลือเกิน..........หวานมันเคี้ยงเพลิน........ขอเชิญลองดู
             ห่อหมกหยวกหอม....ลองชิมมาพร้อม........มิยอมคุณหนู
มาซิมมาลอง.........มัวมองอยากรู้........นั่งลงโฉมตรู..........คุณครูพาลอง
             รสมันหอมหวาน..........หยิบกินสำราญ..........เบิกบานสนอง
สองห่อหมดไป...........ถูกใจทำนอง............อร่อยเรียกร้อง..........จับจองอีกครา ฯ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น