วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนะนำการแต่งกลอน



แนะนำนักเรียนชุมนุมร้อยกรอง
ขุนทอง ศรีประจง

..............เคยเป็นที่ปรึกษาชุมนุมร้อยกรองนักเรียนมัธยม มีสมาชิกประมาณ 15 คน ความจริงลงชื่อไว้
 25 คน ไป ๆ มา ๆ เหลือ 15 คนได้บอกครูเขาให้ดำเนินการต่อไปไม่ต้องยุบ เพราะชุมนุมแบบนี้หาคน
ที่สนใจค่อนข้างยาก เด็กตั้งใจมาแล้วก็ต้องฝึกอบรม กิจกรรมดำเนินไปได้ด้วยดี มีเด็กฝึกแต่งกาพย์
กลอนกันน่าชื่นชม วันหนึ่งครูเขามาเชิญไปพบนักเรียน ไม่ได้บรรยายวิชาการนะ แต่ชวนสนทนามาก
กว่า ให้เด็กถามสิ่งที่เขาอยากรู้เกี่ยวกับการแต่งบทกลอน.....

ยกที่1 แผนผังกลอน

...........1.  พวกหนูอยากฝึกแต่กลอน มีปัญหามากเรื่องจำแผนผังบังคับครูให้เขียนแผนผังจำไม่ค่อยได้ ทำอย่างไรถึงจะจำได้คะ
...........ตอบ ครูก็เขียนไม่ถูกเหมือนกัน เวลาจะวาดแผนผังกลอนก็นึกถึงบทกลอนที่เคยท่องจำก่อน 2 บท พอ เช่น

 มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน       บิดามารดารักมักเป็นผล   
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน        เกิดเป็นคนคิดเห็นพึงเจรจา 

แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ      ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา  
รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา                       รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี 

          จากนั้นก็อ่านช้า ๆ นับพยางให้ได้วรรคละ แปด พยาง ถ้ามันเกินก็ปรับเอาแค่แปด เวลาอ่านสังเกตจังหวะเสียงไปด้วย จะเป็นแผนผังกลอนดังนี้

                     OOO OO OOO     OOO OO OOO
                     OOO OO OOO     OOO OO OOO
                     OOO OO OOO     OOO OO OOO
                     OOO OO OOO     OOO OO OOO

          ได้จำนวนคำแล้วต่อไปก็สังเกตสัมผัส....สัมผัสบังคับ บทหนึ่งๆจะมี บังคับใช้ สอง เสียง เสียง
แรกคำท้ายวรรคที่หนึ่ง บังคับให้สัมผัสกับคำที่ 1 2 หรือ 3 วรรคที่ 2 
...........เสียงที่ 2 บังคับให้เสียงคำท้ายวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำท้ายวรรคที่ 3และส่งต่อไปคำที่ 1 2 หรือ 3 ของวรรคที่ 4   มีบังคับในบทแค่นี่เอง
               เมื่อแต่งบทต่อ ๆ ไป จะบังคับให้ใช้เสียงคำท้ายบท สัมผัสกับคำที่ 5 วรรคที่ 2 ของบทต่อไป บังคับสัมผัสกลอนที่ควรรู้มีเท่านี้ 
.............. ต่อไปก็ลองสังเกตดูกลอนตัวอย่างที่ท่องจำมา ว่าสัมผัสบังคับเป็นอย่างที่บอกไหม  
...............เสียงแรกคำ สถาน.....กับคำ.......มารดา   เสียงที่สองคำ  ผล...สัมผัสคำ......ตน....และคำ....คน ครบ สองเสียงตามบังคับ
............ดูบทสองต่อ เสียงแรกที่บังคับคือ คำตอบ.......สัมผัสคำ.......รอบคอบ  เสียงที่สองคำ หน้า. สัมผัสคำ วิชา.....และ รักษา  ครบสองเสียงเช่นกัน
............สัมผัสบังคับระหว่างบทแรกคือคำ เจรจา...สัมผัสกับคำ ...หน้า   ครบ
............สัมผัสบังคับในบททั้งสองบท ครบตามข้อบังคับ ระหว่างบทก็ส่งสัมผัสถูกต้องดังนั้นเมื่อจะขีดเส้นโยงให้เห็นว่าคำไหนกับคำไหนสัมผัสกัน ก็เขียนตามที่เราตรวจดูแล้วนั่นเอง ที่สุดเราก็จะเขียนแผนผังกลอนแปดได้

ยกที่สองสัมผัสกลอน

............2..สัมผัสนอกสัมผัสในที่ครูพูดถึงเวลาเรียนเรื่องกลอนแปด มันคือสัมผัสแบบไหน ต่างกันอย่างไร 
...........ตอบ สัมผัสนอกก็คือสัมผัสบังคับนั่นเอง เป็นสัมผัสเสียงสระเท่านั้น ส่วนสัมผัสในเป็นสัมผัสไม่ได้บังคับ ผู้แต่สอดแทรกเข้าไปเอง เพื่อให้เกิดความไพเราะ  นิยมแทรกไว้ในวรรคเท่านั้น ไม่มีข้ามไปวรรคอื่น มีสองชนิดคือสัมผัสเสียงสระ และสัมผัสเสียงพยัญชนะลองสังเกตดูกลอนตัวอย่าง จะมีสัมผัสในแต่ละวรรคตรงไหนบ้าง

...........บทแรกวรรที่ 1 สัมผัสในคือ คำ นี้...ที่ เสียงสระอี  คำสองกับสถาน เสียง ส
วรรคที่ 2 คำบิดากับมารดา สัมผัสซ้ำ ดา คำรัก สัมผัสคำมัก เสียงสระ
วรรคที่ 3  คำ พึ่ง หนึ่ง พึ่ง สามเสียงสระชิดกัน 
วรรคที่ 4  คน สัมผัส คิด เสียงพยัญชนะ  

...........สัมผัสในไม่มีก็ได้ ไม่ใช่บังคับให้มี ผู้แต่งส่วนมากพยายามหามาใส่ มีข้อพึงระวังคือ
อย่าให้สัมผัสในไปยุ่งกับสัมผัสบังคับ คือแย่งเสียงกับสัมผัสบังคับ ทำให้กลอนมีตำหนิหมดราคาไปเลย             
............ถาม ยังมีสัมผัสอะไรอีกบ้างที่ควรเรียนรู้เพื่อการแต่งกลอนได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
...........ตอบ ...เพียงที่สนทนากันก็แต่งได้แล้ว แต่ถ้าอยากเรียนรู้อีก ก็มีมากนะ ทั้งที่เป็นสัมผัสต้องห้าม เช่นสัมผัสซ้ำ สัมผัสเลื่อนหรือเลือน สัมผัสลัด ละลอกทับละลอกฉลอง เอาไว้แต่งเก่งค่อยไปหาในตำราต่างๆอ่านดู ที่ไม่บอกตอนนี้เพราะจะทำให้สับสนว่าทำไมสัมผัสเยอะเหลือเกินเดียวจะพาลเลิกไม่กล้าแต่งกลอน

ยกที่ 3 จังหวะกลอน

......... ถาม เคยได้ยินครูบอกกลอนมีสามจังหวะ มันเป็นยังไงคะ ?
..........ตอบ จังหวะที่ครูพูดถึงคือการเว้นจังหวะเสียงการอ่านแค่ครึ่งมาตรา ประมาณครึ่งหนึ่งของการ
ออเสียงสระเสียงสั้น ในแต่ละวรรคจะมีคำสามกลุ่ม รอยต่อแต่ละกลุ่มคือจังหวะที่จะต้องมีช่วงเว้นวรรค (มาตราการออกเสียง สังเกตได้จากการออกเสียง คำประสมสระเสียงสั้น นับ 1 มาตรา คำประสมสระเสียงยาว 2 มาตรา จังหวะการอ่านกลอน รอยต่อใช้ กึ่งมาตรา)

ดังตัวอย่าง 
                  อุศเรน/เอนเอก/เขนกขนอง ตามทำนอง/องอาจ/ไม่ปรารถนา

เวลาอ่านจะเว้นจังหวะนิดหนึ่งตรงเครื่องหมาย / ครูเขาถึงเรียกจังหวะกลอนมี วรรคละ 3 จังหวะการแต่งกลอนให้อ่านได้ถูกจังหวะกลอน  นักกลอนจะพยายามเขียนกลอนใช้คำให้ลงตัวกับลีลาจังหวะกลอน เพราะจะทำให้อ่านคล่องไม่ติดขัดเทคนิคการแต่งกลอนให้อ่านได้ไพเราะ ดีที่ส่วนมากเราแต่งกลอนเพื่อนอ่าน ไม่ได้แต่งเพื่อนำไปขับร้อง กลอนแบบนั้นต้องคำนึงถึงเสียงร้องทำนองไปพร้อมด้วย ว่าง ๆลองนำกลอนที่แต่งมาขับเสภาดู จะได้เห็นว่ามันติด ๆขัด ๆไม่รื่นหู 
......... นักกลอนรู้กันว่าแต่งกลอนบทละ 2 คำกลอน 4วรรค และ 1 วรรคมี 8 คำ อ่านวรรคละสามจังหวะ โดยจะวางเป็น 3-2-3 คำ ถ้ามีเกิน8 ก็ไม่ควรเกิน 9 คำ  จังหวะก็จะเป็น 3-3-3 กลอนที่อ่านได้รื่นหูแสดงว่าคนแต่งวางจังหวะได้ถูกต้อง โดยดูจาก คำที่ใช้อ่านได้ครบพยางค์และเสียงตรงตามจังหวะ  ไม่มีคำหลายพยางค์ที่มีบางพยางค์คร่อมจังหวะ ต้องอ่านฉีกคำ ตัวอย่าง
............. บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว.............  ไม่มีคำคร่อมจังหวะกลอน อ่านรื่นดี
...........   บัดเดี๋ยวระฆังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว..........  คำ"ระฆัง" คร่อมจังหวะ  อ่านติด ๆ ขัด ๆ
ต้องอ่านว่า   บัดเดี๋ยวระ-ฆังหง่างเหง่ง-วังเวงแว่ว  ไม่ผิดแผนผังก็จริงแต่กลอนมีตำหนิ
.............  เพียงพบประสบพักตร์ประจักษ์ขวัญ ......  คำ  "ประสบ"คร่อมจังหวะอ่านยาก
ต้องอ่านว่า  เพียงพบประ-สบพักตร์-ประจักษ์ขวัญ   แต่งถูกฉันทลักษณ์ แต่กลอนมีตำหนิ
ต้องอ่านตัดจังหวะท่อนแรก ว่า  เพียงพบ-ประสบพักตร์ประจักษ์ขวัญ พอฟังได้
.............  ตะลึงงันงามเฉิดฉายเพริศเพรา.............   คำ"เฉิดฉาย"คร่อมจังหวะ อ่านยาก
ต้องอ่านว่า   ตะลึงงัน-งามเฉิด-ฉายเพริศเพรา   สัมผัสในก็ช่วยไม่ได้ กลอนมีตำหนิ
ตัวอย่างกลอนไม่มีคำคร่อมจังหวะ
.............  อายุวัฒน์ยืนยงอสงไขย ............... ปราศโรคภัยแผ้วพานสำราญศรี
.............   ศิริวัฒน์เสริมสง่าบารมี ............... ทรัพย์ทวีวัฒนาสถาพร
............. พลวัฒน์แกร่งขลังพลังจิต ...........   ยศคิดพึงพิพัฒน์สโมสร
.............   อุดมเกียรติเกริกไกรขจายขจร......  สรรพสิ่งวอนพรหมประสิทธิ์สฤษดิ์เทอญ ฯ
ใช้คำบาลีสันสกฤตแทรกแต่ก็ยังอ่านได้คล่อง เพราะไม่มีคำคร่อมจังหวะ  ความเข้าใจเรื่องจังหวะ
กลอนก็สำคัญ ช่วยให้สามารถวางคำได้เหมาะกับจังหวะกลอน อ่านได้คล่องไม่ติดขัด นักกลอน
สนใจจังหวะกลอนไว้บ้างก็ดีครับ 

ยกที่ 2 ความไพเราะ กลอนสุนทรภู่ 

.........  เคยอ่านพระอภัยมณีจบหลายรอบ สนุกกับเนื้อเรื่อง ไม่ได้สนใจฉันทลักษณ์แต่อย่างใด ส่วนนิราศต่าง ๆ อ่านเพราะครูให้การบ้าน เมื่อมาหัดแต่งกลอนจึงสนใจฉันทลักษณ์ โดยเฉพาะกลอนสุนทรภู่มีแต่คนพูดถึงว่าไพเราะ มีคุณค่าที่แทรกอยู่ในผลงานมากมาย  ไม่ได้คิดจะนำเสนอสาระผลงานซึ่งมีคนเขียนไว้มากแล้ว  แต่ ที่เขียนถึงตรงนี้ ต้องการเขียนถึงเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้แก่การใช้คำท้ายวรรคและการใช้สัมผัสใน  รู้สึกชอบมาก จึงขอนำเสนอไว้เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ชอบแต่กลอน
................... การใช้เสียงท้ายวรรคในกลอน 1 บท 4 วรรค เคยอ่านดูผลงานรุ่นแรก ๆพบว่าไม่เคร่งครัดนัก แต่รุ่นหลัง ๆ อย่างพระอภัยมณี แทบจะเป็นกติกาได้เลย คือจะมีลักษณะที่นิยมใช้ ดังนี้

         
คำสุดท้ายของวรรคสดับ(สลับ)       จะไม่นิยม เสียงสามัญ       
คำสุดท้ายของวรรครับ                    นิยมเสียงจัตวา                                                           
คำสุดท้าย วรรครอง                        นิยมเสียงสามัญ หรือตรี
และวรรคส่ง                                    นิยมเสียงสามัญ  หรือตรี

ตัวอย่าง เอาตอนที่คนจำไม่ได้มาดู (สุวรรณมาลีให้แหวนสินสมุทร)

...........................นางยิ้มหยิบธำมรงค์มาทรงใส่.............  ชอบฤทัยวาจาที่ว่าขาน
...................แล้วแกล้งว่าน่าเบื่อเหลือรำคาญ.................. ไม่ได้การเฉโกเป็นโยคี
...................ไม่เรียนร่ำบำเพ็ญให้เคร่งครัด.....................  มาเปลี่ยนผัดกับสีกาน่าบัดสี
...................แม้นมิให้ก็จะว่าไม่ปรานี ............................... กลัวแต่ที่เธอจะทำจมน้ำตาย ฯ
กลอนสละสลวยด้วยสัมผัสใน
............. จังหวะลีลากลอน สัมผัสในช่วยให้มีจังหวะงดงาม สุนทรภู่เป็นบรมครูเรื่องสัมผัสใน จึงพบว่ามีปรากฏแทบทุกวรรค ใช้ทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระ  สังเกตดูจะเห็นใส่สองแห่งในหนึ่งวรรค พวกเราก็พยายามเลียนแบบบ้าง  แต่ลืมระวังสัมผัสบังคับ  ที่ส่งมาจากวรรคแถวหน้า  วรรคแถวหลังรับสัมผัสบังคับแล้วลุยสัมผัสในต่อทันที  เกิดอะไรขึ้น ถ้าเล่นสัมผัสสระจะเกิดสัมผัสเลื่อนทันที ดังตัวอย่าง ขอนุญาตใช้กลอนบรมครูสาธิตให้ดูชัด ๆ
นางยิ้มหยิบธำมรงค์มาทรงใส่.........  ชอบฤทัยวาจาที่ว่าขาน
ถ้าอย่างเรา ๆแต่งอาจเป็น.................. ชอบฤทัยในวาจาที่ว่าขาน(อยากมีสัมผัสใน)
เกิดมีคำเสียง อัย ติดกันสองคำเป็นสัมผัสใน แต่กลายเป็นตำหนิของกลอนทันทีกลอนที่ดีต้องไม่มีสัมผัสเลื่อน สุนทรภู่ท่านยอมสัมผัสในที่เดียว  หรือถ้าต้องการมีสองที่ก็เปลี่ยนเป็นสัมผัสพยัญชนะแทน  จากตัวอย่างถ้าเรา
เปลี่ยนเป็นสัมผัสพยัญชนะ  เช่น.................... ชอบฤทัยถ้อยวาจาที่ว่าขาน
อันนี้ปลอดภัยไม่มีสัมผัสเลื่อน มีสัมผัสใน 2 แห่งในวรรคตามต้องการ
................ข้อสังเกตการวางสัมผัสใน สำหรับกลอน สมมติวางแผนผัง บรรทัดละ 2 
วรรค บทหนึ่งมี จำนวน 2 บรรทัด เมื่องมองดูจะเห็นวรรคแถวหน้า วรรคแถวหลัง ตำแหน่งสัมผัสใน จะอยู่ตรงกันระหว่างวรรคที่อยู่แถวบนและแถวล่าง
................วรรคที่อยู่ข้างหน้าคือ วรรคที่ 1 กับวรรคที่ 3 ของบท
................สัมผัสในคู่แรกคือคำที่ 3 กับคำที่ 4  (ใช้สัมผัสสระได้)
................ สัมผัสในคู่ถัดไปคือคำที่ 5 กับคำที่ 6 หรือ 7 (ใช้สัมผัสสระได้)
................วรรคที่วางแถวหลังคือวรรคที่ 2 และวรรคที่ 4  ของบท
................ สัมผัสในคู่แรกคือคำที่ 3 กับคำที่ 4 (ใช้สัมผัสพยัญชนะเท่านั้น ถ้าสัมผัสสระ
 จะกลายเป็นสัมผัสเลื่อน)
................ สัมผัสในคู่ที่ 2 คือคำที่ 5 กับคำที่ 6 หรือ 7 (ใช้สัมผัสสระได้)

 ....................ตัวอย่าง กลอนเห่อสัมผัสในที่ระวังไม่ให้มีสัมผัสเลื่อน

......................กราบสุนทรวอนไหว้ด้วยใจรัก..................... เคยประจักษ์แจ้งกลอนอักษรศิลป์
...............ท่านเรียงถ้อยร้อยลิขิตวิจิตรจินต์..........................ใครยลยินยังตะลึงตราตรึงทรวง
..............เพราะคมคำทำนองคล้องสัมผัส..........................เจิดจรัสรังรองทำนองสรวง
..............เทพบรรเลงเพลงกานท์งานบำบวง ....................เสนาะล่วงโลกสามงามซึ้งใจ ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น