..................................มาฝึกแต่งโคลงกันเถอะ...........................
........................
..................คำถามถึงโคลงที่ผมยึดถือเป็นครูหรือแบบแผนในการแต่งโคลง มาพร้อม ๆกันเรื่องกลอน แต่คำตอบต่างกันมาก จึงต้องแยกมาเขียนไว้คนลับลอก ผมเขียนกาพย์ยานี 11คล่องแล้วค่อยมาฝึกแต่งกลอน แต่งจนมันใจว่าแต่งกลอนได้แล้วค่อยหันมาฝึกแต่งโคลง แต่หนังสือดังนั้นที่กวีท่านแต่งด้วยโคลง ผมไม่ค่อยได้อ่าน เลยไม่ค่อยรู้ว่าโคลงจากหนังสือเล่มไหนไพเราะน่าอ่าน ดังนั้นพอจะฝึกแต่งโคลงจึง ตำราหลักภาษาไทย ของกำชัย ทองหล่อ หลักภาษาไทยของ เปลื้อง ณ นคร หลักภาษาไทยของพระยาอุปกิตศิลปสาร หนังสือจินดามณีฉบับพระโหราธิบดี ก็อ่านเล่นนั้นบ้างเล่มนี้บ้าง ได้หลักการฝึกตรงกันคือ
...................1. แต่งโคลงคือการสร้างโคลงด้วยวัตถุดิบคือ คำ ที่ใช่้สื่อสารกันในภาษาไทย ซึ่งมีทั้งคำไทยโบราณ คำยืมจากภาษาอื่น เรามีพื้นฐานภาษาบาลีค่อนข้างดี แถมยังเรียนเอกภาษาไทยในระดับปริญญาตตรี มาแล้วด้วย ได้ฝึกเขียนกลอนมากกว่า 20 เรื่อง วัตถุดิบคือ คำ ที่จะใช้ฝึกแต่งโคลง คิดว่าไม่น่าจะขัดสน
...................2. แบบแผนโคลง จะฝึกโคลงสุภาพก่อน มีโคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลง
สี่สุภาพ สังเกตดูแผนผังในเอกสารตำราพบว่า เป็นแผนผังอันเดียวกีนทั้ง 3 ชนิด ถ้าแต่งโคลง
๏ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง… ….อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร…..….….ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล……...…..ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า…………..….อย่าได้ถามเผือฯ”
ลิลิตพระลอ
๏ จากมามาลิ่วล้ำ....................ลำบาง
บางยี่เรือราพราง.....................พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง.................เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง.....................คล่าวน้ำตาคลอ ๚ะ
นิราศนรินทร์
.....................ทำไมโคลงสองบทนี้ครูอาจารย์จึงแนะนำให้พวกเราท่องจำ ตอนเรียนไม่รู้หรอกแต่ตอนนี้พอเข้าใจครับ ว่ามีหลักการแต่งโคลงแทรกอยู่มากมาย เอาไปเขียนแนะนำแต่งโคลงได้เป็นอย่างดี เช่น
(1) แผนผังจำนวนคำโคลงสี่สุภาพ อ่านโคลงสองบทนี้แล้ว ลองเขียนผังดู
OOOOO OO (OO)
OOOOO OO
OOOOO OO (OO)
OOOOO OOOO (......)
จำนวนคำที่ใช้ บาทละ 7 คำ เว้นบาทสุดท้าย 9 คำ ตรงตามตำราภาษาไทย ทุกสมัย ที่ขาดไปคือ คำสร้อย บาทสุดท้ายมิได้ใช้ แต่หลักภาษาระบุใส่สร้อยได้ 2 คำ
(2) แผนผังโคลงสี่สุภาพที่จำยากมากคือตำแหน่งคำเอกเจ็ดโทสี่ โคลงสองบทนี้ผู้แต่งท่านวางไว้ตรงตำแหน่งเอกโท ที่บังคับทุกบาท
OOOเล่าอ้าง OO (OO)
Oย่อมOOO ทั่วหล้า
OOพี่OO Oตื่น (OO)
Oพี่OOอ้า อย่าได้OO (......)
OOOลิ่วล้ำ OO (OO)
Oยี่OOO พี่พร้อง
OOช่วยOO Oม่าน (OO)
Oบ่OOคล้อง คร่าวน้ำOO (......)
ตำแหน่งคำเอกคำโท ตรงกันทั้งสองบท ช่วยให้นักแต่งโคลงจดจำคำเอกโท ว่าวาง
ตำแหน่งไหนบ้าง ไม่มีพลาด
(3) สัมผัสนอกที่บังคับให้แต่ง ตรงกันทั้งสองบท คือ คำปลายบาทที่ 1 ส่งสัมผัส
ไปคำที่ 5 บาทที่สอง และส่งต่อไปคำที่ 5 บาทที่สาม อีกบังคับคำโทบาทที่ 2 ส่งสัมผัสไปคำโท
คำที่ 5 บาทที่ 4
OOOOO Oใด (OO)
OOOOใคร Oหล้า
OOOOไหล OO (OO)
OOOOอ้า OOOO (......)
OOOOO Oบาง (OO)
OOOOพราง Oพร้อง
OOOOนาง OO (OO)
OOOOคล้อง OOOO (......)
เพียงท่องจำโคลงแบบอย่าง สอง บทนี้ เราก็สามารถเรียนรู้ ฉันทลักษณ์ แผนผังบังคับของโคลงสี่สุภาพได้เป็นอย่างดี
(4) ยังมีเทคนิคการแต่งโคลงที่ปรากฏในโคลงสองบทนี้อีกหลายเรื่อง สุดแต่จะวิเคราะห์หรือพิจารณาดูกันครับ กระผมขอแตะ ดูเป็นแนวก็แล้วกัน
ก. จังหวะคำโคลง OO/OOO OO (OO) ลองอ่านแบบใช้จังหวะแบบนี้พบว่าอ่านได้คล่องดีทุกบาททั้งสองบท เมื่อจะแต่งโคลงผมก็จะเลี่ยงไม่ใช้คำที่คร่อมจังหวะ เพราะจะอ่านสะดุด
ข. สัมผัสใน เล่นสัมผัสพยัญชนะมากทั้งสองบท
โคลงจากลิลิตพระลอ
บาทที่ 1 เล่นเสียง ส- ล สลับ ส-ล แถมเล่นเสียง อ.....อ ระหว่างวรรค เรียกว่าเต็มที่
บาทที่ 2 เส่นสัมผัสเสียง ย สามคำติด ๆ
บาทที่ 3 เส่นสัมผัสเสียง ล 3คำ แถมเล่นข้ามวรรคได้ด้วย
บาทที่ 4 มีเล่นเสียง อ สองคำ
ค. การเล่นคำ เสียง ได้ 3 แห่ง สละสลวย ไม่รู้สึกเกินแต่อย่างใด เล่นคำ สอง ก็เพราะ
เล่นคำโบราณ เขือ เผือ ดูเคร่งขรึม เก่าแก่ ดี
ง. โคลงลิลิตพระลอ ใช้คำพื้น ๆ คำไทยแท้เป็นส่วนมาก มีคำสันสกฤตคือ ยศ ก็เป็น
คำธรรดาเข้าใจกันทั่วไป
โคลงจากนิราศนรินทร์
จ. สัมผัสในโคลงจากนิราศนรินทร์
บาทที่1 ใช้คำมาซ้ำแต่คนละความหมาย สัมผัสเสียง ล สามคำแถมสัมผัสข้ามวรรคด้วย
บาทที่ 2 ใช้สัมผัสเสียง ร ร และ พ-พ-พ เสียง พ สัมผัสข้ามวรรคด้วย
บาทที่ 3 ใช้สัมผัสเสัยง ผ-พ และ เสียง ม-ม แถมสร้อยมี ม
บาทที่4 ใช้สัมผัสเสียง -ค -ค - ค-ค มีสัมผัสข้ามวรรคด้วย
ฉ. การเล่นคำ มีเหมือนกัน เช่นคำ ลำบาง บางยี่เรือ บ่างบ่รับ
ช. การใช้คำไทยพื้น ๆ ไม่มีคำต่างประเทศปน
.............ลงมือฝึกแต่งโคลง
.............ผมเคยถามเพื่อนที่เรียนเอกภาษาไทยด้วยกัน และถามครูอาจารย์ว่าทำไมไม่ค่อยแต่งโคลง กัน
แต่งแต่กลอนมากมาย ได้คำตอบคล้าย ๆ กันคือ
1. จำแผนผังบังคับไม่ได้
2. คำเอกคำโทน่าเบื่อ หามาใช้ไม่ได้ดังใจ
3. แต่งได้แต่อ่านไม่ค่อยจะเพราะ
4. อ่านที่กวีท่านเขียนแล้วหมดแรงฮึด
ข้อมูลที่ได้มา ข้อ 1 สำหรับเราไม่มีปัญหา นับแต่ท่องจำโคลงแบบอย่างได้ ข้อ 3และ 4 คงไม่อาจแก้ไขได้ หัดแต่งจะให้เพราะแบบศรีปราชญ์เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว สำหรับข้อ 4 ปรับวิธีการอ่านงาน
กวีจากอ่านแล้วทำให้ท้อใจ แก้ให้เป็นการอ่านแบบหาเรื่อง คือหาดูว่าทำไมมันไพเราะ ทำไมอ่านแล้ว
ติดอกติดใจ แบบนี้ก็ไม่ท้อแล้ว มีแต่อยากรู้ว่า เพราะเหตุใด อย่างนี้ถึงจะดีต่อการแต่งโคลงของเรา
อีก เหลือข้อ 2 เอาไว้หาทางฝึกเพือแก้ปัญหา เพราะเราเองก็ติดตรงนี้เหมือนกัน
4.1 ฝึกหาคำเอกโทที่อยู่ติดกัน 2 คำ ตั้งใจจะสะสมคำเอคำโท ซัก 500 คู่ ครบแล้วน่าจะทำ
ให้นึกหาคำเอกโท ง่ายกว่าอ่น ๆ ตกลงทำตามที่่คิด สมุดเล่นหนึ่ง เขียนป้ายไว้เลยว่า "สะสมคำเอกโท"
ไม่ได้เขียนหรอก เพราะจะใช้คอม เปิดโปรแกรมเอกเซลมาทำดีกว่า พิมพ์คำเอก หรือคำตายลงไป
ที่เซลแรก ขวามือก็หาคำโทที่ประกอบกันกับคำเอกได้ใจความ หาหลาย ๆคำ เช่น
พี่น้อง พี่ข้า พี่อ้าย พี่เอื้อย พี่เพี้ยน พี่ช้าง พี่ม้า พี่ต้อง พี่เต้น พี่เร้น พี่สร้อย พี่ไห้ พี่จ้าง
อย่าช้า อย่าใช้ อย่าข้าม อย่าเข้า อย่าร้าย อย่ารู้ อย่าเร้น อย่าเจ้า อย่าเข้า อย่าข้อง อย่าร้อง
บ่กล้า บ่ใกล้ บ่ก้ำ บ่คร้าน บ่คล้าย บ่เคล้า บ่เง้า บ่ง้ำ บ่จ้าง บ่ได้ บ่เต้น บ่ต้อง บ่ล้าง บ่ย้าย บ่รู้
ผ่องแผ้ว ผ่องหน้า ผ่องแจ้ง ผ่องเพียง ผ่องคล้าย ผ่องแม้น ผ่องแพร้ว ผ่องสิ้น ผ่องล้น
ห่างน้อง ห่างบ้าน ห่างห้อง ห่างเจ้า ห่างเศร้า ห่างไห้ ห่างร้าย ห่างพ้น ห่างห้วง ห่างร้อน ห่างแล้ว
การสะสมคำเอกโท แก้ปัญหา การหาคำเอกโทยาก ต่อไปก็ฝึก ยากขึ้น โดยต่อคำทีละ 5 คำ
โดยฝึกปากเปล่า หรือเขียนลงกระดานก็ได้ ให้การฝึกเอื้อต่อการแต่งโคลง วรรคแถวหน้าที่มี 5 คำ และ
มีคำเอกโทอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน เป็นการฝึกหาความชำนาญในการเลือกคำเอกคำโทมาลงตำแหน่งที่
ต้องการ เช่น
4.2 ฝึกต่อคำ ทีละ 5 คงเคยเห็นเด็ก ๆ ต่อคำเล่นกัน แต่กำหนดเพียงสองคำ ซึ่งยังไม่มีผล
ต่อการแต่งโคลง อยากให้ฝึกกันคราวละ 5 คำ รับสัมผัสด้วยคำที่ 1/2/3 ตามใจชอบ ลองดูก่อนโดย
ยังไม่กำหนดเกณฑ์ เมื่อเห็นว่า ทำได้ ค่อยฝึกตามหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งโคลง วรรคข้างหน้าของ
บาทที่ 1 - 4 ดังนี้
............ฝึกต่อคำทีละ 5 คำ บังคำให้ 3 คำแรกเป็นคำสุภาพ คำที่ 4-5 เป็นคำเอกโท หรือคำตายกับคำโท
ต่อคนเดียวให้ได้ซัก 50 ข้อความ เช่น ฉันเดินมาแต่บ้าน ตาลออกมาแต่เช้า เขากำลังนุ่งผ้า
ตาโมโหด่าให้ ใครมันมาแย่งข้า หมามันคาบแล่นลี้ ฯลฯ
............ต่อคำทีละ 5 คำ ให้คำที่ 2 เป็นคำเอก นอกนั้นเป็นคำสุภาพ เกณฑ์นี้เลียนมาจากบาทที่ 2 เช่น
ฉันอยู่คนเดียวนะคุณ ฉุนแต่ออกเดินทาง กางแต่แผนอวดกัน ฉันไม่ชอบคุณเลย เฉยก่อนนะนงศรี
บอกพี่มาเลยหนู ดูแต่ตาเฉยเฉย เคยแต่งโคลงไหมเธอ
ต่อคำทีละ 5 คำ คำที่ 3 เป็นคำเอก นอกนั้นเป็นคำสุภาพ เกณฑ์นี้เลียนแบบจากบาทที่ 3 วรรค
หน้านั่นเอง เช่น เดินไปอย่าหันมา ตาไปก่อนละหนู ดูทางหน่อยนะคุณ บุญเหลือเมื่อเจอยาย ขายของร่ำรวยไหม ใจมันอยู่กับเธอ เจอมากช่างพูดจา หมาฉันเห่าทุกคืน ฯลฯ
ต่อคำ 5 คำ ให้คำที่ 2เป็นคำเอกและให้คำที่ 5 เป็นคำโท นอกนั้นคำสุภาพ เกณฑ์ข้อนี้ปรับมา จาก
บาทที่ 4 วรรคหน้า เธอเล่นเป็นกองหน้า ฉันว่าเป็นครูแก้ว แมวนั่นมันเป็นบ้า หมานี่ดุกัดด้วย
ฉันช่วยถือของให้ เธอใหญ่นักหรือน้อง เขียนคล่องจริงนะน้า
4.3 ลงมือแต่งโคลง
ฝึกมาถึงตรงนี้ ความวิตกกังวลเรื่องการแต่งโคลงนาจะหมดไปแล้ว เลหือแต่เพียง ลองเรียบเรียง
ให้เป้นโคลงตามแผนผังบังคับเท่านั้น ซึ่งไม่ยากอะไร จำโคลงต้นแบบได้แล้ว ก็ลุยได้เลย
ฉันจักลองแต่งบ้าง.......คำโคลง (พ่อเอย)
ฝึกใหม่ถีงมิโยง................เชื่อมบ้าง
มิถือบ่คิดโกง..................คิดใหม่ (นาพ่อ)
ดูง่ายเอาอวดอ้าง.............อย่างนี้คือโคลง
โค..ลง เออใช่แล้ว........ตรองดู (แลนา)
ผิดแต่งพลาดเป็นครู........ท่องไว้
มิผิดเก่งมากหนู.............รีบแต่ง (งามแฮ)
รออ่านขอบอกให้.............เก่งได้จริงเจียว
4.4 ฝึกใช้คำสัมผัสพยัญชนะ แบบสัมผัสชิดติดกันหลาย ๆ คำ ซึ่งค่อนข้างจะยาก แต่นั่นแหละท้าทายดีลองวรคแรกของบาทที่ 1 ก่อน ทำได้ก็เปลี่่ยนเป็นวรรคแรกของบาทท่ี่ 2 บาทที่ 3 และ บาทที่ 4 พอฝึกครบ 4 บาท เชื่อได้เลยว่า การหาสัมผัสพยัญชนะมาแต่งโคลง ไม่ได้ยากเกินไป
วรรคแรกบาทที่1
กลกานท์เกลากล่อมเกื้อ กรองกานท์กลก่อกว้าง ขวนขวายขันแข่งข้อง ของเขาขอบเขตเค้า คิดคำคงขัดข้อง คำใครคงไคร่ข้าง งุนงงงามแง่เงื้อม จับใจจับจิตเจ้า จอมใจจอมจิตเจ้า เจ็บจิตจิตเจ็บเจ้า ชมเชยชิดแช่มช้อย ฉุนฉมชมชื่นเช้า ยลยินยามย่างย้าย ยามเย็นยังอยู่เหย้า เดินดูดมดอกได้ ตูมตังแตกต่างแต้ว บนบานบอกบนใบ้
วรรคแรก บาทที่ 2
กาพย์ก่อกรองกลกานท์ เกิดแก่กลับกลายกรรม กรรมก่อเกิดกงเกวียน ขันแข่งขอขับขาน แขแข่งข้นขัดขวาง ใครใคร่ครวญคงควร คนคลั่งคิดขวางเขา โงกง่วงหงุดหงิดงง งามแง่งามงอนหงอ จนแจ่มแจกแจงจริง จูงจ่องจิตจับใจ ชมชื่นชิดชวนชม เชยชื่นชิดชมเชย ยามย่างยลยวนยี
แยกอย่างยลหยาบหยาม เดินดุ่มดูเดียวดาย
วรรคแรก บาทที่ 3
ตูมตังต่างตูมตาย เตยตาวต่างแตกตา ตอตับเต่าแตกตา ทุกข์ทนเท่าทุกทาง ทับทุกข์ที่ทนทาน นวลนุชน่านวลนิล ทับถมเที่ยวถากถาง ทักท่ายท่านทุกที นางหนอหน่อนงนวล นวลนิตย์หน่ายแหนงหนี มาดหมายหมู่มิตรมวล ยูงยางอยู่ยอดยาง เมียงมองหมู่หมาหมาย มาดมิตรมุ่งมิตรมา ยามเยือนอยู่เย็นเย็น
วรรคแรก บาทที่ 4
หายห่างหาหากให้ หอห่างหอโหดเหี้ยม โอนอ่อนอดออมอ้าง อรอ่อนเออออดอ้อน รักเร่รักเรียมร้าง ลองเล่นลางแล่นแล้วสมสู่สมเสร็จสร้าง สองสร่างสมเสพแสร้ง ไกลกว่าไกลกลบใกล้ ขมขื่นคงคับแค้น ชมชื่นเชยชิดใช้ เยื่อนเยี่ยมยังโยกย้ายจดจ่อจนแจ่มแจ้ง ฉุนเฉี่ยวโฉบชิดใช้
4.5 ฝึกสัมผัสข้ามวรรคภายในบาท
กรรมก่อเกิดกงเกวียน กีดกั้ง กาพย์ก่อกรองกลกานท์ กาพย์เกื้อ
เกิดแก่กลับกลายกรรม ก่อใกล้ ขันแข่งขอขับขาน คู่ค้า
แขแข่งข้นขัดขวาง แข่งเข้า กรองกานท์กลก่อกว้าง กลกลอน
กลกานท์เกลากล่อมเกื้อ กลางกมล ขวนขวายขันแข่งข้อง คลาคลาย
ของเขาขอบเขตเค้า ขายคืน ตอตับเต่าแตกตา ติดต่อ
ตูมตังต่างตูมตาย ตาวตาด เตยตาวต่างแตกตา แตกต่อ
ทับทุกข์ที่ทนทาน ทุกข์ท่วม ทุกข์ทนเท่าทุกทาง ทุกที่
รักเร่รักเรียมร้าง เล่ห์ร้ายรุกรน หอห่างหอโหดเหี้ยม หากเหี้นมโหดเหลือ
หายห่างหาหากให้ เหี่ยวแห้งห่างหาย อรอ่อนเออออดอ้อน อ่อมอ้อมอวดเอง
สรุปส่งท้าย เนื่องจากแนะนำแต่งโคลงมาถึงตอนจบแล้ว จึงขอฝากว่าต่อจากนี้ไปเป็นการฝึกให้เกิดความชำนาญฝึกสอดแทรกสัมผัสในบทโคลงที่แต่ง ซึ่งจะทำให้โคลงที่แต่งอ่านได้เพราะมากยิ่งขึ้น ข้อสำคัญคือการฝึกบ่อย ๆ ไม่ท้อครับ
----------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น